2 หมู่บ้าน อ. ลองผู้ได้รับผลกระทบสัมปทานเหมืองแบไรท์ ยื่นหนังสือผู้ว่าฯ แพร่ ทวงสิทธิ์ประชามติ หลังถูกทอดทิ้งจากเหมืองเก่าสู่สัมปทานใหม่ ล่าสุดน้ำหลากตะกอนเหมืองทลายจากยอดเขาปิดลำห้วยน้ำเอ่อเข้านาเสียหายทวงสิทธิชุมชนปกป้องสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน
เวลา 10.00 น. วันที่ 20 พฤษภาคม ตัวแทนชาวบ้านในหมู่ที่ 5. และหมู่ที่ 8 ต.ต้าผามอก อ.ลอง จ.แพร่ ผู้ได้รับผลกระทบจาการทำเหมืองแบไรท์จำนวน 10 คนนำโดยนายจิรวัฒน์ ดวงประทีป เข้ายื่นหนังสือต่อนายสมหวัง พ่วงบางโพ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ที่ห้องทำงานชั้น 5 ศาลากลางจังหวัดแพร่ เพื่อเรียกร้องทวงสิทธิ์ในถานะผู้ได้รับผลกระทบจากมลภาวะจากการทำเหมือง ซึ่งมีการลงประชามติไปแล้วโดยที่ชุมชนที่ได้รับผล กระทบไม่มีสิทธิ์ในการออกเสียง
นายจิรวัฒน์ ดวงประทีป แกนนำชาวบ้านกล่าวว่าเมื่อปี พ.ศ.2562 คนในหมู่บ้านได้สิทธิ์ในสถานะผู้ได้รับผลกระทบเข้าสู่เวทีรับฟังความคิดเห็น แต่ในปี พ.ศ.2565 มีการทำประชามติเปิดเหมืองแบไรท์แห่งใหม่ ทางราชการได้ติดสิทธิ์ประชาชนในหมู่บ้านที่ 5 ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงออก ซึ่งไม่เป็นธรรมอย่างยิ่งเพราะประชาชนในหมู่ที่ 5 จะต้องรับกรรมไปจนกว่าจะหมดสัมปทาน
โดยเฉพาะตลอด 10 ปีที่ผ่านมา เหมืองเก่าในบริเวณเดียวกันถูกปิดไปแล้วเมื่อปี พ.ศ. 2562 แต่ผลกระทบยังเกิดขึ้นไม่หยุด ล่าสุดกากแร่และตะกอนดินที่ทำเหมืองถล่มปิดกั้นลำห้วยจนน้ำป่าเข้าท่วมพื้นที่เกษตรกรรมจำนวนมาก
ก่อนหน้านี้ มีหน่วยงานภาครัฐมาดูความเดือดร้อนอบจ.แพร่ ยืนยันจะเข้ามาให้การช่วยเหลือด้วยการนำเครื่องจักรเข้ามาขุดลอกลำห้วยแม่สวกเพื่อให้นำไหลสะดวก แต่ปัจจุบันมีเพียงคำพูดเท่านั้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ความเดือดร้อนของชาวบ้านหมู่ 5 และหมู่ 8 ดังกล่าวเกิดขึ้นจากการสัมปทานพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเพื่อทำเหมืองแร่แบไรท์ ของบริษัทเหมืองศศิน. ที่เช่าช่วงประทานบัตรจากนายกฤษดา กัมปนาทแสนยากรซึ่งเป็นการกระทำผิด พ.ร.บ.เหมืองแร่ พ.ศ.2560 มาตรา 52 ระบุชัดห้ามไม่ให้มีการเช่าช่วงสัมปทาน และต่อมาในปี พ.ศ. 2562. ตรวจพบว่าบริษัททำเหมืองดังกล่าวบุกรุกที่ดินป่าสงวนฯ คือการใช้พื้นที่เพิ่มโดยไม่ได้ขออนุญาต ส่งผลให้พื้นที่ป่าต้นน้ำแม่สวก. และป่าต้นน้ำแม่ต้าได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้น จนกรมป่าไม้ พร้อมเจ้าหน้าที่ทหาร ฝ่ายปกครอง และ DSI บุกเข้ายึดพื้นที่และจับกุมในข้อหา กระทำผิดต่อ พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ. 2484. พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507 ทำให้เกิดความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามสำนวนคดีพิเศษที่ 75/2562.
ล่าสุดบริษัทดังกล่าวยังอยู่ระหว่างดำเนินคดีแต่กลับมาขอประทานบัตรใหม่ในพื้นที่ทำเหมืองเดิม. ซึ่งผลจากทางราชการตัดสิทธิ์ชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบออกจากเวทีประชามติ ทำให้บริษัทแห่งนี้ได้รับสัมปทานใหม่อีกครับ
ข่าวน่าสนใจ:
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ศูนย์พัฒนาการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้าจังหวัดแพร่ ได้ติดตามปัญหาดังกล่าวพบว่ากระบวนการทำงานของภาครัฐในจังหวัดแพร่ไม่ให้ความสำคัญต่อสิทธิประชาชนทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำรุนแรงมากขึ้น นายอำนวย พลหล้า ประธานศูนย์ฯ กล่าวด้วยว่า ชาวบ้านที่ถูกตัดสิทธิ เกิดข้อกังวล เรื่องตะกอนแร่ทับถมในลำห้วย. รถบรรทุกที่วิ่งผ่านหมู่บ้านตลอด24 ชั่วโมง เกิดเสียงดังจากการทำเหมือง ฝุ่นที่มีความหนาแน่นเกินมาตรฐาน. รวมทั้งสภาวะดินถล่ม ในพื้นที่ดังกล่าวทางราชการไม่รับรองการประกาศเขตป่าชุมชน ตาม พ.ร.บ.ป่าชุมชน ซึ่งเป็นแหล่งอาหารของทุกคนในชุมชน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีดังกล่าวกรรมาธิการการพัฒนาการเมืองการสื่อสารมวลชนและการมีส่วนร่วมของประชาชนรับเรื่องความเดือดร้อนของชาวบ้านกลุ่มนี้ไปแล้วแต่ก็ยังไม่มีทางออกใดใดในการคลี่คลายความเดือดร้อน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: