ชี้รัฐแก้ปัญหาจัดการน้ำผิดทาง ไม่ให้ความสนใจการมีส่วนร่วม ไม่แก้ไขปัญหาตามบริบทธรรมชาติ เน้นทุ่มงบก่อสร้างปิดกั้นทางน้ำเพิ่มงบทุกปีแต่ไร้ผล ชาวบ้านสะเอียบเตรียมพร้อมรับมือนักการเมืองหลังเลือกตั้งหวังเพิ่มงบแก้ปัญหาไม่ถูกทาง ถ้าคิดสร้างเขื่อนจะเพิดแน่
เวลา 10:00 น วันที่ 9 ตุลาคม เครือข่ายต่อต้านเขื่อนแก่งเสือเต้นประกอบด้วยแกนนำชาวบ้านในตำบลสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ นำโดยนายชุม สะเอียบคง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสระเอียบเป็นประธาน และองค์กรพัฒนาเอกชนภาคเหนือเครือข่ายองค์กรพัฒนาเอกชนจากประเทศเพื่อนบ้าน เครือข่ายสมัชชาคนจน มูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการประเทศไทย นำโดยนายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการประเทศไทยร่วมจัดพิธีสืบชะตาป่าดงสักงามภายในอุทยานแห่งชาติแม่ยม ซึ่งเป็นประเพณีของชาวสะเอียบกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในปีนี้มีตัวแทนดังกล่าวและชาวบ้านรวมทั้งพระสงฆ์ร่วมประกอบพิธีกว่า 200 คน
การจัดพิธีสืบชะตาป่าไม้ “ดงสักงาม” ในอุทยานแห่งชาติแม่ยมมีแนวทางสำคัญในการสร้างจิตสำนึกร่วมเพื่อการหวงแหนธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ชาวบ้านต่อสู้ในการต้านการสร้างเขื่อนแตกเสือเต้นมานานกว่า 30 ปี พิธีกรรมนี้ยังเป็นการปลุกจิตสำนึกของคนรุ่นใหม่ให้เห็นความสำคัญในการรักษาผืนป่าและการพัฒนาอย่างยั่งยืน รวมทั้งเตรียมความพร้อมรับมือระบบนโยบายการบริหารจัดการน้ำของนักการเมืองที่จะเข้าสภาในการเลือกตั้งครั้งหน้าในเร็วๆนี้
นายชุม สะเอียบคง นายกองค์การบริหารส่วนตำบลสะเอียบ กล่าวว่า การบวชป่าสืบชะตาไม้สักในบริเวณดงสักงามเป็นสัญลักษณ์สำคัญในการต่อต้านการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นที่สืบทอดกันมาอย่างยาวนานกว่า 30 ปีถือเป็นวิธีการที่ดีที่สุดในการปลุกจิตสำนึกของคนรุ่นใหม่ให้สานต่อไปในรุ่นต่อไป
นายสมนิ่ง เหมืองร้อง อดีตแกนนำต้านเขื่อนแก่งเสือเต้น กล่าวว่า เหตุที่ชาวบ้านต้องออกมายึดถือประเพณีบวชป่าอย่างต่อเนื่องเพราะปัญหาการเมืองที่ยังมุ่งไปที่ผลประโยชน์ในโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบริเวณนี้ “แก่งเสือเต้น” ยังเป็นเป้าหมายของนักการเมืองที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น อีกไม่นานการเลือกตั้งจะเกิดขึ้นนักการเมืองที่มีความโลภต้องการผันงบประมาณเป็นโครงการขนาดใหญ่จะพยายามฟื้นโครงการแก่งเสือเต้นมาอีกอย่างแน่นอนชาวบ้านรู้ทันจึงยังคงต้องดำเนินการต่อต้านการสร้างเขื่อนต่อไป
นายหาญณรงค์ เยาวเลิศ ประธานมูลนิธิเพื่อการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการประเทศไทย กล่าวว่าได้ร่วมต่อสู้กับชาวบ้านสะเอียบมาเป็นเวลานานนอกจากนั้นยังให้ความสำคัญในการกำหนดนโยบายการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพสร้างการมีส่วนร่วมจากประชาชนนำไปสู่การพัฒนาอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืนที่ผ่านมาพบว่าการบริหารจัดการน้ำเน้นไปที่โครงสร้างพื้นฐานในการสร้างประตูระบายน้ำ เขื่อน ทำงบกั้นน้ำซึ่งต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากและมากขึ้นทุกปีสภาพอุทกภัยในปีนี้พบว่าโครงสร้างพื้นฐานในการแก้ไขปัญหาน้ำกลับกลายเป็นที่สกัดไม่ให้น้ำเดินทางสะดวกกลายเป็นปัญหาน้ำท่วมต่อประชาชนในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ ทางมูลนิธิ ฯ พบว่าการบริหารทรัพยากรน้ำขึ้นอยู่กับนักการเมืองผู้ที่เข้ามาบริหารทรัพยากรน้ำคือตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีใช้งบประมาณจำนวนมากเน้นไปที่การก่อสร้างและการจัดหาโดยไม่มองกลไกสำคัญคือคนในพื้นที่และการจัดการน้ำอย่างสมดุลทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งเมื่อพูดถึงปัญหาเหล่านี้ก็จะมีการเพิ่มงบประมาณขึ้นทุกปีสิ่งเหล่านี้มาจากนโยบายของนักการเมืองที่จะเข้ามาสู่สภาดังนั้นการเลือกตั้งครั้งต่อไปประชาชนคงต้องติดตามและต้องเผชิญกับปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งอยากไม่มีที่สิ้นสุดเนื่องจากผู้บริหารที่คิดเรื่องงบประมาณมากกว่าการจัดการน้ำอย่างสมดุล
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าพื้นที่ตำบลสระเอียดอำเภอสองจังหวัดแพร่หรือเป็นพื้นที่ต้นแบบในการสร้างการมีส่วนร่วมบริหารจัดการน้ำมีโครงการที่เกิดขึ้นจากประชาชนมากมายอาทิโครงการสะเอียบโมเดลแต่โครงการที่มีกระบวนการมีส่วนร่วมเหล่านี้รัฐบาลหรือนักการเมืองในยุคต่างๆไม่ให้ความสำคัญแต่คงเน้นไปที่โครงการขนาดใหญ่เพื่อผันงบประมาณลงทุนในปริมาณที่สูงแต่ไร้ประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ ชาวสะเอียบและองค์กรพัฒนาเอกชนร่วมกันสานต่อประเพณีการสืบชะตาป่าไม้ในอุทยานแห่งชาติมะยมครั้งนี้ก็เพื่อการสะท้อนภาพให้เห็นถึงกระบวนการการมีส่วนร่วมประชาชนที่รัฐมองไม่เห็น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: