X

นมัสการพระธาตุช่อแฮ ปลุกเศรษฐกิจหลังโควิด 19 เน้นวัฒนธรรมชุมชน


จ.แพร่ พร้อม งานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง รับชาวพุทธสู่เมืองธรรมใช้วัฒนธรรมปลุกเศรษฐกิจหลังโควิด 19

วันนี้ 16 ก.พ.66 เวลา 16.30 น. พระโกศัยเจติยารักษ์ รองเจ้าคณะจ.แพร่ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง นายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจ.แพร่ นางกรวรรณ สุ่มมาตย์ วัฒนธรรมจ.แพร่ นายอนันต์ สีแดง ผอ.ททท.สนง.แพร่ นายเสรี ทรงศักดิ์ รองนายกอบจ.แพร่ ได้ร่วมกันแถลงข่าวการ งานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง ซึ่งเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของจ.แพร่ มีขึ้นระหว่างวันที่ 28 ก.พ.-6 มี.ค.66 ณ วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง จ.แพร่ โดยเฉพาะวันเปิดงาน 28 ก.พ.66 ขบวนแห่สักการะองค์พระธาตุของประชาชน 8 อำเภอในจ.แพร่ นำศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ขบวนแห่ของดีแต่ละอำเภอ ขบวนช้างเจ้าหลวงเมืองแพร่ ขบวนผ้าห่มองค์พระธาตุและผ้าแพรวันเกิด 7 สี ขบวนตุงสักการบูชาองค์พระธาตุ การฟ้องของกลุ่มสตรีจ.แพร่ ตลอดงาน 28 ก.พ.-6 มี.ค. ชมการจัดตลาดนัดวัฒนธรรมภูมิปัญญา “ข่วงศิลป์ถิ่นโกศัย” กิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญา สล่าเมืองแพร่ นิทรรศการศิลปวัฒนธรรม นิทรรศการวิถีชีวิตช่อแฮ การแสดงผลงานด้านศิลปกรรม จิตรกรรมของศิลปินเมืองแพร่ นิทรรศการเมืองแพร่ เมืองสร้างสรรค์ การประกวดภาพถ่ายวิถีช่อแฮ การสวนาสร้างสรรค์ ตลาดสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ชมการการประกวดกลองสะบัดชัย การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง การประกวดภาพวาดวิถีช่อแฮ การแสดงแสงสีสียง “เล่าขานตำนานพระธาตุช่อแฮ”ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม การแสดงดนตรีศิลปินชื่อดัง การแสดงบนเวที เลือกซื้อสินค้าราคาถูกจากโรงงาน มีสวนสนุกและมโหรสพสมโภช ตลอด 7 วัน 7 คืน

งานไหว้ประเพณีพระธาตุช่อแฮฯ 28 ก.พ-6 มี.ค.66 ยิ่งใหญ่ด้วยขบวนเครื่องสักการะ ขบวนช้าง การแสดงแสงสีเสียง มีคำกล่าวว่า “มาเมืองแพร่ ถ้าไม่ได้ไปนมัสการองค์พระธาตุช่อแฮ เสมือนหนึ่งไปไม่ถึงเมืองแพร่” เนื่องจากวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เป็นวัดที่สำคัญคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดแพร่และภาคเหนือ องค์พระองค์พระธาตุ มีลักษณะเป็นเจดีย์รูปแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะแบบเชียงแสน เป็นพระธาตุ 1,000 ปี ที่บรรจุพระเกศาธาตุและพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล จากความสำคัญดังกล่าว จังหวัดแพร่จึงนำองค์พระธาตุช่อแฮ ประดิษฐ์อยู่บนหลังม้าเป็นตราสัญญาลักษณ์ของจังหวัดแพร่และนำมาเป็นคำขวัญของจังหวัดแพร่

พระโกศัยเจติยารักษ์ รองเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เจ้าอาวาสวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เจริญพรว่า วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง สร้างในสมัยไหนไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ตามประวัติศาสตร์ปรากฏหลักฐานการก่อสร้างว่า ในสมัยพระมหาธรรมราชา(ลิไท) ขณะดำรงพระยศเป็นพระมหาอุปราชปกครองเมืองศรีสัชนาลัย ได้เสด็จมาสักการะองค์พระธาตุช่อแฮ และปี พ.ศ.1902 ได้เสด็จมาปฏิสังขรณ์ จากนั้นได้จัดงานสมโภชน์ถวาย 7 วัน 7 คืน จนกลายเป็นงานประเพณีที่ประชาชนชาวจังหวัดแพร่ จัดงานสักการะองค์พระธาตุทุกปี มีชื่อว่า “งานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง” ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดแพร่ ปีนี้มีขึ้นระหว่างวันที่ 28 ก.พ.ถึงวันที่ 6 มี.ค.66 ชมฟรีตลอดงาน ในงานมีทั้งกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา กิจกรรมสมโภชน์สักการะองค์พระธาตุช่อแฮ กิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น วันที่ 22 ก.พ.66 พิธีบวงสรวงพระธาตุช่อแฮ พิธีมหาพุทธาภิเษกวัตถุมงคล วันที่ 24 ก.พ.พิธีเลี้ยงเจ้าขุนลั๊วะอ้ายก้อม วันที่ 26 ก.พ.พิธีตานตุงและตานเจดีย์ทราย อุทิศถวายแด่บูรพาจารย์ บริเวณหน้ากู่อัฐิ พระครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา วันที่ 28 ก.พ.-66 มี.ค.66 เทศน์มหาเวสันดรชาดก และวันที่ 6 มี.ค.ทำบุญตักบาตรข้าวสารอาหารแห้ง ฟังพระธรรมเทศนา เวียนเทียนเนื่องในวันมาฆบูชา วันที่ 7 มี.ค. พิธีส่งพระมหาอุปคุต เป็นต้น

นายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ กล่าวว่า ว่า งานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง ถือเป็นงานบุญที่ยิ่งใหญ่ของจังหวัดแพร่ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมายาวนาน จัดขึ้นในวันขึ้น 9 ค่ำ ถึง 15 ค่ำ เดือน 4ใต้ เดือน 6 เหนือ ปีนี้ตรงกับวันที่ 28 ก.พ.ถึงวันที่ 6 มี.ค.66 โดยเฉพาะวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 วันแรกของงาน เวลาตั้งแต่ 14.00 น เป็นต้นไป มีขบวนหลักแห่เครื่องสักการะองค์พระธาตุ โดยจังหวัดแพร่และอบจ.แพร่สนับสนุน ขบวนแห่สักการะพระธาตุที่ยิ่งใหญ่จากประชาชน 8 อำเภอของจังหวัดแพร่ นำศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ขบวนแห่ของดีแต่ละอำเภอ ขบวนช้างเจ้าหลวงเมืองแพร่ ขบวนผ้าห่มองค์พระธาตุและผ้าแพรวันเกิด 7 สี ขบวนตุงสักการบูชาองค์พระธาตุช่อแฮ ประกอบด้วย ขบวน”ปฐมตำนาน ขุนลัวะอ้ายก้อม วันทากราบน้อม บูซาพุทธองค์” ขบวน “ตามรอยราชศรัทธา พญาลิไทเหนือเกล้า อันเป็นต้นเค้า บูรณะพระธาตุเจ้าช่อแฮ” ขบวน”ปาระมีบุญ ๒ ครูบา มหาเถรเจ้าปฏิสังขรณ์ศรีวิชัย เมธังกร ร่วมสร้างศรัทธา” ขบวน “สาธุปูสุขีเถระ พระมหาโพธิวงศาจารย์ ระลึกคุณผู้สืบสาน อนุรักษ์พระธาตุเจ้าช่อแฮ” ขบวน”ชุธาตุปีชาล สืบตำนานล้านนา พระโกศัยเจติยาฯ บูรณะรักษาพระธาตุเจ้าช่อแฮ” ขบวนตุงชัยถวายพระเจ้าช่อแฮ ขบวนฟ้อนปูจาพระธาตุช่อแฮ จำนวน 200 คน ของสมาคมผู้นำสตรีพัฒนาชุมชนจังหวัดแพร่ งานไหว้พระธาตุช่อแฮถือเป็นกิจกรรมทางการท่องเที่ยว ยังสามารถกระตุ้นเศรษฐกิจให้กับเศรษฐกิจในจังหวัดแพร่ได้เป็นอย่างดี

สิบเอกหญิงกรวรรณ สุ่มมาตย์ วัฒนธรรมจังหวัดแพร่ กล่าวว่า ตลอดงาน 28 ก.พ.-6 มี.ค.66 ชมการจัดตลาดนัดวัฒนธรรมภูมิปัญญา “ข่วงศิลป์ถิ่นโกศัย” กิจกรรมถ่ายทอดภูมิปัญญา สล่าเมืองแพร่ นิทรรศการศิลปวัฒนธรรม นิทรรศการวิถีชีวิตช่อแฮ การแสดงผลงานด้านศิลปกรรม จิตรกรรมของศิลปินเมืองแพร่ นิทรรศการเมืองแพร่ เมืองสร้างสรรค์ การประกวดภาพถ่ายวิถีช่อแฮ การเสวนาสร้างสรรค์ ตลาดสินค้าและผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหารและยาสมุนไพรที่น่าสนใจชมการประกวดกลองสะบัดชัย การประกวดร้องเพลงลูกทุ่ง การประกวดภาพวาดวิถีช่อแฮ การแสดงแสงสีสียง “เล่าขานตำนานพระธาตุช่อแฮ”ชมการแสดงศิลปวัฒนธรรม การแสดงดนตรีศิลปินชื่อดัง การแสดงบนเวที เลือกซื้อสินค้าราคาถูกจากโรงงาน มีสวนสนุกและมโหรสพสมโภช ตลอด 7 วัน 7 คืน

ไหว้พระ ขอพรพระองค์ธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีขาล หลวงพ่อช่อแฮ พระเจ้าทันใจ ไหว้พระสิงห์ 2 เนื้อเงิน พระประจำปีขาล บูชากัณฑ์เทศน์มหาชาติ เสริมสิริมงคล บูชาวัตถุมงคล พระเจ้าทันใจอายุครบ 100 ปีรุ่น 1 พระสิงห์2เนื้อเงินพระประจำปีขาล รุ่นมหาพุทธาภิเษก 4 วัน 4 คืน จากมวลสารองค์พระธาตุช่อแฮ และพลาดไม่ได้ วันที่ 6 มีนาคม 2566 เวลา 07.00 น.ทำบุญตักบาตร และพิเศษสุดเวียนเทียนเนื่องในวันมาฆบูชารอบองค์พระธาตุช่อแฮ ในยามค่ำคืนพระจันทร์เต็มดวง

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน