กลุ่มเพศสภาพรวมตัวที่จังหวัดแพร่ในงานแพร่คราฟท์ ประกวดหาตัวแทนเข้าประกวด BANGKOK PRIDE ในเทศกาลไพรด์ ที่จัดทั่วโลกในเดือนมิถุนายนของทุกปี ในงานนี้ทีการรณรงค์ผลักดันให้กฎหมายสมรสเท่าเทียมผ่านรัฐสภาในวันที่ 12 ธันวาคมนี้
การประกวดความงามของกลุ่มเพศสภาพทั้ง L-G-B-T-Q ในกิจกรรมแพร่ไพรด์(PHRAE PRIDE) ภายในงานแพร่คราฟท์ ที่จัดขึ้นที่สนามโรงเรียนป่าไม้แพร่ อ.เมืองแพร่ จ.แพร่ สร้างความตื่นตาตื่นใจให้กับผู้เข้าชมงานแพร่คราฟท์ในวันที่สองอย่างมาก กิจกรรมครั้งนี้ถือเป็นการแสดงออกของกลุ่มหลากหลายทางเพศ ที่มาร่วมกันจัดงาน และในงานนี้ถือเป็นกิจกรรมสำคัญที่พวกเขากำลังรวมตัวกันเพื่อรณรงค์และผลักดันสิทธิเท่าเทียม ซึ่ง พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม ที่จะเข้าสู่การพิจารณาของรัฐสภาในวันที่ 12 ธันวาคมนี้ โดยกลุ่มความหลากหลายทางเพศทั้ง Lesbian – Gay – Bisexual – Trangender และ Queer พยายามที่จะให้มีกฎหมายเพื่อความเท่าเทียมของเพศสภาพให้เกิดขึ้นในประเทศไทย โดยประเทศไทยปัจจุบันถือว่ามีการยอมรับเพศสภาพ
จ
นายธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ หรือครูทัน ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล กล่าวว่า สภาผู้แทนราษฎรชุดที่แล้วถือเป็นสภาชุดแรกที่ให้ความสำคัญกับกฎหมายเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ จนปัจจุบันมีการสานต่อและพยายามร่างกฎหมายโดยเฉพาะ พ.ร.บ.สมรสเท่าเทียม เข้าสู่สภา ซึ่งไม่ใช่ตนคนเดียวที่ออกมาต่อสู้ แต่มีการต่อสู้มานาน ในปี พ.ศ. 2555พยายามเสนอกฎหมายให้มีการจดทะเบียนได้ แต่ก็ไม่ใช่สิทธิเท่าเทียมผ่านมา 11 ปีแล้ว กฎหมายเพื่อกลุ่มคน L-G-B-T-Q เพื่อสร้างสิทธิเท่าเที่ยมถูกกีดกันโดยสังคมศาสนาวัฒนธรรมเดิม ในขณะที่คนเหล่านี้เกิดมาใช้ชีวิตจนถึงวันตาย พวกเข้ามีสภาพจิตใจและร่างกายที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ มันเป็นวิทยาศาสตร์สำหรับร่างกายคนทั้งโลก สิงที่ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายเท่าเทียมส่วนหนึงก็คือ กฤษฎีกา ที่ยังไม่ยอมรับเพศสภาพ อย่างไรก็ตามประเทศไทยมีการยอมรับมากขึ้นจนทำให้ความหลากหลายทางเพศมีที่ยืนในสังคมได้บ้าง ทุกวันนี้เขากำลังเรียกร้องเช่นเดียวกับคนทั่วโลก จาก 147 ประเทศ เราอยู่ที่อันดับที่ 74 ซึ่งทั่วโลกมองการยอมรับความหลากหลายทางเพศนั้นต้องดูที่บทบาทของคนในสังคม ในระบบการเมือง ระบบราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสามารถเข้าไปมีบทบาทในการบริการ มีการเปิดโอกาสให้เข้าไปทำหน้าที่มากน้อยเพียงใดอีกด้วย
ซึ่งกฎหมายสมรสเท่าเทียม ที่จะเข้าสภาฯ ก็คือความต้องการความเสมอภาพ ความเท่าเทียม ให้กับคนเหล่านี้ได้รับสิทธิตามกฎหมาย ซึ่งต้องฝากความหวังไว้ที่นักการเมืองปัจจุบัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: