X

รัฐระดมทุกหน่วยงานแก้ปัญหาที่ดินตำบลนาพูน สร้างโมเดลแก้ปัญหาทั่วประเทศ

เวลา 13.30 น.วันที่ 17 กรกฎาคม คณะกรรมการแก้ไขปัญหาที่ดิน นำโดย นายสมคิด เชื้อคง รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีฝ่ายการเมือง นายชลธิศ สุรัสวดี ที่ปรึกษาของนายกรัฐมนตรี นายมงคลชัย สมออุดร รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี นางชุติมา ศูนยะคณิต ผู้อำนวยการศูนย์ข้อมูลรูปแปลงที่ดิน กรมที่ดิน พร้อมด้วยข้าราชการที่เกี่ยวข้องทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค อาทิกรมที่ดิน สำนักงาน สปก.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 13 (แพร่) สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ ฯลฯ

ประชุมร่วมกับนายปานศร ภมรคนธ์ นายอำเภอวังชิ้น นายวิเชียร สมฤทธิ์ นายก อบต. นาพูน ที่ห้องประชุม อบต.นาพูน อ.วังชิ้น จ.แพร่ เพื่อแก้ปัญหาที่ดินทำกินที่อยู่อาศัยทับซ้อนกับพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในตำบลนาพูน อ.วังชิ้น จ.แพร่ พร้อมกับคณะได้ลงดูพื้นที่ทับซ้อนที่มีประชาชนอาศัยมาก่อนประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติ โดยคณะได้ลงดูหลักฐานในพื้นที่จริงจำนวน 7 จุด คือที่วัดแม่แปง / จุดตัดห้วยตะเคียนปง-ห้วยแม่แปง /วัดนาพูน / ห้วยนาพูนหมู่ 2/ห้วยนาพูนหมู่ที่ 10 /วัดป่าไร่หลวง /และบริเวณบ้านเป่าปมดงยางหมู่ที่ 7 ซึ่งพื้นที่เหล่านี้ถือเป็นร่องรอยการอยู่อาศัยของประชาชนมาก่อนโดยมีหลักฐานประกาศเขตป่าสงวนในปี 2488 ได้กันพื้นที่ชุมชนออก แต่ในปีพ.ศ 2510 ได้มีการประกาศเขตป่าสงวนแห่งชาติป่ามะยมตะวันออกทับพื้นที่ชุมชนที่เคยกันออกใน พ.ศ 2488 จะส่งผลให้ประชาชนไม่สามารถออกเอกสารสิทธิ์โฉนดที่ดินทำกินทำให้เสียสิทธิการครอบครองที่ดินเป็นการทดลองสิทธิของชาวบ้านโดยชาวบ้านในพื้นที่ตำบลนาพูนได้ร้องต่อสู้มานานกว่า 18 ปี

นายวิเชียร สมฤทธิ์ นายกอบต. นาพูนกล่าวว่า ชาวบ้านตั้งรกรากมานานมีวัดมาตั้งแต่ปีพ.ศ 2458คือการสร้างวัดแม่แปงและวัดนาพูน พร้อมๆกัน และปัจจุบันพื้นที่เหล่านี้ก็ยังเป็นชุมชนเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านไม่มีการทำรีสอร์ทหรือกว้างซื้อที่ดินเพื่อการลงทุนอย่างอื่นเป็นการครอบครองของชาวบ้านที่มีรายได้น้อยหรือเกษตรกรธรรมดา

ที่ประชุมได้หารือกันอยู่นานกว่า 1 ชั่วโมงถึงได้ข้อสรุป นายสมคิด เชื้อคง ลองเลขาธิการนายกรัฐมนตรีกล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า รัฐบาลมีความห่วงใยปัญหาที่ดินที่เกิดขึ้นกับประชาชน การระดมหลายหน่วยงานลงมาในตำบลนาพูนมีแนวคิดทำเป็นพื้นที่ตัวแบบหรือโมเดล เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรม ระดมหน่วยงานต่างๆสำรวจร่วมกัน ตรงไหนเป็นที่ทำกินตรงไหนเป็นพื้นที่ป่าจำแนกให้ชัดเจน การทำงานครั้งนี้ระดมทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอาทิ คณะกรรมการที่ดินแห่งชาติ กรมที่ดิน กรม กรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มาทำงานร่วมกันโดยมีงบประมาณของตนเองและงบประมาณเสริมจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งถ้าสำเร็จจะขยายการแก้ไขปัญหาออกไปทั่วประเทศอย่างไรก็ตามการทำงานที่ซับซ้อนก็ต้องใช้เวลาอยู่บ้างแต่พื้นที่นี้จะไม่เหมือนกรณีปลาทับลานเพราะเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านจริงๆโดยถือเป็นนโยบายของรัฐบาลอย่างชัดเจนเพื่อสร้างความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคม

ผู้จัดการรายงานว่าชาวบ้านที่รับทราบต่างดีใจเชื่อว่าการทำงานทางราชการจากประสบความสำเร็จร้อยละ 80 อย่างแน่นอนตัดเฝ้ารอดูภายใต้การกำกับดูแลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งอบต นาพูน และอบจ.แพร่/

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน