โครงการพัฒนาเส้นทาง สะพาน สิ่งก่อสร้างในถิ่นทุรกันดารมักเกิดปัญหาติดเขตป่าสงวนแห่งชาติอุทยานแห่งชาติ ซึ่งการพัฒนาต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีเท่านั้นทำให้งานล่าช้า หรือ ถึงกับงบประมาณในโครงการต้องตกไป รวมไปถึงการเรียกรับเงินใต้โต๊ะเพื่อการวิ่งเต้น เพื่อความสะดวกจนกลายเป็นความเคยชินของการคอรัปชั่น แนวทางเพื่อตัดปัญหาทั้งหมด สำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 เผยแนวทาง
สภาพเส้นทางในถิ่นทุรกันดาร โดยเฉพาะในตำบลที่ห่างไกลทั่วประเทศ ภาพที่เห็นเป็นพื้นที่รอยต่อจังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน เส้นทางแยกออกจากทางหลวงหมายเลข 101 ตรงบ้านห้วยโรง ต.ห้วยโรง อ.ร้องกวาง จ.แพร่ เส้นทางมีผู้สัญจรนับหมื่นคน รถยนต์วิ่งเข้าออกมากกว่า 3,000 คัน โดยเฉพาะรถขนส่งสินค้าของเกษตรกรต้องได้รับความลำบากมากเนื่องจากสะพานจำนวน 3 แห่งที่สร้างมานานกว่า 30 ปีแล้วรองรับรถวิ่งทางเดียว เป็นสะพานที่มีความแคบรถยนต์สวนกันยากมาก ทำให้มีอุบัติเหตุเกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก มีความสูญเสียและทำให้การทำมาหากินของชาวบ้านใน อ.ร้องกวางและบางส่วนในอ.เวียงสา จ.น่านต้องเกิดปัญหา
ชาวบ้านได้ผลักดันให้ อบต.ห้วยโรง พัฒนาปรับปรุง ซึ่งในที่สุด อบต.ห้วยโรง ได้ทำแผนพัฒนาโดยใช้งบประมาณพัฒนาจังหวัด แต่ทว่า โครงการดังกล่าวมีการตั้งงบประมาณไว้พร้อมแต่การก่อสร้างต้องรอการอนุญาตจากอธิบดีกรมป่าไม้เสียก่อน ซึ่งโครงการนี้ถึงกับต้องตัดงบประมาณออกเพราะยังไม่มีการอนุมัติจากอธิบดีกรมป่าไม้ จนเกินเวลาการใช้งบประมาณ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านที่ใช้เส้นทางออกมาประท้วงที่ อบต.ห้วยโรง ในที่สุดก็ได้รับคำตอบว่า “ทางจังหวัดแพร่มิได้ตัดงบประมาณแต่เป็นเพราะรอการลงนามอนุมัติจากอธิบดีกรมป่าไม้ เนื่องจากสะพานทั้ง 3 แห่งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
ในกรณีดังกล่าวแม้แต่หน่วงงานราชการ เช่น กรมทางหลวงก็ต้องเผชิญปัญหาด้วยเช่นกัน กล่าวคือ ปัจจุบันต้องยอมรับว่ามีเจ้าหน้าที่ของกรมทางหลวงที่ถูกดำเนินคดีตามกฏหมายว่าด้วยการป่าไม้ เนื่องมาจากความผิดจากการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ซึ่งสาเหตุของปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากเจ้าที่หน้าที่ของกรมทางหลวงที่ยังขาดความรู้ ความเข้าใจ ในแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับระเบียบ รวมถึงกฏหมายว่าด้วยการป่าไม้อย่างเพียงพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งระดับผู้บริหาร ผู้อำนวยการทางหลวง ซึ่งทางออกของกรมทางหลวงโดยเฉพาะแขวงการทางต้องมีการจัดทำคู่มือแนวทางปฏิบัติสำหรับเจ้าหน้าที่กรมทางหลวงที่ปฏิบัติงานในพื้นที่เขตป่าไม้ เพื่อเป็นเอกสารเผยแพร่ ให้ความรู้แก่เจ้าหน้าที่กรมทางหลวง
เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นทั่วประเทศ ส่งผลให้เกิดปัญหากับหน่วยงานพัฒนาอาทิ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แขวงการทางจังหวัดต่าง ๆ รวมไปถึงงานพัฒนาต่าง ๆ ให้กับชุมชนที่ต้องผ่านเขตป่าสงวนแห่งชาติ ล่าสุดนายสงคราม ขาวสะอาด ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ รับผิดชอบพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในเขตจังหวัดแพร่และจังหวัดน่าน เปิดเผยว่า ในปัจจุบันทางอธิบดีกรมป่าไม้ได้มอบอำนาจให้ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ในท้องที่จังหวัดนั้น ๆ ให้ดำเนินการขออนุญาตการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติตามมาตรา 19 เช่นการสร้างถนน หรือ ส่วนราชการขอสร้างอาคารต่างๆ ปัจจุบันอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ สามารถลงนามเพื่อการใช้ประโยชน์ได้เลย ไม่ต้องทำเรื่องถึงกรมแล้ว เป็นการลดขั้นตอนให้การพัฒนารวดเร็วยิ่งขึ้น ที่จังหวัดแพร่ ผู้อำนวยการสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 รับผิดชอบจังหวัดแพร่ และจังหวัดน่าน ดังนั้นทั้งสองจังหวัดมีการใช้มาตรฐานเดียวกัน เพียงแต่โครงการต้องเข้าเงื่อนไขระเบียบก็สามารถอนุญาตได้เลย รวดเร็วไม่ต้องรอนานอีกต่อไป /
ข่าวน่าสนใจ:
- จังหวัดสกลนคร พัฒนาศักยภาพบุคลากร ภาคีเครือข่าย เฝ้าระวัง ดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- ลำปางระทึกไฟไหม้ รถบรรทุก 6 ล้อขนส่งพัสดุวอด คนขับหนีตายออกจากรถได้ทัน
- ผู้ว่าฯปัตตานี รินชาลงกลางใจมาแกแตสถานพินิจฯปัตตานี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: