X

สมศักดิ์ เริ่มนโยบายหยุด NCDs ด้วย อสม.ที่ จ.แพร่เดือนหน้า Kick Off ทั่วไทย

เอาใจ อสม.ผุด พรบ.อสม.คุ้มครองสิทธิ์ ร่วมมือแก้ปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น เบาหวาน ความดัน ฯลฯ กระแสป่วยพุ่งเพิ่มปริมาณติดอันดับต้น ๆ คนไทยป่วย NCDs ผลาญงบสุขภาพ มาจากพฤติกรรม โดยเฉพาะการรับประทานอาหาร ให้นโยบายสาธารณสุขจังหวัดแพร่ขับเคลื่อนด้วยพลัง อสม.รณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหวังลดผู้ป่วย

เวลา 17.30 น.วันที่ 18 ตุลาคม 2567 นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์ยงยศ ทำอาวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ นายแพทย์สราวุธ บุญสุข ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1 นายแพทย์วรินทร์เทพ เชื้อสำราญ สาธารณสุขนิเทศ เขตสุขภาพที่ 1 พร้อมด้วยผู้บริหารบุคลากรกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 1 เดินทางมาที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ โดยมีนายชุติเดช มีจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ นายอนุวัธ วงศ์วรรณ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ นายแพทย์วีรศักดิ์ ดำรงพงษ์. นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดแพร่ เจ้าหน้าที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่พร้อมด้วย อสม.จำนวน 700 คน ให้การต้อนรับ

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ได้มอบนโยบายคนไทยห่างไกลโรคและภัยสุขภาพ มุ่งเน้นส่งเสริมสุขภาพทุกมิติ กินอาหารที่ดีมีประโยชน์ และออกกำลังกายสม่ำเสมอ สร้างวิถีชีวิตเพื่อสุขภาพ ลดปัญหาโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) โดยได้รับความร่วมมือจากอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.)ที่เข้าถึงผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงในทุกชุมชนได้อย่างใกล้ชิด ซึ่งถ้าเป็นไปตามแผนจะสามารถลดงบประมาณดูแลรักษาผู้ป่วยไปได้มาก

ปัจจุบันโรค NCDs ในประเทศไทยมีแนวโน้มรุ่นแรกขึ้นอย่างต่อเนื่อง อาทิ โรคเบาหวาน ความดัน โรคหัวใจเป็นต้น โรคดังกล่าวเกิดจากปัจจัยเสี่ยงในการบริโภคและพฤติกรรม จะทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตก่อนวัยอันควรอายุต่ำกว่า 70 ปี ในประเทศไทยถือเป็นภัยคุกคามหลัก พบว่าคนไทยมีการบริโภคโซเดียมและน้ำตาลเกินกว่ามาตรฐานที่กรมอนามัยโลกแนะนำ 2-4 เท่า คนไทยอยู่ในภาวะเสี่ยงถึง 42% การป้องกันโรค NCDs จึงมีความสำคัญ ประเทศไทยมีความสูญเสียต่อโรคเหล่านี้ ในปี 2583คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะมีความสูญเสียทางเศรษฐกิจมากถึง 1.6 ล้านล้านบาท/ปี

ในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 1 พบว่ามีผู้ป่วย รายใหม่เพิ่มขึ้นถึง 1.6%ของกลุ่มเสี่ยงต่อปี ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้น3.7 % ต่อปี โรคไตวายเรื้อรัง เพิ่มขึ้น5.5% ต่อปี

นายสมศักดิ์ กล่าวด้วยว่า มาตรการแก้ปัญหาโรค NCDs จะทำควบคู่ไปกับการทำกฏหมาย พ.ร.บ.อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่ ซึ่งน่าจะแล้วเสร็จใน พ.ศ. 2568 เป็นการยกระดับ อสม.ทั่วประเทศให้การทำงานมีกฏหมายรองรับ ส่วนการแก้ปัญหาNCDs เริ่มทำตั้งแต่ต้นปีงบประมาณในเดือนพฤศจิกายนนี้จะเริ่มทำงานพร้อมกันทั่วประเทศ โดยให้ความรู้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมลดการรับประทานอาหาร จำพวกแป้งและน้ำตาลพร้อมกับการออกกำลังกายให้ความรู้กับ อสม.ทำงานร่วมกับ รพ.สต.ในชุมชน NCDs ปัจจุบันต้องใช้งบประมาณมากถึง 139,000 ล้านบาทในการรักษาถ้าสามารถดำเนินการได้จะสามารถประหยัดงบประมาณไปได้อย่างมาก

ที่จังหวัดแพร่ อสม.ถือว่าเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาโรคNCDs นางสาวจินตนา ฉาใจ ประธาน อสม.ตำบลป่าแดง อำเภอเมืองแพร่ กล่าวว่าในเขตตำบลป่าแดงพื้นที่รับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าแดง ดูแลพื้นที่ หมู่ 1 หมู่ 2 หมู่ 3 หมู่ 9 และหมู่ 10 ได้มีการรณรงค์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยโรคเบาหวานความดัน ด้วยภูมิปัญญาพื้นบ้านด้านสุขภาพ เน้นให้ผู้ป่วยและกลุ่มเสี่ยงหันมากินผักปลอดภัยจากสารเคมี ลดการบริโภคอาหารเสี่ยงที่มีสารปนเปื้อนอาหารในภาคอุตสาหกรรม รับประทานตามภูมิปัญญาท้องถิ่นลดน้ำตาล ลดไขมันและความเค็ม ออกกำลังกายด้วยพฤติกรรมแบบพื้นบ้านภายใต้การตรวจเช็คค่าความดันและน้ำตาล ผ่านโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลป่าแดง ก่อนหน้านี้เคยทดลองปฏิบัติกับผู้ป่วยเบาหวานความดัน ในหมู่ที่ 2 ตำบลป่าแดงมีการปรับพฤติกรรมภายใน 5 เดือน พบว่าค่าน้ำตาลและความดันลดลงอย่างน่าพอใจ/

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน