ปี 2567 นี้ถือว่าเป็นช่วงเวลาที่ชาวสะเอียบ อำเภอสอง จังหวัดแพร่ ร่วมกันต่อสู้กับการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น โครงการขนาดใหญ่ของรัฐมานานถึง 35 ปี ระหว่างวันที่ 22 ถึง 24 พฤศจิกายนนี้ ตำบลสะเอียบจัดให้มีกิจกรรมรำลึก 35 ปีต่อต้านเขื่อนแก่งเสือเต้นขึ้นมาในหมู่บ้าน มีกิจกรรมดูนก ศึกษาธรรมชาติภายในอุทยานแห่งชาติแม่ยม ส่งเสริมการเรียนรู้ธรรมชาติสิ่งแวดล้อมป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ นำเยาวชนเข้าชมพื้นที่จุดชมวิวดูพื้นที่ป่าดงสัตว์น้ำ 160,000 ไร่ ภายในอุทยานแห่งชาติแม่ยม ซึ่งถ้าสร้างเขื่อนพื้นที่ป่าเหล่านี้ 40,000 ไร่จะจมน้ำ นอกจากนั้นยังมีเวทีเสวนาให้ความรู้การจัดการทรัพยากรดิน น้ำ ป่าร่วมกับกลุ่มสมัชชาคนจนและเครือข่ายฐานทรัพยากรในภาคเหนือและภาคอีสาน
เวลา 9:00 น วันที่ 23 พฤศจิกายน ชุมชนสะเอียบจัดให้มีพิธีบวชป่าที่ “ดงสักงาม”บริเวณที่จะถูกน้ำท่วมถ้ามีการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น เป็นกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์ของการพิทักษ์ป่าและการต่อสู้กับโครงการขนาดใหญ่ของรัฐ ที่มีการยืนหยัดต่อสู้มายาวนานถึง 35 ปี
นายณัฐปคัลภ์ ศรีคำภา นายก อบต.สะเอียบ ในฐานนะประธานกรรมการต่อต้านการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น กล่าวว่า แม้ว่าชาวบ้านต่อสู้มาอย่างยาวนาน แต่นักการเมืองก็ยังคิดสร้างเขื่อน ยังไม่ให้ความสำคัญกับข้อเสนอของชาวบ้าน โดยเฉพาะโครงการจัดการน้ำสะเอียบโมเดล
นายเส็ง ขวัญยืน อดีตกำนันตำบลสะเอียบ อดีตแกนนำตำบลสะเอียบและแกนนำต้านเขื่อนแก่งเสือเต้นกล่าวว่า การต่อสู้ยืนยันมาได้ถึง 35 ปีเพราะฉากละเอียดมีจุดแข็ง อากาศอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดิน น้ำ และป่าไม้ โดยเฉพาะปลาสักทองจำนวน 40,000 ไร่ที่จะถูกน้ำท่วมถ้ามีเขื่อนแก่งสเต็ก รวมทั้งการฟื้นฟูเศรษฐกิจในชุมชน คุณครูวัฒนธรรมประเพณีภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ชุมชนใช้เป็นเครื่องมือในการต่อสู้
นางอริสราพร สะเอียบคง แกนนำกลุ่มตะกอนยม กล่าวว่า ตั้งแต่ปีพ.ศ 2537 เป็นต้นมาเยาวชนรวมตัวกันช่วยผู้ใหญ่แก้ปัญหาโดยตั้งกลุ่มตะกอนโยมร่วมต่อสู้กับเขื่อนแก่งเสือเต้น
นายชัยณรงค์ เศรษฐเชื้อ ผศ.ดร.ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม กล่าวว่า 35 ปีเป็นการต่อสู้ของชาวบ้านที่ยิ่งใหญ่ และพบว่าในประเทศไทยมีไม่กี่ชุมชนที่สามารถปกป้องชุมชน ปกป้องผืนป่า และยืนหยัดได้นานถึง 35 ปี ด้วยการยืนยันในเรื่องของสิทธิชุมชน ยืนยันว่าผืนป่าที่จะต้องเสียไปกับการสร้างเขื่อนเป็นผืนป่าของคนในท้องถิ่นและเป็นผืนป่าของคนไทยทุกคน ชาวบ้านมีการขอความร่วมมือพญาอาสาสมัครนิสิตนักศึกษา ขอความร่วมมือเป็นอย่างนักวิชาการเข้ามามีส่วนร่วมในการแสดงเหตุผลเพื่อหยุดโครงการขนาดใหญ่
ซึ่งอนาคตการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่โดยเฉพาะเขื่อนแก่งเสือเต้น คงเป็นไปได้ยาก จะมีเพียงคำพูดของนักการเมืองกลุ่มเดิมๆเท่านั้น เนื่องจากปัจจัยหลายๆประการที่ทำให้ไม่สามารถสร้างเขื่อนได้ เช่นสภาวะโลกร้อน และการจัดการน้ำที่ดีกว่าการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในวันที่ 24 พฤศจิกายนนี้ จะมีเวทีพูดคุยทางวิชาการถึงทิศทางในอนาคตกับการแก้ไขปัญหาการจัดการน้ำทั้งระบบรวมทั้งการต่อยอดโครงการสะเอียบโมเดลเพื่อเป็นแนวทางการพัฒนาที่ยั่งยืนในลุ่มน้ำยมต่อไป
ข่าวน่าสนใจ:
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: