X

พิสูจน์ ดอยฮังรุ้ง ในรัฐฉานตำนานพระเจ้าเลียบโลก

นักวิชาการไทย เดินทางพิสูจน์ ดองฮังรุ้ง ในรัฐฉานตามตำนานพระเจ้าเลียบโลก พบยังเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ของหลายชาติพันธุ์ และยังคงธรรมชาติที่สวยงามของลุ่มน้ำสาละวิน

sdr

เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2561 ที่ผ่านมาคณะวิจัยทางพุทธศาสนานำโดยนายสุดแดน วิสุทธิลักษณ์ อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินทางผ่านชายแดนไทยเข้าไปยังเมืองโต๋น รัฐฉาน ประเทศพม่า ระยะทางกว่า60 กม. เป็นเส้นทางที่ยังไม่เปิดเป็นทางการ เนื่องจากรัฐบาลพม่ายังไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ในประเทศให้ลงตัวในด้านการเมืองการปกครอง และจากปัญหาของกลุ่มชาติพันธุ์ต่างๆ ในพม่าที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งที่ผ่านมานั่นเอง

เส้นทางผ่านเมืองต่างๆ หลายเมือง อาทิ เมืองหาง อันเป็นสถานที่ทางประวัติศาสตร์กษัตริย์ไทยคือ สมเด็จพระนเรศารมหาราชที่ไปสู้รบกับเมืองอังวะ แต่ต้องมาประชวนและสวรรคตที่เมืองหาง การเดินทางต่อจากเมืองหาง ไปยังบ้านนากองมู ขึ้นดอยขี้เหล็กอันเป็นดอยสูงมีป่าสนมีความสูงจากระดับน้ำทะเลนับ 1,000 เมตรขึ้นไป บนดอยขี้เหล็กนี้ได้ผ่านบ้านมูเซอดอยขี้เหล็ก และเข้าสู่บ้านมูเซอหมากโล่ล่า เป็นเส้นทางแคบๆ บนภูเขา ลักษณะของเส้นทางไต่ไปบนภูเขาจะยกระดับสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง รถยนต์ธรรมดาไม่สามารถใช้ได้ ผ่านบ้านนาพะยอง มีอยู่ถึง 2 กลุ่มชาติพันธุ์คือ ชาวปะหล่อง กับชาวมูเซอ การเดินทางบ้านน้ำคำ บ้านนี้เป็นลีซอ เป้าอยู่ที่เทือกเขาจักต่อจากนั้นเดินเท้าอีก1ชั่วโมงขึ้นดอยฮังรุ้ง


ตำนานพระเจ้าเลียบโลก วรรณกรรมทางศาสนาพุทธ ที่แพร่หลายอยู่ในภาคเหนือของไทย ในรัฐฉานของพม่า และ สิบสองปันนา ประเทศจีน กล่าวถึง พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาเผยแพร่พุทธธรรมในล้านนาและล้านช้างรวมไปถึงบางส่วนของภาคอีสานของไทย พร้อมทั้งทรงประทานสิ่งของอันเป็นตัวแทน เช่น การประทับรอยพระบาท รอยพระหัตถ์ไว้ หรือสิ่งของเครื่องใช้เข่น ไม้สีฟัน บริเวณที่ใช้เป็นสถานที่ตากจีวร ซึ่งต่อมาศรัทธาได้สร้างพระบรมธาตุ พระธาตุเจดีย์ หรือวัดที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาทเอาไว้ ตำนานพระเจ้าเลียบโลกจึงเป็นหลักฐานสำคัญในการระบุแหล่งสำคัญทางพุทธศาสนาเอาไว้ให้เห็นในปัจจุบัน


นายสุดแดน วิสุทธิลักษณ์ อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า สนใจศึกษาตำนานพระเจ้าเลียบโลก เป็นตำราบอกถึงการเสด็จของพระพุทธเจ้าว่าได้เดินทางไปที่ไหนบ้าง ในผูกแรกกล่าวถึงการเสด็จไปที่เขาฮังรุ้ง ซึ่งก็หมายถึง รังของนกเหยี่ยวหรือนกอินทรีย์ จากตำนานเราพบว่ามีความเชื่อว่าเป็นสถานที่ 2 แห่งคือ พื้นที่แรกที่พระบาทสี่รอย อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่ ส่วนอีกที่หนึ่งอยู่ที่เมืองโต๋น ซึ่งกำลังเดินทางมาพิสูจน์ด้วยตนเอง เมื่อมาถึงก็พบว่าชาวบ้านได้พูดถึงเรื่องนี้อยู่และรู้จักเรื่องนี้เป็นอย่างดี พระพุทธเจ้าเสด็จมาที่นี่และได้ประทับรอยพระบาทไว้ที่ยอดเขารังรุ้งเป็นรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าทั้ง 4 พระกกุสันโธ พระโกนาคมโน พระกัสสโป พระโคตโม และ พระพระศรีอริยเมตไตรโย ก็จะมาประทับรอยเป็นองค์ที่ 5 เหมือนกัน ส่วนที่มาของชื่อภูเขาฮังรุ้ง มีความเป็นมาอย่างไร คือว่า หลังจากพระพุทธเจ้าประทับรอยพระบาทไว้แล้วก็มิมีใครได้รู้จักอีกเลย จนเทวดาก็อยากให้มีคนรู้จักรอยพระบาทโดยทั่วไป จึงเนรมิตตัวเองเป็นเหยี่ยวรุ้งมาโฉบเอาไก่ของชาวบ้านไป ซึ่งเป็นชาวมูเซอ เหยี่ยวมาโฉบไก่เป็นประจำจึงออกตามเหยี่ยวไปถึงที่อยู่เพื่อสังหารเหยี่ยว พรานชาวมูเซอต้องปีนเขาตามขึ้นไปจนถึงจุดสูงสุดพบเป็นรังเหยี่ยวรุ้งตัวดังกล่าว แต่การติดตามเหยี่ยวรุ้งครั้งนี้ ทำให้พบรอยพระบาทของพระพุทธเจ้าด้วย นับแต่นั้นมาทำให้มีคนรู้จักว่าบนยอดเขาแห่งนี้มีรอยพระพุทธบาท จึงได้ตั้งชื่อภูเขาลูกนี้ว่า “ดอยรังรุ้ง” ซึ่งในภาษาท้องถิ่น เรียกว่า “ฮังรุ้ง” นั่นเอง

 

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน