X

ข่ายสุขภาพภาคเหนือ หวั่นการเมืองทำ พ.ร.บ.สุขภาพพัง


องค์กรสุขภาพภาคประชาชนภาคเหนือ หวั่นล้มบัตรทองจี้พรรคการเมืองเปิดนโยบายรัฐสวัสดิการให้ประชาชนเห็นก่อนวันเลือกตั้ง
การจัดการด้านสุขภาพในประเทศไทยยังคงมีปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นจากระบบบริหารจัดการของรัฐ และ ฐานการพัฒนาสำคัญคือฝ่ายการเมืองที่จะเข้ามาบริหารประเทศมีความสำคัญมากสำหรับเจตนาของนักการเมืองที่จะพัฒนาเป็นนโยบายสุขภาวะ


เวทีติดตามประเมินผลการดำเนินงานด้านการรับฟังความคิดเห็นทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการในระบบหลักประกันสุขาภาพแห่งชาติ จัดขึ้นที่ โรงแรมดิเอ็มเพรส จ.เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 4 มีนาคมที่ผ่านมา โดยมีนางรัชนีวรรณ ปานธูป ผู้ช่วยอำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 1 จ.เชียงใหม่ เป็นประธานรับฟังความคิดเห็นจากเครือภาคประชาชนด้านสุขภาพ 9 ด้านได้แก่ เด็กหรือเยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ เครือข่ายคนพิการผู้ป่วยจิตเวช ผู้สูงอายุ ชาติพันธุ์และชนกลุ่มน้อย ผู้ติดเชื้อ hivและผู้ป่วยเรื้อรัง ผู้ใช้แรงงาน เกษตรกรและชุมชนแออัด จากจังหวัดแพร่ น่าน พะเยา เชียงใหม่ เชียงราย ลำปาง แม่ฮ่องสอน ลำพูน ผลปรากฎว่า ที่ประชุมได้พูดถึงสวัสดิการของรัฐที่มีอยู่ คือ ระบบหลักประกันสุขภาพที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังเข้าไม่ถึง และการมีส่วนร่วมที่เกิดขึ้นในชุมชนยังไม่เหมาะสม แม้ว่าการใช้หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าดำเนินการมานานแล้วก็ตาม เครือข่ายองค์กรชาวบ้านด้านสุขภาพได้นำเสนอสภาพปัญหาและแนวทางการทำงานที่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วม

นางสุภาพร ถิ่นวัฒนากูล คณะทำงานวิชาการเครือข่ายกลไกเครือข่ายประชาชน 9 ด้าน ภาคเหนือ กล่าวว่า ในเรื่องสิทธิประโยชน์ต้องไปเริ่มที่หน่วยบริการใกล้บ้าน ในการปฏิรูประบบสุขภาพก็ต้องไปในทิศทางของการสร้างความเข้มแข็งในชุมชน แต่จะทำได้อยู่ที่เครือข่าย 9 ด้านต้องขับเคลื่อนอย่างเข้มแข็งและรัฐต้องรับไปสู่การปฏิบัติได้จริง เช่น กลุ่มผู้ติดเชื่อเอสไอวีที่ออกมาต่อสู้เพื่อให้ได้รับยาไปสู่การรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ การต่อสู้ของภาคประชาชนเพื่อให้มีกฎหมายซึ่งในกฎหมายระบุชัดถึงตัวแทนภาคประชาชนใน 9 ด้าน ทำให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้สิทธิประโยชน์ในด้านต่างๆ แล้วออกมาเรียกร้องพร้อมทั้งเข้าไปมีส่วนร่วมในการทำให้เดินไปสู่เป้าหมายไม่ใช่รอหมอ พยาบาลหรือผู้บริหารเท่านั้น แต่เป็นภาระของภาคประชาชนที่ต้องช่วยกัน ในกฎหมายที่มีการชดเชยผู้เสียหาย การทำงานในท้องถิ่นกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบลมีสัดส่วนตัวแทนประชาชนเข้าไปนั่งน้อยเกินไป ตรงนี้พูดแล้วก็พูดอีกแต่ก็กลายเป็นตัวแทนที่อยู่ข้างผู้ให้บริการมากกว่าผู้รับบริการ ซึ่งในท้องถิ่นประชาชนใน 9 ด้านยังไม่เข้าใจและยังเข้าไม่ถึง ทำให้ ไม่ว่าการรักษา หรือ กองทุนสุขภาพ ฯ ยังเป็นปัญหา การเข้าถึง ดังนั้น ปัจจุบันเป็นช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่ผู้บริหารประเทศใหม่ มีรัฐสภาใหม่ นักการเมืองที่ลงเลือกตั้ง ควรให้ความสำคัญในกรณีของหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อที่จะสานต่อ แต่ถ้านักการเมืองไม่เข้าใจ อาจทำให้เกิดการตัดสิทธิ์ของประชาชน หรือ ลดบทบาทประชาชนออกไปไม่ทำตามกฎหมายหรือต้องการเปลี่ยนแปลงกฎหมาย ซึ่งภาคประชาชนขณะนี้ต้องการให้นักการเมืองมีจุดยืนที่จะร่วมกับภาคประชาชนที่เป็นเจ้าของคะแนนเสียงร่วมกันรับฟังปัญหาและนำไปสู่การพัฒนาให้สิทธิ์และการเข้าถึงมากยิ่งขึ้น
นางรัชนีวรรณ ปานธูป ผู้ช่วยอำนวยการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 1 จ.เชียงใหม่ กล่าวว่า ถือเป็นสิ่งที่ดีที่มีเวทีรับฟังความคิดเห็นตามกฎหมาย พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้รับเสียงสะท้อนทั้งผู้ให้บริการและผู้รับบริการ รวมทั้งผู้มีส่วนได้เสียและกลไกสำคัญในท้องถิ่นคือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เข้ามาเกี่ยวข้องในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ นำไปสู่การสังเคราะห์ข้อเสนอแนะต่อการพัฒนาให้การช่วยเหลือด้านสุขภาพประชาชนได้ดียิ่งขึ้น การรับฟังความคิดเห็นพบแง่มุมต่างๆมากมายที่จะนำมาสังเคราะห์หาทิศทางแก้ไข และก็ยังหวังว่า หลังการเลือกตั้งคงจะมีรัฐบาลที่เห็นความสำคัญและให้ความสำคัญกับ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติช่วยกันพัฒนาให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากยิ่งขึ้น เป็นความหวังของเครือข่ายประชาชน

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน