ฐานทำลายทรัพยากรป่าไม้ สิ่งแวดล้อมเสียหายเป็นมูลค่ากว่า 30 ล้านบาท ปล่อยเปิดนานเกือบ 10 ปี เพิ่งรู้สึกว่าทำผิดกฎหมาย
เวลา 10.00 น.วันที่ 9 กรกฎาคม กำลังเจ้าหน้าที่ป่าไม้จากสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ นำโดยนายสมบูรณ์ ธีรบัณฑิตกุล ผอ.สจป.ที่ 3 สาขาแพร่ กรมสอบสวนคดีพิเศษ DSI นำโดย ร้อยเอก กลวิตร บุนนาค ผอ.ศูนย์ปฏิบัติการคดีพิเศษเขตพื้นที่ 1 เจ้าหน้าที่ทหารนำโดย พ.อ.พงษ์เพชร เกษสุภะ หน.ชุดปฏิบัติการ ศปป.4 กอ.รมน. 1 จำนวนกว่า 50 นาย เข้าตรวจยึดพื้นที่ทำเหมืองและอาคารแต่งแร่พร้อมทั้งอาคารสำนักงานของบริษัทเหมืองศศิน จำกัด ตั้งอยู่ที่ ต.ต้าผาม็อก อ.ลอง จ.แพร่ ดำเนินคดีในข้อหาบุกรุกแพ้วถางป่าสงวนแห่งชาติตามมาตรา 14 ตาม พ.ร.บ.ป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2517
ปี 2553 นายกฤษดา กัมปนาถแสนยากร ได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ใช้พื้นที่ทำเหมืองแร่ แต่ปรากฏว่าในปี พ.ศ. 2554 นายมลฑล สุริยาศศิน จากบริษัทเหมืองศศิน จำกัด ได้มาเช่าช่วงต่อจากนายกฤษดา ซึ่งตามกฎหมายนั้นไม่สามารถให้มีการเช่าช่วงสัมปทานต่อได้ การจะทำเหมืองในบริเวณนี้จะต้องมีการขออนุญาตเป็นรายบุคคล เมื่อเจ้าหน้าที่ DSI ตรวจพบได้ทำเรื่องถึงสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 3 สาขาแพร่ จึงมีคำสั่งปิดเหมืองเพื่อตรวจสอบตั้งแต่วันที่ 2 พฤษภาคมที่ผ่านมา การส่งเจ้าหน้าที่เข้าพื้นที่ในวันนี้เป็นการจับกุมดำเนินคดี ทั้งบุคคลผู้กระทำผิดและตรวจยึดเครื่องจักร อาคาร อุปกรณ์ที่เป็นอุปกรณ์การทำผิดทั้งหมด โดยจะส่งให้ตำรวจท้องที่ดำเนินคดีและส่งสำนวนให้กับ DSI เป็นคดีพิเศษต่อไป ซึ่งพบว่าการกระทำผิดดังกล่าวสร้างความเสียหายให้กับพื้นที่ป่าของประเทศจำนวน 400 ไร่ ทำลายสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศอย่างรุนแรง ประมาณการค่าเสียหายมากกว่า 30 ล้านบาท นอกจากนั้น พ.อ.พงษ์เพชร เกษสุภะ หน.ชุดปฏิบัติการ ศปป.4 กอ.รมน. 1 ยังพบว่าเหมืองดังกล่าวสร้างความเดือดร้อนให้กับประชาชนในการใช้ลำห้วยตลอดจนการพังทลายของดินส่งผลกระทบต่อชุมชนอย่างต่อเนื่อง
ข่าวน่าสนใจ:
- สจ.ธรรมชาติ ไม่มาศาลฉะเชิงทรา ส่งสองทนายคู่หูยื่นฟ้องอัจฉริยะแทน
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- บุรีรัมย์ ต๋อง ศิษย์ฉ่อย ชี้ควรเพิ่มหลีกแข่งขันในไทยเชื่อเศรษฐกิจพุ่งแน่นอน (มีคลิป)
- สูงวัยตรัง ปลื้ม เตรียมตัวรับเงินหมื่น ฝันใช้ยามแก่-ต่อยอดอาชีพบั้นปลาย
เหมืองดังกล่าวเป็นเหมืองแร่แบร์ไรท์ มีความถ่วงจำเพาะสูง มักเกิดอยู่กับเงิน ตะกั่ว สังกะสี ทองแดง โคบอลที่เป็นวัตถุดิบไปใช้ในอุตสาหกรรมขุดเจาะน้ำมันและอุตสาหกรรมอื่นๆ เป็นที่ต้องการของตลาด ภาคเหนือพบมากในเขตเชียงใหม่ ลำพูน แม่ฮ่องสอน แพร่ ตาก อุตรดิตถ์ ลำปาง พิจิตร เพชรบูรณ์ ผลผลิตที่ได้ร้อยละ 80 นำมาทำโคลนผง (Drilling mud) ซึ่งใช้ในการเจาะสำรวจน้ำมันหรือน้ำบาดาลใช้ในอุตสาหกรรมทำเม่สีและเนื้อสี อุตสาหกรรมทำแก้ว ทำยาง ผ้าน้ำมัน กระดาษน้ำมัน พรมน้ำมัน และพลาสติก ใช้บดทำยาสำหรับรับประทานก่อนที่จะทำการฉายเอกซเรย์เกี่ยวกับการตรวจกระเพาะ ลำไส้ ใช้ทำ filler ในอุตสาหกรรมต่างๆ ใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนัง ทำแป้งผัดหน้า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า การทำเหมืองแบร์ไรท์ ของบริษัทเหมืองศศิน จำกัด สร้างความเดือดร้อนให้กับชุมชนอย่างต่อเนื่อง สร้างความเสียหายให้กับระบบนิเวศและทำลายทัศนียภาพสิ่งแวดล้อมในบริเวณดังกล่าวอย่างรุนแรง โดยไม่เกรงกลัวต่อกฎหมายบ้านเมือง มีประชาชนเข้าชื่อร้องต่อศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดแพร่มาอย่างต่อเนื่อง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: