ชัยภูมิ – ชาวนา-เกษตรกรชาวเมืองพญาแล ชวนเพื่อนเกษตรกรด้วยกันช่วยลดค่า PM.2.5 งดเผาตอซังข้าวหันมาเก็บฟางอัดแทงไว้เลี้ยงวัวแทน ทั้งเป็นการช่วยลดต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ให้กับตัวเอง และส่วนที่เหลือยังสามารถนำไปขายสร้างรายได้เสริมในช่วงหน้าแล้งได้ดีอีกทางด้วย!
( 22 ม.ค.63 ) ที่จ.ชัยภูมิ หลังในช่วงนี้ที่จะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวข้าวในนาเป็นที่เรียบร้อยในหลายพื้นที่ และจะเป็นช่วงเข้าสู่ฤดูแล้งของทุกปี ที่ชาวนาส่วนใหญ่จะต้องพากันเตรียมปรับพื้นที่นาเพื่อหันไปทำการเพาะปลูกพืชอื่นๆและส่วนใหญ่ที่ผ่านมาในหลายพื้นที่มักจะใช้วิธีเผาตอซังข้าว หรือฟางในนา จนปัจจุบันทำให้เกิดปัญหาสะสมส่งผลกระทบทางด้านมลพิษทางอากาศทำค่า PM.2.5 เกินมาตรฐานตามมาเป็นจำนวนมากทุกปี รวมทั้งเกิดปัญหาไฟลุกลามไปไหม้ป่าพื้นที่ข้างเคียง รวมทั้งไหม้ลามบ้านประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียงเกิดความเสียหายเป็นจำนวนมากบ่อยครั้งทุกปี
ซึ่งในปีนี้ ชาวนา และเกษตรกรส่วนใหญ่ในพื้นที่จ.ชัยภูมิ ก็เริ่มให้ความสำคัญในการที่จะช่วยลดค่า PM.2.5 เกินมาตรฐาน ช่วยกันให้เพิ่มมากขึ้นในทุกพื้นที่ของจ.ชัยภูมิ โดยนายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจ.ชัยภูมิ ได้มีนโยบายให้ทางภาครัฐ เอกชนออกมาช่วยกันรณรงค์การไถกลบแทนการเผาตอซังข้าวกันทุกพื้นที่ให้มากขึ้น
ซึ่งล่าสุดในส่วนของเกษตรกร ชาวนาในพื้นที่จ.ชัยภูมิ อย่างนายบรรพต โทนชัยภูมิ อายุ 48 ปี เกษตรกร ชาวบ้านห้วยไร่ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ ที่ก็ได้ร่วมเปลี่ยนพฤติกรรมการงดเผาตอซังข้าวเพื่ออยากให้ชาวบ้านในพื้นที่ช่วยกันให้ความสำคัญเรื่องนี้กันให้มากขึ้นด้วยเช่นกัน ออกมาเปิดเผยว่า ตนเองเป็นเกษตรกร และทำนาเป็นประจำทุกปี ซึ่งช่วงหน้าฝนก็จะทำนาข้าว และเลี้ยงวัวควบคู่ไปพร้อมกัน ช่วงหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น ข้าว ตนเองก็รีบจ้างรถมาเก็บเกี่ยวฟางข้าว โดยจ้างรถมามัด ก้อนละ 17 บาท เพื่อรวบรวมขนไปเก็บไว้ที่บ้าน
เนื่องจากหากทิ้งไว้กลางทุ่งนานานอาจจะสูญหาย หรือเกิดไฟไหม้ลุกลามมากจากที่อื่นได้ ซึ่งส่วนหนึ่งก็ได้เก็บไว้เลี้ยงวัวของตนเองที่เลี้ยงไว้กว่า 50 ตัว โดยการใช้ฟางข้าวเก็บไว้เป็นอาหารให้วัวในฤดูแล้งที่มักจะขาดแคลนและมีราคาสูงทุกปี เนื่องจากไม่มีหญ้าให้วัวกิน จึงหันมาใช้วิธีงดเผาตอซังข้าว ซึ่งก็เป็นการช่วยลดทั้งปัญหาค่ามลพิษทางอากาศ PM.2.5 ได้เป็นอย่างดี และส่วนที่เหลือของฟางยังนำไปช่วยประกอบอาชีพเลี้ยงวัว ที่ในช่วงหน้าแล้งได้เป็นอย่างดี รวมทั้งในส่วนที่เหลือก็ยังสามรถขายสร้างรายได้เสริมในช่วงหน้าแล้งได้ดีอีกทาง ในราคากว่าก้อนละ 30-40 บาทเลยทีเดียว
ซึ่งในปัจจุบันเองก็อยากให้ชาวบ้านได้หันมาเก็บฟางข้าว งดเผาตอซังและมาเก็บฟางไว้เลี้ยงสัตว์ และที่สำคัญฟางข้าว ในนาของตนเอง ยังปลอดสารพิษ จึงทำให้วัวที่กินฟางข้าวโตเร็ว ประหยัดค่าใช้จ่ายที่จะต้องไปซื้อหญ้า หรืออาหารอื่นให้วัวที่เลี้ยงไว้ ถือเป็นการทำการเกษตรที่มีความสุขและมีรายได้ในช่วงฤดูแล้ง และที่สำคัญช่วยกันรณรงค์ลดการเผา ช่วยลดละอองหมอกคัวน ที่ประเทศไทยกำลังได้รับผลกระทบอยู่ในปัจจุบันนี้ได้อีกด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: