ชัยภูมิ – “ทุกวันนี้กองทุน กยศ.นี้ตั้งขึ้นมาทำเพื่ออะไร “เด็กทุกคนที่กู้ยืมไปผมเชื่อว่าไม่มีใครอยากเบี้ยวหนี้ เพราะเขาไม่มีถึงไปกู้มาเรียนเพื่อหวังที่ตัวเองจะได้จบสูงๆมีงานทำที่มั่นคงดีช่วยเหลือสังคมครอบครัว แต่เมื่อเขาตกงานไม่มีรายได้ เขาจะทำอย่างไรเพิ่มต่อไปได้บ้าง เมื่อทุกคนก็มีความหวังที่จะส่งเสริมเด็กไทยไปให้ถึงฝั่งฝัน ไม่ใช่จะมุ่งหวังผลกำไรกลับมาให้ได้ด้านเดียว ปัญหาก็ยังเกิดอีกต่อไปไม่จบสิ้น เรื่องของครูวิภา ครูหมี และครูคนอื่นๆที่ถูกเด็กหนี้เบี้ยว กยศ.ก็ยังจะมีให้เห็นซ้ำรอยกลับตามมาอีกไม่จบสิ้นอีก”!
(รายงานพิเศษพลิกวิกฤตเป็นโอกาสผ่าทางตันแก้วิกฤตเด็กเบี้ยวหนี้กยศ.ไทย!)
( 31 ก.ค.61 ) ขณะที่จ.ชัยภูมิ หลังเกิดกรณีครูวิภา ที่ถูกลูกศิษย์จำนวนมากกว่า 40 รายเบี้ยวหนี้กองทุนกู้ยืมเพื่อการศึกษา กยศ.จนถูกยึดบ้านและเป็นหนี้สินแทนเด็กนักเรียนตามมาอีกจำนวนมากนั้น และต่อมาได้มีคุณครูที่จ.ชัยภูมิ หรือครูหมี หรือนายสรพงศ์ เค้ากล้า ปัจจุบันอายุกว่า 58 ปี ซึ่งเหลืออายุราชการในบั่นปลายชีวิตราชการอีกเหลือเพียง 1 ปีเศษ ครูโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม อ.เมือง จ.ชัยภูมิ (สังกัด อบจ.ชัยภูมิ) ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คตัวเองเมื่อวันที่ 26 ก.ค.61 ที่ผ่านมา ว่า ขอร้องลูกศิย์ที่เบี้ยวหนี้ กยศ. ขอให้รีบไปติดต่อใช้หนี้ที่ครูหมีเอง เคยเป็นคนค้ำประกันให้ที่มีทั้งหมดจำนวนกว่า 40 ราย มาตั้งแต่ช่วงปี 2539-2548 ที่ผ่านมา รวมกว่า 4 ล้านบาท ที่เฉลี่ยต่อรายมูลค่ากว่ารายละ 200,000 – 380,000 บาท
ซึ่งปัจจุบันครูหมี เองก็มีอาการเจ็บป่วยหลายโรครุมเร้ามาตลอดช่วงกว่า 2-3 ปีที่ผ่านมา จนแทบจะไม่มีเงินมารักษาตัวเองได้ เพราะส่วนต่างที่จะต้องจ่ายหาเงินมาซื้อยากินเองและเบิกจากทางราชการไม่ได้ก็รวมจำนวนมากกว่าเกือบ 10,000 บาทต่อเดือน และขอร้องลูกศิษย์ที่ครูหมีเองเคยค้ำ กยศ.ให้ อย่าต้องทำให้ครูลำบากในปั่นปลายชีวิตหลังที่ใกล้จะเกษียณราชการในอีกกว่าปีเศษนี้ ด้วยเพราะหากลูกศิษย์ไม่มาจ่าย ทั้งบ้านพักครูที่ซื้อไว้หลังเดียวที่เหลือ และเงินก้อนที่จะได้หลังเกษียณราชการครั้งนี้ก็จะไม่มีอะไรเหลือติดตัวที่หวังจะเก็บไว้ใช้เป็นทุนติดตัวใช้รักษาตัวเองได้อีกต่อไปได้
เพราะตลอดที่ผ่านมามีลูกศิษย์ที่ครูหมีค้ำให้รวม 40 คน เกิดปัญหารวม 17 ราย ไม่ไปจ่ายหนี้ทำให้ครูหมีต้องโดนหมายศาลบังคับคดีจาก กยศ. ให้ไปศาลมาตลอดช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จนล่าสุดเมื่อวันที่ 30 พ.ค.2561 นี้ ซึ่งหลังได้มีการโพสข้อความผ่านเฟสบุ๊คของตัวเองไปถึงลูกศิษย์ครั้งนี้เกิดขึ้นและได้มีลูกศษย์ที่รักครูหมีช่วยติดต่อกลุ่มลูกศิษย์ที่ยังไม่มาจ่ายหนี้ครั้งนี้นั้นได้ทั้งหมดแล้ว
โดยล่าสุด ครูหมี หรือนายสรพงศ์ เค้ากล้า ครูโรงเรียนห้วยต้อนพิทยาคม อยู่ที่จ.ชัยภูมิ รายนี้ ได้ออกมาเปิดใจว่า ล่าสุดเองได้ติดต่อลูกศิษย์ที่เกิดปัญหาไม่ยอมไปจ่ายหนี้ กยศ. ที่จากทั้งหมด รวม 40 คน เหลือ 17 คน ที่ขณะนี้ทางลูกศิษย์เองทั้งหมด 15 คน ได้ติดต่อมาเพื่อที่จะนำเงินไปจ่ายหนี้ กยศ.แล้ว เพราะที่ผ่านมาเกิดปัญหาหลังยืมเงินเรียนจนจบในระดับ ปริญญาตรีไปแล้ว ได้ไปทำงานที่มีอาชีพไม่ต่อเนื่องมีสัญญาปีต่อปีบ้าง จึงขาดส่งเป็นช่วงๆเท่านั้น และจากนี้ไปทุกคนเริ่มมีอาชีพที่มั่นคงขึ้นแล้ว ก็จะทำตามสัญญาที่จะจ่ายเงินกู้ให้กับ กยศ.ได้แล้ว
และยังเหลืออีกเพียง 2 คน ที่ถือว่าครูหมีเอง ก็เห็นใจเด็กลูกศิษย์ทั้ง 2 คนนี้ด้วย เพราะปัจจุบันเรียนจบไปแล้วไม่มีงานทำแน่นอน ตกงานมากว่า 2 ปี และยังมีปัญหาครอบครัว พ่อแม่เสียชีวิต และไปมีครอบครัวก็ต้องแตกแยกทางกัน ต้องมีภาระเลี้ยงลูกติดวัยเพิ่งได้ 2 ขวบอีก 1 คน
“จนมาถึงวันนี้ศิษย์ 2 รายนี้ไม่สามารถหาเงินมาจ่ายหนี้ กยศ.ตามกำหนดได้ ซึ่งจากปัญหากรณีการเบี้ยวหนี้ กยศ.โดยรวมแล้ว ครั้งนี้ ครูหมีไม่อยากให้สังคมไปโทษเด็ก หรือลูกศิษย์ เลย เพราะที่ผ่านมาปัญหาที่อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ กยศ.หน่วยงานโดยตรงที่รับผิดชอบ ได้ช่วยกันรับฟังปัญหาช่วยกันรับไปแก้ไขต่อไปในเบื้องลึกจากใจของตนเอง ในฐานะครู เรือจ้างที่ทั้งชีวิตครูที่ผ่านมายังมีความหวังว่าแม้เด็กจะจบออกไปแล้ว แต่เข้ายังไม่ถึงฝัง นั้น”
คือ ปัญหาเด็กทุกคนที่กู้ กยศ.ไป ไม่มีใครอยากเบี้ยวหนี้เลย อย่างกรณี ของครูหมี ครั้งนี้หลังได้ติดต่อกับเด็กทั้ง 40 ราย ส่วนใหญ่คนที่จบไปมีงานทำมั่นคงก็โทรมาบอกขอบคุณครู ผมมีงานทำดีแล้ว ได้ไปต่างประเทศอะไรบ้างๆต่างนานๆ ก็ส่งเงินไปจ่ายให้กยศ.ตัดยอดหมดแล้ว กว่า 380,000 บาท เรียบร้อยหมดแล้ว หลายราย แต่ส่วนปัญหาที่เด็กยังไม่จ่ายเพราะเด็กจบไปแล้วไม่มีงานทำ ไม่สามารถมีอาชีพรองรับต่อไปได้ แล้วจะหาเงินที่ไหนมาจ่ายหนี้ได้ เรื่องนี้อยากให้ทุกฝ่ายช่วยกันติดตามประเมินผล ที่การศึกษาไทย ณ วันนี้ทุกฝ่ายต้องออกมาช่วยกันส่งเสริมเด็กที่จบไปแล้วให้มีการงานมั่นคงขึ้น ที่ต้องช่วยเด็กให้ถึงฝั่ง กลไกของคำว่า ส่งเด็กนักเรียนให้ถึงฝั่งนั้น ในอาชีพครูเอง มองว่า
แล้วจากนี้ไปปัญหาเด็กเบี้ยวหนี้ กยศ.ที่ยังเป็นวิกฤตนี้อยู่ จะทำอย่างไร เพราะต่อไปยังเชื่อว่าจะต้องมีกรณีของครูวิภา ครูหมี อีกไม่จบสิ้นอีก หากเด็กกู้ยืมเรียนไปแล้ว ไม่มีอาชีพงานทำจนสามารถนำเงินมาส่งคืนได้ ก็จะกระทบต่อเด็กรุ่นต่อไปๆไม่หยุดอีก
ซึ่งแนวทางที่อยากฝากไปถึง กยศ.โดยตรงในครั้งนี้ กรณีที่เด็กทั้ง 2 รายของตนเองที่ไม่มีอาชีพขณะนี้และไม่สามารถหาเงินมาส่งได้ จุดนี้ทางภาครัฐ กระทรวงศึกษา เอง ควรจะมีแนวทางคัดกรองแนวทางลงมาช่วยเหลือ ไม่ใช่ทาง กยศ.จะเน้นลงมาใช้กฎหมายบังคับด้านเดียว ใครไม่ส่งก็ใช้ฝ่ายทนาย ฝ่ายกฎหมาย ตรงนี้ที่ก็ใช้งบประมาณลงไปจำนวนมากด้วยเช่นกัน เพื่อมาบังคับทันที อย่างกรณีครูวิภา กรณีของลูกศิษย์ 1 ราย ตกงานขาดส่ง จากเคยส่ง เดือนละ 1,800 บาท/เดือน วงเงินเหลือกว่า 180,000 บาท พอมาถูกสำนักงานกฎหมายที่รู้ดีว่ามีการใช้งบจากทนายไปดำเนินการ ก็บังคับใช้กฏหมายฟ้องร้องปรับให้มียอดส่งเพื่มขึ้นทันทีเป็นเดือนละ กว่า 3,800 บาท วงหนี้เงินต้นและดอกเบี้ยก็เพิ่มหนักไปอีกกว่า 300,000 บาท
แล้วกลับมาถามเด็กว่าจะมีเงินมาจ่ายได้ไหม เพราะตกงานไม่มีรายได้ขณะนี้ มาตรการที่อยากให้ กยศ.มีเข้ามาเพิ่ม เป็นไปได้ไหมว่า หากเด็กที่กู้เรียนจบไปแล้ว ไม่มีงาน ไม่มีรายได้สม่ำเสมอ แน่นอนเกิดผลกระทบทางอาชีพตามมา จุดนี้เปิดโอกาสให้เด็กได้ไปแจ้ง กับ จนท.กยศ.น่าจะมีหน่วยจนท.โดยตรง เข้ามาช่วยเพิ่มผ่าวกฤตจุดนี้ เพื่อเปิดช่วยเป็นเวทีไล่เกลี่ย ขอผ่อนพักชำระหนีตามสมควร อย่างตกงานจากเดิมได้งานสัญญาปีต่อปี แต่ต่อมาตกงานถูกเลิกจ้าง ไปหารับจ้างมีรายได้ที่น้อยลง ให้มีจุดที่เด็กจะไปประสานพูดคุยขอความช่วยเหลือจาก กยศ.ว่า จากเดิมที่ต้องส่งเดือนละ 2,000-3,000 บาท ได้งานใหม่มีรายได้น้อยลงขอส่งน้อยลงอาจะเป็น 1,000-2,000 บาท ได้ไหมระหว่างรอหางานใหม่ที่ดีขึ้น และไม่มีเจตนาที่จะเบี้ยวหนี้แต่อย่างใดเลย
จุดนี้ต่างหาก ที่จะทำให้เด็กที่เกิดภาระปัญหาไม่มีความพร้อมไม่มีงานที่มั่นคงลดลงและไปหาเงินมาใช้หนี้ตามกำหนดได้ ต้องหนี้หายออกไปจากระบบไม่ติดต่อกลับมาอีกเลยและก็มากระทบต่อผู้ค้ำประกันตามมาอีกไม่จบสิ้น ที่ต้องขอความเห็นใจแทนเด็กนักเรียนทุกคนที่กู้ กยศ.ด้วย เพราะเขามีความหวังว่าอยากเรียนจบสูงๆเพื่อพอจะได้มีการงานที่ดี เพราะเข้าไม่มีเงินทุนเรียนเขาถึงกู้ และไม่มีใครอยากเบี้ยวหนี้แน่นอนถ้าเขามีเงินมีงานทำที่ดีพอ
“น่าจะมีจนท.ส่วนที่เข้ามาช่วยเสริมในจุดนี้เพิ่ม ไม่ใช่จ้างแต่ฝ่ายกฏหมายดำเนินการด้านเดียวเหมือนในปัจจุบัน แล้วจะเรียกว่าส่งเด็กให้ถึงฝั่งได้อย่างไร ความหมายของ กยศ.เอง ก็ต้องมีคุณภาพดำเนินการส่งเสริมเด็กที่ขาดแคลนทุนให้เป็นไปในเป้าหมาย การดำเนินการกองทุนที่น่าจะเกิดประโยชน์ต่อเด็กไทยโดยรวมในขณะนี้ ที่ด้อยโอกาสได้มากขึ้นอย่างแท้จริงต่อไป ครูหมี ขอกล่าววอนฝากทิ้งทายไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดย เฉพาะ กยศ.ช่วยรับไปพิจารณาเพิ่มเติมในครั้งนี้ด้วย ที่น่าจะช่วยพลิกวิกฤตเป็นโอกาสของการแก้ปัญหาหนี้ กยศ.อย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคตได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: