ชัยภูมิ – หลากองค์กรรวมใจเดินหน้าเปิดเวทีบูรณาการร่วมแก้ปัญหาเด็กเยาวชนด้อยโอกาสทางการศึกษา หลังพบมีตัวเลขสูงกว่า 20,000 ราย ยังเข้าไม่ถึง!
( 20 ธ.ค.63 ) ที่ จ.ชัยภูมิ เมื่อช่วงวันที่ 18-19 ธ.ค.63 ผศ.ดร.ประมุข ศรีชัยวงษ์ รองอธิการมหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ และผศ.ดร.เดือนเพ็ญพร ชัยภักดี หัวหน้าโครงการศูนย์ประสานงานการวิจัยและพัฒนาเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาจังหวัดชัยภูมิ (กสศ.) พร้อมด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นต่างๆที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าทั้งจากบ้านพักเด็กและครอบครัวจังหวัดชัยภูมิ พัฒนาสังคมและความมั่นคงของจังหวัดชัยภูมิ สาธารณสุข โรงพยาบาล ผู้นำท้องถิ่น อสม. คนในชุมชน ภาคเอกชน สมาคมคนพิการจังหวัดชัยภูมิ ชมรมผู้ปกครองเด็กพิการและออทิสติกฯ ร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ มูลนิธิธรรมดี ได้ดี และเครือข่ายองค์กรสื่อมวลชนสมาคมนักข่าวจังหวัดชัยภูมิ เปิดเวทีการบูรณาการร่วมกันดำเนินโครงการ” ตามหาน้องในซอกหลืบ แสงส่องใจปลอดภัยจาก โควิด -19 เพื่อตามหาเด็กเยาวชนน้อง ๆ ที่ด้อยโอกาสทางการศึกษา ที่หลุดออกจากระบบการศึกษาเพื่อยืนยันตัวตนในเบื้องต้นได้รวมกว่า 1,000 คน
ให้ได้กลับเข้ามาสู่ระบบทางการศึกษาลดความเหลือมล้ำในสังคมให้เกิดความไม่ทั่วถึงให้มากขึ้น ซึ่งยังพบว่าสถานการณ์ล่าสุดยังพบมีตัวเลขในกลุ่มเด็กและเยาวชนที่ด้อยโอกาสในด้านนี้อีกรวมกระจายอยู่ทั่วทั้งจังหวัดชัยภูมิ รวมอีกมากกว่า 20,500 คน
ซึ่งในเวทีครั้งนี้ได้ดำเนินการนำร่องเพื่อให้เกิดแนวทางพัฒนาลดความเหลือมล้ำในกลุ่มตามหาน้องในซอกหลืบในครั้งนี้ได้เบื้องต้นจำนวน 1,000 คน ในกลุ่มการให้เกิดเครือข่ายครูนอกระบบการศึกษา ลงไปช่วยเหลือจำนวน 100 คน จากตัวแทนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในครั้งนี้ ด้วยวิธีการคัดกรองยืนยันตัวตนข้อมูลทางกายภาพ จัดเก็บข้อมูล ข้อเท็จจริงที่จะต้องหาแนวทางช่วยเหลือต่อไปในอนาคตให้เกิดความต่อเนื่องการติดตามประเมินผลอย่างต่อเนื่องให้เกิดเป็นรูปธรรมมากขึ้น
ขณะที่ด้าน ผศ.ดร.ประมุข ศรีชัยวงษ์ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฎชัยภูมิ กล่าวว่า แนวทางในการที่จะให้เกิดความยั่งยืนและการแก้ไขปัญหาเด็กด้อยโอกาสทางการศึกษาในครั้งนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมให้มากขึ้น โดยเฉพาะตัวเลขในปัจจุบันปัญหาเด็กเยาวชนด้อยโอกาสทางการศึกษาในพื้นที่ทั้งจังหวัดชัยภูมิที่พบอีกในปัจจุบันมีอีกกว่า 20,500 คนเศษ ที่ยังเข้าไม่ถึง ซึ่งปัญหาดังกล่าวเกิดจากหลายองค์ประกอบ ทางภาวะสังคมไม่เท่ากัน ทั้งภาวะครอบครัวที่เด็กแต่ละคนมีไม่เหมือนกัน
“บางคนมีผู้นำ ขาดผู้นำครอบครัว ภาวะรายได้รายจ่าย ความพร้อมต่างๆ ที่จะต้องลงลึกเข้าไปช่วยกันแก้ปัญหา ที่จะต้องประสานงานการมีส่วนร่วมในทุกระดับทั้งผู้นำชุมชน ท้องถิ่น อปท. ที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนในแต่ละพื้นที่โดยตรง บางรายเด็กไม่มีความพร้อม กลไกลหลักองค์กรท้องถิ่น จะมีบทบาทที่จะต้องลงมาช่วยเหลือ ไม่ว่าเด็กจะพิการ หรือเป็นผุ้ป่วย แต่ก็ยังมีส่วนที่เขายังสามารถได้มีโอกาสเรียนและมีการนำไปสู่ขบวนการสร้างเสริมอาชีพ เพื่อได้กลับเข้ามายืนด้วยตัวเองได้ และช่วยเหลือสังคม และครอบครัวได้ และไม่เป็นภาระของสังคมได้อย่างยั่งยืนเพิ่มมากขึ้นในอนาคตต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: