ชัยภูมิ – แล้ว 12 รายจากปี 64 ทั้งปีมีเพียง 32 ราย คาดมีแนวโน้มสูงขึ้นไม่น้อยกว่า 900 รายในปีนี้ หาก ปชช.ในทุกพื้นที่ไม่เร่งช่วยกันจำกัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย ส่อซ้ำเดิมสถานการณ์โควิด-19 ยังระบาดสูงป่วยเสียชีวิตเพิ่มขึ้นเป็นรายวันยังสูงกว่า 1,000 ราย!
(26 พ.ค.65) ขณะที่ จ.ชัยภูมิ สถานการณ์การระบาดโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มสูงเพิ่มขึ้นอีกต่อเนื่องไม่แพ้โควิด-19 เช่นกัน ซึ่ง นายแพทย์วชิระ บถพิบูลย์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ ออกมาเปิดเผยเร่งแจ้งเตือนประชาชนในพื้นที่ หลังจากในปีนี้ 2565 (ปีเสือ หรือ ปีขาล)ที่เข้าฤดูฝน เริ่มพบมีการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกสูงกว่าปี 2564 ทีผ่านมา
เมื่อเทียบจากตลอดทั้งปี 2564 ทีผ่านมา พบผู้ป่วยไข้เลือดออกทั้งปีเพียง 32 คน/ราย ในขณะที่ปี 2565 เริ่มพบผู้ป่วยไข้เลือดออกมาตั้งแต่เริ่มมีฝนตกเข้าสู่ฤดูฝนมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมายังไม่ถึงเดือนจนถึงวันที่ 25 พฤษภาคม 2565 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกแล้ว 12 ราย สูงเป็นอันดับ 3 ในเขตบริการสุขภาพที่ 9 หรือ เขตนครชัยบุรินทร์
และพบพื้นที่มีการแพร่ระบาดหนักสุด มีผู้ป่วยสูงสุดคืออำเภอจัตุรัส 9 ราย ในกลุ่มอายุที่พบสูงสุดยังเป็นกลุ่มเด็กเยาวชน คือ กลุ่มอายุ 5-9 ปี รองลงมาคือ 10 – 14 ปี แต่ยังไม่มีผู้ป่วยเสียชีวิต
ข่าวน่าสนใจ:
ซึ่งจากการติดตามพบว่ามีการแพร่ระบาดสูงมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นการซ้ำเติมการแพร่ระบาดโควิด – 19 อยู่ในในช่วงนี้ไม่แพ้กัน ซึ่งช่วงนี้อยากให้ประชาชนทุกพื้นที่ช่วยกันป้องกัน เฝ้าระวังกลุ่มเสี่ยง เด็ก ลูกหลานอยู่บ้านอย่าให้ถูกยุงกัด และต้องเร่งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และที่น่าเป็นห่วงมากในปัจจุบัน พบว่ายุงลายมีการเปลี่ยนพฤติกรรมการออกหากินได้ทั้งตอนกลางวัน และกลางคืน จึงทำให้ประชาชนในพื้นที่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายมีแนวโน้มมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น
ซึ่ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ ยังบอกอีกว่า ผู้ป่วยไข้เลือดออกปีนี้ มีแนวโน้มการระบาดอย่างต่อเนื่อง ค่าพยากรณ์ผู้ป่วยโรคไขเลือดออก คาดว่าในปี 2565 จ.ชัยภูมิ จะมีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกไม่น้อยกว่า 900 รายขึ้นไป หากประชาชนทุกคนไม่เร่งช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายช่วยกันให้มากขึ้น
โดยในสัปดาห์นี้ทางจังหวัดชัยภูมิได้เร่งรณรงค์ ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย เพื่อเร่งป้องกันไข้เลือดออก ไข้ปวดข้อยุงลาย และไข้ซิกา ใน 1,645 หมู่บ้าน ทั้ง จ.ชัยภูมิ ออกฉีดพ้นหมอกควันกำจัดยุงลายในทุกพื้นที่ และทุกคนต้องร่วมมือกันกำจัดแหล่งแพร่ระบาดของลูกน้ำยุงลาย ร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง เพื่อไม่ให้มีน้ำขังตามกะโหลกกะลา เพื่อตัดวงจรการขยายพันธ์ของยุงลายพาหะนำโรค ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกได้เป็นหลักหากประชาชนเพิกเฉยก็ยิ่งจะทำให้สถานการณ์โรคไข้เลือดออกมาซ้ำเติมสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีผู้ป่วยเสียชีวิต เจ็บป่วยตามมาอยู่ในขณะนี้ยังสูงจำนวนมากต่อวันกว่า 1,000 ราย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: