ชัยภูมิ – จับปลาขายสร้างรายได้งามกว่าวันละ 1 พันบาท!
( 12 ต.ค.65 ) ขณะที่ จ.ชัยภูมิ สถานการณ์น้ำท่วมรอยต่อจุดรับน้ำชีหลาก ซึ่ง จ.ชัยภูมิ เป็นต้นกำเนิดแม่น้ำชี หลังน้ำท่วมในหลายพื้นที่ภายใน จ.ชัยภูมิ เข้าสู่ภาวะปกติ และในช่วงฤดูฝนของทุกปี ในพื้นที่ ต.โนนสะอาด อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ จะเป็นจุดรับท้ายน้ำสุดท้ายของจังหวัดที่จะไหลผ่านต่อไปยังพื้นที่ใกล้เคียง ที่ จ.ขอนแก่นและเชื่อมไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสานอีกหลายจังหวัดในขณะนี้ ซึ่งระดับน้ำในลำแม่น้ำชี ที่เขต อ.คอนสวรรค์ ยังคงไหลหลากเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร บ้านเรือนประชาชน และถนนเส้นทางเข้าออกหมู่บ้าน ได้รับความเสียหายจำนวนมากซ้ำซากทุกปี
รวมทั้งในตลอดช่วงติดต่อกัน 2 ปีที่ผ่านมา และในปี 2565 นี้ก็เกิดปัญหาน้ำท่วมใหญ่ซ้ำหนักสุดติดต่อกันในรอบกว่า 50 ปี ที่ชาวบ้านในพื้นที่จุดสุดท้ายรอยต่อรับน้ำชีหลากที่ อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ ก็ได้แต่ทำใจว่าทิศทางการป้องกันและแก้ไขน้ำท่วมซ้ำซาก และการผลักดันน้ำชีให้ไหลผ่านไปขณะนี้ไม่มีที่กักเก็บไว้ได้ต่อจากนี้ไปของทุกปี จ.ชัยภูมิ ที่คาดว่าอีกไม่เกินสัปดาห์น้ำท่วมในพื้นที่ก็จะกลับเข้าสู่ภาวะปกติได้ และต่อจากนี้ไปก็จะเกิดปัญหาน้ำแล้งในพื้นที่จากนี้ไปซ้ำอีก และยังไม่มีแนวทางการบริหารจัดการน้ำในพื้นที่ต้นแม่น้ำชีของชาวชัยภูมิ ออกมาช่วยป้องกันแก้ไขจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ชัดเจนจากนี้ไปได้เสียทีในขณะนี้ได้
ข่าวน่าสนใจ:
- ชาวบ้านรอเก้อ นางเอกดังหายจากขบวนแห่หลวงพ่อโสธรกลางทาง
- WDC เสริมกำลังตลาดภาคใต้ ทุ่มงบ 20 ล้านบาท ขยายโชว์รูมแห่งที่ 9 จ.สุราษฎร์ธานี ลุยสินค้ารักษ์โลก พร้อมเปิดตัว Friends of Brand ปี 2568
- ชื่นชม! หญิงพบสร้อยทองคืนเจ้าของ อำเภอเตรียมประกาศเป็นบุคคลตัวอย่าง
- สุดยิ่งใหญ่ชาวชัยภูมิทำพิธีประวัติศาสตร์ครั้งยิ่งใหญ่สุดรอบ 198 ปีตั้งแต่ตั้งเมืองชัยภูมิมา!
สิ่งที่ชาวบ้านที่นี่ ที่ถือว่า จ.ชัยภูมิ เป็นจังหวัดที่เป็นแหล่งต้นกำเนิดแม่น้ำชี จะต้องอยู่และสู้กับปัญหาน้ำท่วม น้ำแล้ง ก็ยังหนีไม่พ้นซ้ำซากทุกปี และสิ่งที่ชาวบ้านที่นี่ต้องอยู่กับสถานการณ์น้ำท่วมให้ได้ ทั้งการออกไปประกอบอาชีพหารายได้ไม่ได้ และต้องว่างงาน ชาวบ้านใกล้ลุ่มน้ำชี ต.โนนสะอาด และชาว อ.คอนสวรรค์ จ.ชัยภูมิ ได้พลิกวิกฤตเป็นโอกาสให้ตัวเองได้บ้างด้วยการออกหาปลาใช้อุปกรณ์ที่มีตามภูมิปัญญาของชาวบ้านที่นี่มาแต่โบราณ ทั้งการใช้สะดุ้ง ยกยอ และแห ออกไปหาจับปลาที่ไหลมากับน้ำหลาก
ซึ่งชาวบ้านแต่ละคนต่างก็ไม่ผิดหวัง ในวิกฤตยังมีโอกาสให้มีปลาหลากหลายชนิดได้จับไปประกอบอาหารในครอบครัวเลี้ยงชีพ และเหลือก็นำไปขายพอสร้างรายได้บ้างในขณะนี้ ซึ่งบางคนได้ปริมาณมากก็ให้ลูกหลานมาช่วยกันขอด เกล็ดปลาแล้วนำมาหมักกับเกลือทำปลาร้าเก็บไว้กินได้ตลอดทั้งปี
บางครอบครัวได้ปลาสดจำนวนมาก มีทั้งปลาซิว ปลาสร้อย และอื่นๆ ที่มีขนาดพอเหมาะถอดเกล็ดแล้วนำไปส่งขายให้โรงงานทำปลาร้าในราคากิโลกรัมละ 20 บาท แต่ละวันชาวบ้านที่นี่ก็ยังพอมีรายได้งามจากออกไปหาปลาน้ำหลากท่วมในขณะนี้ในแต่ละวันสามารถสร้างรายได้สูงกว่าวันละ 500-1,000 บาท/วัน แล้วแต่วันไหนจะจับปลามาได้มากน้อย ในช่วงน้ำหลากเข้าท่วมในพื้นที่ ก็เป็นอีกวิถีชีวิตที่ยังมีภูมิปัญญาท้องถิ่นของชาวบ้านสืบทอดต่อกันมาแต่โบราณที่ยังพอพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสให้กับตัวเองและครอบครัวได้บ้างในช่วงฤดูน้ำหลากในปีนี้ได้อีกทาง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: