ชัยภูมิ – ขายเสียงปฏิรูปการเมืองสุจริตบนพื้นฐานการเลือกตั้งสมานฉันท์ ผู้ว่าฯเผยยังไม่มีปัญหาการ้องเรียนสั่งเข้มทุกพื้นที่ จนท.รัฐต้องวางตัวเป็นกลาง!
เมื่อเวลา 10.30 น.วันที่ 10 เม.ย.66 นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ พร้อมด้วย เรือเอก ไตรสรณ์ ผาสุก ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดชัยภูมิ ( ผอ.กกต.ชัยภูมิ) เปิดเวทีจัดโครงการปฏิรูปการเมืองสุจริตบนพื้นฐานการเลือกตั้ง เพื่อแจ้งแนวทางความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับระเบียบข้อปฏิบัติตามกฏหมายเลือกตั้ง ก่อนที่จะนำผู้สมัคร ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ที่มีทั้งหมด รวมทั้งสิ้น 73 คน ที่จะสามารถเลือกตั้งให้มี ส.ส.แบบแบ่งเขตเลือกตั้งที่ จ.ชัยภูมิ ในวันเลือกตั้งที่ 14 พ.ค.2566 นี้ได้ เพียง 7 คน หรือ 7 ที่นั่ง ส.ส.ใน 7 เขตเลือกตั้ง ที่จากเดิมมี 6 เขตเลือกตั้ง มี ส.ส.เดิมได้ 6 คน แชมป์เก่าเป็นของพรรคเพื่อไทย 4 ที่นั่ง พรรคพลังประชารัฐ 2 ที่นั่ง เมื่อการเลือกตั้งปี 2562 ที่ผ่านมา และการเลือกตั้งครั้งนี้ในปี 66 มีการปรับเขตเลือกตั้งเพิ่มขึ้นเป็น 7 เขตเลือกตั้ง มีประชากรจำนวนผู้ใช้สิทธิ์ได้จากประชากรรวมทั้งจังหวัดใน 16 อำเภอ กว่า 1.1 ล้านคน มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งครั้งนี้รวมสูงกว่า 905,966 คน
เพื่อให้ผู้สมัคร ส.ส.ในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ในครั้งนี้ทั้งหมดได้ร่วมกันยืนปฏิญาณตนให้การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นไปตามหลักกฏหมาย หลักคุณธรรม ไม่ซื้อสิทธิ์ขายเสียง ร่วมกันปฏิรูปการเมืองสุจริตบนพื้นฐานการเลือกตั้งสมานฉันท์ รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย และปฏิบัติตนให้ถูกต้องเกี่ยวกับระเบียบข้อปฏิบัติตามกฎหมายเลือกตั้งกำหนด
ข่าวน่าสนใจ:
ขณะที่ด้าน นายโสภณ สุวรรณรัตน์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ กล่าวขอเชิญชวนประชาชนในพื้นที่ออกมาใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งนี้กันให้มากๆ รวมทั้งเปิดเผยว่า ในส่วนบรรยากาศการเลือกตั้งในขณะนี้ยังไม่พบการกระทำผิดกฏหมาย และไม่พบการร้องเรียนว่ามีการกระทำผิดกฎมายใดๆ โดยเฉพาะวางตัวไม่เป็นกลางของเจ้าหน้าที่รัฐยังไม่พบมีการร้องเรียนแต่อย่างใด แต่ก็ได้สั่งให้ทุกพื้นที่บุคคลที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐ รวมทั้งกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งก็เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ขอให้วางตัวเป็นกลางไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับการวางตัวไม่เป็นกลางในการเลือกตั้งครั้งนี้โดยเด็ดขาด
ซึ่ง จ.ชัยภูมิมีผู้สมัคร ส.ส.ในพื้นที่ ทั้ง 7 เขตเลือกตั้ง ในขณะนี้ที่เหลือเวลาอีกเดือนเศษ ที่จะถึงวันเข้าคูหาเลือกตั้งในวันที่ 14 พ.ค.66 นี้ ประกอบด้วย
ในเขตเลือกตั้งที่ 1 มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 130,061 คน หมายเลข 1 นายโอชิษฐ์ เกียรติก้องชูชัย พรรคเพื่อไทย หมายเลข 2 นายอนุชา เจริญรักษ์ พรรครวมแผ่นดิน หมายเลข 3 นางจิตราภรณ์ กล้าแท้ พรรคพลังประชารัฐ หมายเลข 4 นางอัมพร โชคนวกุล พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 5 นายอาวุธ ปะเมโท พรรครวมไทยสร้างชาติ หมายเลข 6 นายอนันต์ ครองศิลป์ พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 7 นางสาวนัฏฐิกา โล่ห์วีระ พรรคก้าวไกล หมายเลข 8 นายวันชัย ลือมงคล พรรคเสรีรวมไทย หมายเลข 9 นายทศ ตาดชัย พรรคไทยภักดี และหมายเลข 10 นายศิริศักดิ์ ธงทอง พรรคคลองไทย
ในเขตเลือกตั้งที่ 2 มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 134,757 คน หมายเลข 1 นายทัศนีย์ สุขประสาน พรรคก้าวไกล หมายเลข 2 นายณรงค์ แขนอก พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 3 นางสาววาสนา อยู่ภักดี พรรคไทยสร้างไทย หมายเลข 4 นางสาวสุนทรี ชัยวิรัตนะ พรรคพลังประชารัฐ หมายเลข 5 นายโสโชค สู้โนนตาด พรรครวมไทยสร้างชาติ หมายเลข 6 นายเชิงชาย ชาลีรินทร์ พรรคเพื่อไทย หมายเลข 7 นายโกเศษ ดู่ป้อง พรรคเสรีรวมไทย หมายเลข 8 นายไตรภูมิ แซ่อึ้ง พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 9 นางจำรัส อิทธิกุล พรรคไทยภักดี
ในเขตเลือกตั้งที่ 3 มีผู้มีสิทธิ์เลือกตั้ง 126,560 คน หมายเลข 1 นายสุริยะ สิทธิ์กลาง พรรครวมไทยสร้างชาติ หมาเลข 2 นายอนันต์ ลิมปคุปตถาวร พรรคเพื่อไทย หมายเลข 3 นายเกรียงไกร จันกกผึ้ง พรรคก้าวไกล หมายเลข 4 นางสาวพิศมัย สร้อยสุวรรณ พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 5 นายสัมฤทธิ์ แทนทรัพย์ พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 6 นายอุทิศ พิมพลีชัย พรรคไทยสร้างไทย หมายเลข 7 นายสนั่น พัชรเตชโสภณ พรรคพลังประชารัฐ หมายเลข 8 นางสาวมาเรือน มาสิงห์ พรรคเพื่ออนาคตไทย หมายเลข 9 นายธนดล ลือมงคล พรรคเสรีรวมไทย หมายเลข 10 นางจุฑามาศ ภูจำนง พรรคประชาธิปไตยใหม่ หมายเลข 11นายคำผัส ศรีเสริมวงศ์ พรรคคลองไทย
ในเขตเลือกตั้งที่ 4 มีผู้มีสิทธิ์ 120,422 คน หมายเลข 1 นางสาวอุไรวัลย์ นทีดี พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 2 นายสมชาย จริยานันทกุล พรรครวมไทยสร้างชาติ หมายเลข 3 นายวีรศักดิ์ วงษ์บุตร พรรคเสรีรวมไทย หมายเลข 4 นายพิชัย ขระสูงเนิน พรรครวมไทยสร้างไทย หมายเลข 5 นางสาวกาญจนา จังหวะ พรรคพลังประชารัฐ หมายเลข 6 นายราชัน วรรณจงคำ พรรครวมแผ่นดิน หมายเลข 7 นายสิทธิพล ภูธรณ์ พรรคก้าวไกล หมายเลข 8 นายมานะ โลหะวณิชย์ พรรคเพื่อไทย หมายเลข 9 นางสาวสุชาดา แทนทรัพย์ พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 10 นายมนัส รักกระโทก พรรคไทยภักดี หมายเลข 11 นางบัวสอน โยหาศรี พรรคประชาธิปไตยใหม่
ในเขตเลือกตั้งที่ 5 มีผู้มีสิทธิ์ 132,213 คน หมายเลข 1 นายชยนนท์ คำเบ้า พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 2 นางสาวพิมพ์กานต์ ยศพิทักษ์ พรรคก้าวไกล หมายเลข 3 นายกานนท์ แสนเภา พรรคเสรีรวมไทย หมายเลข 4 นายวีระ แต่งทรัพย์ พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 5 นายธนกฤต จรรย์โกมล พรรคไทยสร้างไทย หมายเลข 6 นายสุขสันต์ ชื่นจิตร พรรคพลังประชารัฐ หมายเลข 7 นายศิวะ พงศ์ธีระดุลย์ พรรคเพื่อไทย หมายเลข 8 นายชัยชาญ จรรย์โกมล พรรครวมไทยสร้างชาติ หมายเลข 9 นายกิตติศักดิ์ ศิริพันธุ์ พรรคไทยภักดี
ในเขตเลือกตั้งที่ 6 มีผู้มีสิทธิ์ 134,837 คน หมายเลข 1 นายสุเทน ฐานะ พรรคครูไทยเพื่อประชาชน หมายเลข 2 นายเสถียรพงศ์ เที่ยงตรง พรรครวมไทยสร้างชาติ หมายเลข 3 นายเชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 4 นายเจริญ จรรย์โกมล พรรคไทยสร้างไทย หมายเลข 5 นางสาวอรนุช ผลภิญโญ พรรคก้าวไกล หมายเลข 6 นางพรเพ็ญ บุญศิริวัฒนกุล พรรคเพื่อไทย หมายเลข 7 นายพีระพล ติ้วสุวรรณ พรรคพลังประชารัฐ หมายเลข 8 ว่าที่ ร.ต.ธาดา รัตนาธิวัฒน์ พรรคเสรีรวมไทย หมายเลข 9 นายไพบูลย์ เมฆลอย พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 10 นายสมชัย ชัยมาตย์ พรรคเพื่ออนาคตไทย หมายเลข 11 นายวรรธนะ ลือมงคล พรรคไทยภักดี
และในเขตเลือกตั้งที่ 7 มีผู้มีสิทธิ์ 127,166 คน หมายเลข 1 นายกิตติธัช คำวงษ์ พรรคก้าวไกล หมายเลข 2 นายบุรี บุตะเขียว พรรคภูมิใจไทย หมายเลข 3 นายพลากร ภูมินอก พรรคประชาธิปัตย์ หมายเลข 4 นายสุรวิทย์ คนสมบูรณ์ พรรคเพื่อไทย หมายเลข 5 นายปิยะวุฒิ ดวงภมร พรรคครูไทยเพื่อประชาชน หมายเลข 6 นายประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ พรรครวมไทยสร้างชาติ หมายเลข 7 นายอัครแสนคีรี โลห์วีระ พรรคพลังประชารัฐ หมายเลข 8 นายบัณฑูรย์ เกียรติก้องชูชัย พรรคชาติไทยพัฒนา หมายเลข 9 นายจอมจักรภพ เอกกุล พรรคไทยสร้างไทย หมายเลข 10 นางสาวรัตนา บุญจันทร์ พรรคไทยภักดี และหมายเลข 11 นายปฐมพัฒน์ ผาทอง พรรคเสรีรวมไทย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: