ชัยภูมิ – เสียชีวิตไข้เลือดออกแล้ว 1 ราย ยอดผู้ป่วยพุ่งกว่า 1,245 ราย สูงกว่าปีที่ผ่านมากว่า 3 เท่าตัว สสจ.เตือนประชาชนเร่งตระหนักเข้มมาตรการป้องกันช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายทุกพื้นที่ด่วน!
( 25 ก.ย.66 ) ขณะที่ จ.ชัยภูมิ นายแพทย์วชิระ บถพิบูลย์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชัยภูมิ ออกมาเปิดเผยถึงสถานการณ์เร่งด่วน ของการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ของปี 2566 นี้ ยังพบมีการแพร่ระบาดหนักอย่างต่อเนื่อง มาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา จนล่าสุดพบผู้ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก ถูกนำตัวส่งเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องทั้ง 16 อำเภอ รวมแล้ว 1,245 ราย
โดยเฉพาะเดือนกันยายนที่ยังไม่ถึงเดือนผ่านมา มียอดผู้ป่วยสูงกว่า 197 ราย และมีผู้เสียชีวิตแล้ว 1 ราย เป็นชายวัยรุ่นอายุ 18 ปี รูปร่างสูงใหญ่กว่า 183 ซม.น้ำหนักกว่า 100 กิโลกรัม เป็นชาว อ.เมืองชัยภูมิ และกำลังเรียนหนังสือชั้น ม.ปลาย มีอาการเป็นไข้สูง และนอนกินยารักษาตัวเองอยู่ที่บ้านได้ประมาณ 3 วัน ยังมีอาการเป็นไข้สูงกินยาลดไข้แล้วไข้ก็ไม่ลด ทางญาติได้นำตัวส่งรักษาตัวที่ รพ.ชัยภูมิ และเสียชีวิตในเวลาต่อมาแล้ว 1 ราย
ข่าวน่าสนใจ:
จากการสอบสวนโรคและเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจสอบที่บ้านผู้เสียชีวิต และสถานศึกษาที่เด็กวัย 18 ปี เรียนหนังสืออยู่ พบว่ามีแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายจำนวนมาก ซึ่งเป็นพาหะนำเชื้อไข้เลือดออกมาสู่ตัวน้องผู้เสียชีวิต
จึงได้มีการร่วมระดม จนท.ออกกำจัดแหล่งมีน้ำขัง เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายแล้ว โดยในปีนี้ถือว่าผู้ป่วยไข้เลือดออกมากว่าปี 2565 ที่ผ่านมาพุ่งสูงเกือบ 3 เท่าตัว กระจายอยู่ในทุกอำเภอ อำเภอที่พบผู้ป่วยสูงสุดคือ อำเภอเมืองชัยภูมิ 255 ราย อ.หนองบัวแดง 200 ราย อ.แก้งคร้อ 121 ราย ตามลำดับ กลุ่มอายุที่พบสูงสุดที่พบในปีนี้สูงสุดเป็นเด็กโต อายุ 10 – 14 ปี รองลงมาเป็นอายุ 15- 24 ปี ส่วนเด็กอายุ 5-9 ปี พบเป็นอันดับ 3 ซึ่งถือว่าหากพบผู้ป่วยบุตรหลานของประชาชนที่ป่วยเป็นไข้สูงแล้วกินยาลดไข้ 2 วันแล้วไม่ดีขึ้น
จึงฝากฝากเตือนประชาชนต้องรีบนำตัวส่งรักษาตัวในโรงพยาบาลใกล้บ้านทันที ซึ่งในช่วงนี้ เด็ก ลูกหลาน ในช่วงวันหยุดเสาร์ อาทิตย์ อยู่บ้านไม่ได้ไปโรงเรียน ต้องเฝ้าระวังอย่าให้ยุงกัด และต้องเร่งกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และที่น่าเป็นห่วงมากที่สุดคือจากการเฝ้าติดตามการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก พบว่ายุงลายมีพฤติกรรมการออกหากินได้ตลอดทั้งตอนกลางวัน และกลางคืน
ทำให้มีแนวโน้มพบมีผู้ป่วยสูงขึ้นตลอดทั้งปี และฝากถึงประชาชน และ อสม.ทุกพื้นที่เป็นแกนนำในการกำจัดยุงลาย โดยออกฉีดพ้นหมอกควันกำจัดยุงลายในทุกพื้นที่ และทุกคนต้องร่วมมือกันกำจัดแหล่งแพร่ระบาดของลูกน้ำยุงลาย ร่วมมือกันกำจัดลูกน้ำยุงลายอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ไม่ให้มีน้ำขังตามกะโหลกกะลา เพื่อตัดวงจรการขยายพันธ์ของยุงลายพาหะนำโรค การป้องกันการเกิดโรคไข้เลือดออกคือ กำจัดแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลาย และตามชุมชนต้องสะอาดปราศจากแหล่งเพาะพันธ์ลูกนำยุงลาย ภายใต้ เก็บให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย เพื่อตัดวงจรการขยายพันธ์ของยุงลายพานะนำโรคในขณะนี้อย่างเข้มงวดช่วยกันให้มากขึ้นด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: