ชัยภูมิ – เริ่มได้รับผลกระทบปริมาณน้ำยังหลากท่วมสูงขึ้นต่อเนื่อง!
( 1 ตุลาคม 2566 ) ขณะที่ จ.ชัยภูมิ หลังจากมีฝนตกหนักสะสมมาต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงวันที่ 26 – 29 ก.ย.66 ที่ผ่านมา ล่าสุดทำให้มีน้ำป่าหลากจากเทือกเขาภูเขียว ในเขตพื้นที่ อ.หนองบัวแดง ซึ่งเป็นพื้นที่ต้นกำเนิดแม่น้ำชีไหลผ่านในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ ผ่านลำแม่น้ำชีมาที่ในพื้นที่อำเภอบ้านเขว้า ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มต่ำ ที่ถึงแม้ในปีนี้ถึงแม้ปริมาณน้ำป่าหลากจะไม่มากเหมือนช่วง 2 ปีที่ผ่านมาที่ จ.ชัยภูมิ เกิดน้ำท่วมใหญ่หนักสุดในปี 2565 ในรอบกว่า 50 ปีที่ผ่านมา และปี 2566 นี้ก็ยังได้รับผลกระทบถูกน้ำหลากเข้าท่วมพื้นที่ซ้ำซากยังไม่หยุดทุกปี ที่ปีนี้ถึงแม้จะเกิดปรากฏการณ์เอลนีโญ ฝนตกน้อยกว่าทุกปี ก็ตาม
แต่ปีนี้ชาวบ้านในพื้นที่ลุ่มลำชี ในเขต อ.บ้านเขว้า ก็ยังได้รับผลกระทบเช่นเดินหากมีปริมาณน้ำป่าหลากลงมาต่อเนื่อง และเริ่มส่งผลกระทบหนักในพื้นที่รวมกว่า 3 ในเขต ตำบลตลาดแร้ง ,ตำบลบ้านเขว้า และ ตำบลลุ่มลำชี ของอ.บ้านเขว้า โดยส่วนใหญ่พบว่าน้ำที่ไหลมาตามลำน้ำลำห้วยชีลองพบมีจุดเสียหายมีความตื้นเขิน เกิดตลิ่งพังทรุดพังเสียหายลงมาเป็นจำนวนมาก ที่ทำให้น้ำได้หลากไหลทะลักออกจากลำห้วยเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรเป็นเป็นบริเวณกว้างอย่างต่อเนื่องรวมทั้งหลากท่วมขังภายในเส้นทางสัญจรภายในหลายหมู่บ้าน หนักสุดในขณะนี้อยู่ภายในหมู่บ้านคลองไผ่งาม ต.บ้านเขว้า รวมถึงวัดที่ได้รับผลกระทบถูกน้ำท่วมขังสูงกว่า 30-50 ซม.แล้วในขณะนี้
ข่าวน่าสนใจ:
ซึ่งน้ำหลากยังคงไหลเข้าท่วมในพื้นที่รอยต่อตำบลลุ่มลำชี อีกจุดทั้งด้านผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน รวมถึงชาวบ้านต้องเร่งช่วยกันนำอุปกรณ์มาช่วยกันเร่งกำจัดวัชพืชที่ไหลออกมาจากบึงละหาน รอยต่อ อ.จัตุรัส ทำให้เกิดการขวางทางน้ำอุดตันบริเวณคอสะพานเป็นทางยาวไปกว่า 2 กิโลเมตร ที่ไม่สามารถเปิดทางระบายน้ำท่วมออกจากพื้นที่ได้ จึงทำให้น้ำป่าที่หลากลงมายังทะลักหลากเข้าท่วมพื้นที่ได้ง่ายและเพิ่มระดับน้ำท่วมขังในหมู่บ้านสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอีกด้วย ซึ่งจากระดับน้ำล่าสุดในแม่น้ำชีขณะนี้โดยรวมในพื้นที่ จ.ชัยภูมิ พบว่าเหลือใกล้ล้นตลิ่งได้ไม่ถึง 2 เมตร ก็จะล้นตลิ่งออกมาได้หากมวลน้ำยังไม่มีท่าทีที่จะลดระดับลง ในพื้นที่อื่นๆที่อยู่ใกล้ลำแม่น้ำชีไหลผ่านในขณะนี้ หากเกิดฝนตกหนักลงมาซ้ำก็ยังเสี่ยงที่จะได้รับผลกระทบถูกน้ำหลากท่วมในช่วงนี้ด้วย ที่ชาวบ้านในพื้นที่อยากฝากถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และยังไม่มีแผนงานจากนโยบายรัฐบาลมาจนปัจจุบัน ที่จะมีแนวทางออกมาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้งซ้ำซาดังกล่าวในพื้นที่จุดนี้ได้อย่างเป็นรูปธรรมยั่งยืนได้เสียที
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: