ชัยภูมิ – ปีนี้ทุกภาคส่วนรวมใจจัดกิจกรรม สืบสานประเพณีการละเล่นกีฬาพื้นบ้านโบราณมายาวนาน ส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ และเป็นเริ่มเข้าสู่ฤดูกาลต้อนรับเทศกาลท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาวที่จ.ชัยภูมิ ปีนี้นักท่องเที่ยวนับหมื่นแห่ชมร่วมงานสุดคึกคักกว่าทุกปี!
( 27 ธ.ค.61 ) ขณะที่จ.ชัยภูมิ นายสมเกียรติ ศรีษะเนตร รองผู้ว่าราชการจ.ชัยภูมิ พร้อมด้วยนายอนุชา เ จริญรักษ์ นายอำเภอเมืองชัยภูมิ และตัวแทนจากทุกภาคส่วนร่วมกัน เปิดงานเทศกาลส่งเสริมการท่องเที่ยวช่วงฤดูหนาว เพื่อเป็นการสืบสานการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านโบราณมหัศจรรย์ตีคลีไฟ ที่ชัยภูมิมีให้ชมเพียงหนึ่งเดียวในโลก ซึ่งปีนี้จัดงานเปิดโชว์การแข่งกีฬาโบราณสาธิตขึ้นในระหว่างวันที่ 25-26 ธ.ค.61 ที่ผ่านมา
ข่าวน่าสนใจ:
ท่ามกลางบรรยากาศนักท่องเที่ยวทั่วสารทิศทั้งชาวชัยภูมิ ชาวไทย และชาวต่างชาติให้ความสนใจเดินทางมารอชมเป็นจำนวนมากนับหมื่นคน ณ บริเวณจัดงาน ลานข้างวันแจ้งสว่าง บ้านหนองเขื่อง ตำบลกุดตุ้ม อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ที่จัดสืบสานงานประเพณีโบราณแห่งนี้มาต่อเนื่องทุกปี ที่ชาวบ้านในชุมชนต่างของตำบลกุดตุ้มกว่า 14 หมู่บ้านพร้อมใจกันอนุรักษ์และสืบสานการละเล่นกีฬาดังกล่าวที่มีความเก่าแก่มานานหลายร้อยปี ที่สมัยปู่-ย่า ตา-ยาย เคยเล่นสนุกสนาน พักผ่อน หย่อนใจ เพื่อเป็นการช่วยคตลายหนาวให้กับร่างกายของคนในชุมชนแห่งนี้ หลังเสร็จสิ้นจากการทำไร่ ทำนา
ก่อนที่จะสูญหายไปกับกาลเวลา ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาเรียนรู้ และพัฒนาขึ้นมาเป็นงานประจำปีต่อเนื่องจนปัจจุบัน นั่นคือการเล่นกีฬาโบราณตีคลีไฟ สู่เทศกาลมหัศจรรย์ตีคลีไฟที่ชัยภูมิ
ซึ่งถือเป็นกีฬาโบราณสาธิตที่หาชมได้ยากในปัจจุบัน โดยจะมีการจัดแข่งขันกันในช่วงเข้าสู่ต้นดูหนาวของทุกปี ที่จะมีกติกาคล้ายๆกีฬาฮ็อกกี้ ซึ่งผู้เล่นจะยกไม่ตีลูกคลีไฟได้สูงไม่เกินหัวเข่า เพื่อความปลอดภัยไม้จะไปไปโดนผู้เล่นคนอื่นเป็นการป้องกันให้ผู้เล่นทั้ง 2 ฝ่าย มีความปลอดภัยในการเล่นได้มากขึ้นเป็นหลักซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวที่เดินทางมารอชมทุกสายตาคอยลุ้นด้วยความหวาดเสียว กลัวว่าลูกไฟจะโดนผู้เล่น แต่คนที่หวาดเสียวที่สุดคือผู้รักษาประตู ที่จะเป็นคนต้องใช้มือเปล่าจับลูกไฟหรือลูกคลี สร้างเสียงฮือฮาทุกครั้งที่ลูกไฟถูกตีมายังผู้รักษาประตู กันอย่างคึกคักสนุกสนานไปตลอดช่วงการแข่งขันจนจบงานเป็นประจำทุกปี
และเป็นความเชื่อส่วนบุคคลในพื้นที่ว่าชาวบ้านที่นี่มีมีภูมิปัญญาและน่าจะมีของดีมีสิ่งศักดิ์คู่บ้านคู่เมืองคุ้มครองร่างกาย เพราะคนที่เป็นผู้รักษาประตู รวมทั้งผู้เล่นที่ทั้งถูกลูกไฟตีใส่ร่าง และมีการจับลูกไฟลูกคีลร้อนๆได้ แต่มือ และตามร่างกายกลับไม่แผลหรือได้รับบาดเจ็บเป็นอะไรตามมาได้เลย ยิ่งสร้างความฮือฮาให้กับนักท่องเที่ยวโดยเฉพาะชาวต่างชาติที่มาพบเห็นว่าทำได้อย่างไร เพราะแค่คนเราถูกไฟร้อนๆจี้ก็เกิดแผลพุพองขึ้นแล้ว ที่ยังเป็นปริศนามาจนทุกวันนี้และหาชมได้ยากยิ่ง
โดยตามประวัติการเล่นกีฬาโบราณตีคลีไฟ มีตำนาน เล่าต่อกันมายาวนานว่าการละเล่นแบบนี้ พบเห็นคนสมัยก่อนๆในชุมชนบ้านหนองเขื่องเก่าแก่แห่งนี้มานานและเริ่มมีการจัดสืบสานแสดงโชว์กันมาต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงประมาณปี 2489 ที่เดิมมีการละเล่นกันที่บ้านหนองเขื่อง ต.กุดตุ้ม เดิมทีเรียกกันว่าตีคลีโหลน คือใช้เหง้าไม้ไผ่ ตีลูกไม้นุ่นซึ่งมีน้ำหนักเบา แข่งกันแบบตีไกล ใครตีไปได้ไกลกว่าเป็นผู้ชนะ ต่อมาก็พัฒนามาเล่นเป็นทีม เผอิญช่วงหนึ่ง อากาศหนาวมีการก่อกองไฟไว้ข้างสนาม ที่จะอยู่ใกล้บ่อน้ำหนองเขื่องประจำชุมชน ที่จะมีคนมารอลงอาบน้ำที่นี่เป็นจำนวนมากทุกวัน และลูกไม้นุ่นถูกตีเข้าไปในกองไฟ กว่าจะเขี่ยออกมาได้ ไฟก็ติดจนลุกไหม้ ด้วยความสนุกสนานติดพันในเกมส์ พอเขี่ยออกมาได้ ก็ใช้เล่นต่อไปทั้งที่ลูกไม้นุ่นยังติดไฟ เวลาไม้กระทบลูกคลี ก็จะมีประกายไฟพุ่งส่องแสงสวยงาม และสร้างความตื่นเต้นมากขึ้น
จากนั้นมา ก็เริ่มพัฒนามาจากการตีคลีโหลน จึงเปลี่ยนมานิยมเล่นตีคลีไฟ หลังจากนั้นก็เงียบหายไปอยู่พักหนึ่ง ไม่ค่อยพบเห็นการละเล่นเกือบ 1 ชั่วอายุคน ชาวบ้านหนองเขื่องบางคนยังคงจดจำภาพและเรื่องราวเอาไว้ได้ โดยเฉพาะนายอุ่น บุญชู อดีตผู้ใหญ่บ้าน ที่ปัจจุบันอายุกว่า 67 ปี ได้นำมาเล่าให้สื่อมวลชนและคณะครูนักวิชาการผู้ที่สนใจได้รับทราบ จึงเกิดแรงกระตุ้นให้เกิดการแสดงให้คณะชมรมสื่อมวลชนจ.ชัยภูมิและสมาคมนักข่าวจ.ชัยภูมิ ได้ดูและช่วยถ่ายทอด ในงานประจำปีของวัดแจ้งสว่าง ในชุมชนบ้านหนองเขื่อง และได้เป็นจุดเริ่มต้นมาตั้งแต่เมื่อกว่าสิบปีที่ผ่านมา ในการฟื้นกลับมาละเล่นอีกครั้ง จนทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในจังหวัดทราบข่าวก็ได้ช่วยกันมาช่วยกันจัดสืบสานงานการเล่นกีฬาโบราณดังกล่าวมาต่อเนื่องกว่าช่วง 8 ปีที่ผ่านมา จนปัจจุบันได้จัดให้เป็นงานกีฬาประจำปีซึ่งถือเป็นกีฬาโบราณและจะจัดโชว์สาธิตการเล่นกีฬาดังกล่าว สุดหาชมได้ยากและมีให้ชมเพียง 1 ปี มีครั้งเดียวสุดหาชมได้ยากเพียงหนึ่งเดียวในเมืองไทยและของโลกมาต่อเนื่องเป็นประจำทุกปีในช่วงต้นหน้าหนางของทุกปีเป็นต้นมา ซึ่งเป็นการช่วยกันสืบประเพณีโบราณแห่งนี้ไม่ให้เลือนหายไปมาได้จนปัจุบัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: