ชัยภูมิ – ที่ยังหลงเหลืออยู่เป็นทายาทธรรมสุดยอดสายวิชาฝังตะกรุดทองคำรุ่นสุดท้ายแห่งแดนอีสาน เนื่องในวันเสาร์ห้าในทุกปีและปีนี้สุดคึกคักแน่นวัดโพธิ์ตาล ที่เมืองชัยภูมิ คนทั่วสารทิศแห่ร่วมชมพิธีฝังตะกรุดสุดยอดหาชมได้ยากที่สืบทอดกันมายาวนาแต่โบราณ
ขณะที่จ.ชัยภูมิ เนื่องในวันเสาร์ที่ 17 มีนาคม 2561 ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 5 ที่ถือเป็นวันเสาร์ห้าศิริของวันแห่งปี ประจำปี พ.ศ 25561 นี้ ที่ทางวัดของหลวงพ่อจุ่น จิตตสังวโร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ตาลและเจ้าคณะตำบลบ้านตาล อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ ถือเป็นที่ทราบกันดีของคนในพื้นที่จ.ชัยภูมิและลูกศิษย์ลูกหาของหลวงพ่อจุ่น ในทั่วประเทศจะทราบกันดีว่า ในช่วงวันเสาร์ห้าของทุกปี หลวงพ่อจะรับฝังตะกรุดทองคำ ให้กับลูกศษย์ลูกหาประชาชนที่ต้องการเดินทางมาที่วัด
ที่ในช่วงนี้ระหว่างวันที่ 17-18 มี.ค.61 ทางวัดจะจัดงานทอดผ้าป่า และงานไหว้ครู บูชาครูบาอาจารย์ที่สั่งสอนสืบทอดวิชาต่างๆทางสายธรรมให้ต่อเนื่องต่อกันมาให้กับหลวงพ่อจุ่น ที่ถือว่าเป็นศิษย์สายเดียวกันกับหลวงพ่อคูณ แห่งวัดบ้านไร่ จ.นครราชสีมา ซึ่งหลังหลวงพ่อคูณมรณะภาพแล้วโดยเฉพาะพิธีการฝังตะกรุดหาใครที่จะทำได้ยากมากในปัจจุบัน
ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แทบจะไม่มีพระรูปใดหรือวัดใด ที่จะมีการสืบทอดวิชาฝังตะกรุดทองคำตามสูตรตามแบบวิชาเดียวกันกับหลวงพ่อคูณแบบดั่งเดิมามาแต่โบราณได้เลย จากสายเกจิดังที่สืบทอดกันมาแต่โบราณที่มีบันทึกเป็นตำราไว้จากสายหลวงปู่คง วัดถนนหักใหญ่ อาจารย์ของหลวงพ่อคูณที่ยังหลงเหลืออยู่ในภาคอีสานในปัจจุบันเพียงรูปเดียวก็คือพลวงพ่อจุ่น วัดโพธิ์ตาล ที่จ.ชัยภูมิ
ซึ่งในปีนี้ ประชาชนทั่วสารทิศ ไม่เว้นแม้แต่ นายอุทัยนพ คุณวงศ์ รองอธิบดีกรมวิชาการเกษตร พร้อมคณะผู้บริหารจากทั่วประเทศ ได้เดินทางมาร่วมถวายทอดผ้าป่าที่วัดโพธ์ตาลในปีนี้ด้วย รวมทั้งประชาชนที่ทราบข่าวจากทั่วสารทิศต่างพากันเดินทางแห่มุ่งหน้ามาที่วัดโพธิ์ตาล ตำบลบ้านตาล อำเภอบำเหน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ อย่างต่อเนื่องเพื่อต้องการขอนำวัตถุมงคลจากพระครูโพธิกิตติวิมล หรือหลวงพ่อจุ่น จิตตสังวโร เจ้าอาวาสวัดโพธิ์ตาลและเจ้าคณะตำบลบ้านตาล หลังทราบข่าวว่าท่านเป็นศิษย์สายหลวงพ่อโต และหลวงพ่อนิล ศิษย์สายธรรมเดียวกันกับหลวงพ่อคง วัดถนนหักใหญ่ ศิษย์สายเดียวกับกับหลวงพ่อคูณวัดบ้านไร่ ที่มรณะภาพไปแล้วและยังเป็นพระรูปเดียวที่ยังมีการสืบทอดวิชาการฝังตะกรุดทองคำแท้ร้อยเปอร์เซ็นต์ (ไวใต้แขนพับ) ขนาดยาวไม่เกิน 1 ซม. ที่เป็นต้นตำรับวิชาเดียวกัน ที่ในปัจจุบันสามารถสืบทอดสายวิชามาต่อจากสายหลวงพ่อคูณเป็นรูปสุดท้ายของภาคอีสาน ในขณะนี้ในปัจจุบันเพียงรูปเดียว
และเมื่อถึงช่วงวันเสาร์ห้าวันที่ดีในวันเสาร์ที่ เดือน 5 ของทุกปี ก็จะมีลูกศิษย์ลูกหา ประชาชนที่ศรัทธราสายฝังตะกรุดทองคำ จะต่างมุ่งหน้ามมาร่วมทำบุญกันแน่นวัด ที่ในปีนี้จะเป็นการช่วยกันร่วมแรงร่วมใจสมทบทุนกันเพื่อช่วยสร้างกำแพงแก้วขึ้นให้กับวัดโพธิ์ตาล ขึ้นใหม่
จนทำให้มีชาวบ้านทั้งใกล้ไกลจากทั่วประเทศที่ทราบข่าว ได้แห่มาขอเข้าร่วมพิธีฝังตะกรุดทองคำ และขอให้หลวงพ่อช่วยปลุกเสกเหรียญวัตถุมงคลของวัด เพื่อพอที่ญาติโยมจะขอบูชากลับไปไว้ติดตัวเป็นประจำขึ้นในแต่ละรุ่นทุกปี ที่จะมีการจัดสร้างแต่ละครั้งจำนวนไม่มาก ตามคำขอของญาติโยมที่เดินทางมาเท่านั้น
ซึ่งหลวงพ่อจุ่น จิตตสังวโร (พระครูโพธิกิตติวิมล) ในปัจจุบันถือเป็นพระสายปฏิบัติ สร้างความเจริญให้กับวัดโพธิ์ตาล มายาวนาน หลังตั้งแต่เมื่อช่วงปี พ.ศ.2320 วัดโพธิ์ตาล ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาในปี 2370 ซึ่งตรงกับสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 3 ซึ่งมีหลักฐานมีปรางค์ปราสาทสมัยขอม และเป็นชุมชนเก่าแก่มาแต่สมัยโบราณมายาวนาน
มีลำดับเจ้าอาวาสรูปแรกหลวงปู่ขาว ที่มีวิชาอาคมขลังเป็นที่ศรัทธราประชาชนในพื้นที่มายาวนานและเป็นต้นสายวิชาของสำนักวัดโพธิ์ตาล สืบต่อมาจนรุ่นที่ 2 หลวงปู่นิล (พระครูโพธิญาณคุณ) สืบต่อมาจนถึงช่วงปี 2412 และมีความสัมพันธ์เป็นสหธรรมมิกกับหลวงปู่คง วัดถนนหักใหญ่ ที่เป็นอาจารย์ของหลวงพ่อคูณ แห่งวัดบ้านไร่ และได้ไปมาหาสู่วัดโพธิ์ตาลเป็นประจำ
จนต่อมาเจ้าอาวาสรุ่นที่ 3 หลวงปู่โต (พระครูโพธิวุฒิคุณ) สืบต่อมาช่วงปี 2503 ที่มีความสัมพัน์ศิษย์สายหลวงปู่นิล และสายหลวงปู่นาค วัดระฆังโฆสิตาราม จนมาในปัจจุบันตั้งแต่ปี 2542 ที่ผ่านมา หลวงพ่อจุ่น ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดโพธิ์ตาลสืบต่อมาเป็นรุ่นล่าสุด ที่ยังมีการสืบสานวิชาสายสำนักวัดโดพิ์ตาลที่ผ่านมาทุกรูปอย่างเหนียวแน่น รวมทั้งการสืบสานวิชาฝังตะกรุดทองคำ ไว้ที่ใต้แขนพับตามต้นตำรับหลวงพ่อคง วัดถนนหักใหญ่ สายตำรับวิชาการเดียวกับหลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ มาได้อยู่ทุกวันนี้จนปัจจุบัน
ซึ่งประวัติพอสังเขปท่านหลวงพ่อจุ่น มีนามเดิมว่า “จุ่น ชนะสิทธิ์” เกิด 28 ก.พ.2501 ณ บ้านโคกล้อ ต.มะกอกหวาน อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี ซึ่งแต่เล็กๆครอบครัวได้ย้ายมาอยู่ที่ต.ท่ากูบ อ.จัตุรัส จ.ชัยภูมิ จนต่อมามีอายุครบบวชเมื่อปี 2522 ซึ่งได้ไปมาหาสู่กับวัดโพธิ์ตาล มาตลอดและฝากตัวเป็นศษย์หลวงพ่อโตเจ้าอาวาสรุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นอาจารย์และเป็นพระอุปัชฌาย์บวชให้ได้สืบทอดศึกษาวิชาอาจารย์ทุกรุ่นโดยเฉพาะหลวงพ่อคงฯจนมาได้จนปัจจุบัน ซึ่งยังคงเหลืออยู่เป็นรุ่นสุดท้ายเพียงรูปเดียวของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือภาคอีสาน หลังหลวงพ่อคูณมรณภาพ
ที่ในปัจจุบันหาได้ยากมากแล้ว ที่จะมีพระสงฆ์สือบทอดวิชาฝังตะกรุดทองคำสายนี้ จึงเริ่มทำให้ประชาชนคนที่ทราบข่าว ต่างพากันแห่เดินทางมาที่วัดโพธิ์ตาล ต.บ้านตาล อ.บำเหน็จณรงค์ จ.ชัยภูมิ กันอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายในขณะนี้และวัตถุมงคลของท่านที่ผ่านมา มีการจัดสร้างไปแล้ว รวมมากกว่า 6 รุ่นซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นตะกรุด เหรียญและเนื้อผง ต่างก็ได้รับความนิยมมีมูลค่าสูงขึ้นต่อเนื่องไม่หยุดใครที่มีไว้ในครอบครองต่างหวงแหน
โดยเฉพาะรุ่น ที่ 4 รุ่น 5 และรุ่น 6 ที่มีทั้งทหาร ตำรวจในพื้นที่เคยปะทะกับโจรผู้ร้ายปืนยิงไม่ออกมาแล้วจำนวนมาก รวมทั้งมีคนที่อยากลองวิชาของหลวงพ่อได้เหรียญไปแล้ว กลับนำไปลองยิงก็ต้องทึ่ง ปืนขัดลำยิงไม่ออกมาแล้วจำนวนมาก จนทุกวันนี้ทำให้หลวงพ่อโด่งดังไปทั่วตามแต่ความเชื่อส่วนบุคคล ที่ใครมีวัตถุมงคล หรือตะกรุดของท่านไว้ก็จะไม่มีใครที่จะยอมปล่อยให้ใครขอเช่าบูชาต่อได้ง่ายๆรวมทั้งผู้ที่มีไว้ทุกราย ที่ได้บูชาติดตัว กลับมีพุทธคุณรอบด้านทั้งเกิดโชคลาภ ค้าขายดีจนพากัน ต้องกลับมาช่วยหลวงพ่อสร้างวัดช่วยทะนุบำรุงพระศาสนาอย่างต่อเนื่องไม่ขาดสายมาเป็นประจำทุกปีจนปัจจุบัน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: