ชัยภูมิ – เฉพาะการปล่อยน้ำช่วยด้านอุปโภคบริโภคระบบประปาเป็นหลักได้เท่านั้น หากไม่มีฝนตกลงมาช่วยเพิ่มน้ำในเขื่อนอีกได้ จ่อรับวิกฤตหนักรอบหลายสิบปี ด้านจังหวัดชัยภูมิ สั่งประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งทั้งจังหวัดแล้วทั้ง 16 อำเภอ เร่งแจ้งเตือนประชาชนทุกพื้นที่ช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัดและเพื่อการสำรองไว้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้เท่านั้น!
( 13 ส.ค.62 ) ขณะที่สถานการณ์ภัยแล้งในภาพรวมปี 2562 นี้ถือว่าวิกฤตหนักสุดมาเร็วยาวนานกว่าทุกปีในรอบหลายสิบปีอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน ล่าสุดทั้งจังหวัดชัยภูมิ มีพื้นที่รวม 16 อำเภอ จังหวัดได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งในปีนี้ครอบคลุมทั้งของจ.ชัยภูมิ แล้ว โดยล่าสุดนายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจ.ชัยภูมิ ได้ออกประกาศจังหวัดให้พื้นที่จ.ชัยภูมิทั้งหมดเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติภัยแล้งแล้วทั้ง16 อำเภอ
ข่าวน่าสนใจ:
- เกษตรกรเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งเจอแล้งต้องย้ายถิ่นหนี
- สืบชัยภูมิเร่งปูพรมขยายผลจับแก๊งขนยาบ้าฝ่าจุดสกัด ตร.หลบหนียึดยาบ้าได้อีกลอตใหญ่รวมกว่า 3.5 แสนเม็ด!
- ตรัง ชาวบ้านร้องตรวจสอบทน.ตรังทำถนนรวดเดียว 65 สาย วิจารณ์หนักเปลืองงบประมาณ
- ชัยภูมิเปิดจุดเที่ยววันเด็กหมู่บ้าน" ช้างคืนถิ่น "ก่อนร่วมเปิดงานประจำปีเจ้าพ่อพญาแล!
ซึ่งมีรายงานในปัจจุบัน มีพื้นการเกษตรได้รับผลกระทบแล้วมากกว่า 700,000 ไร่ แบ่งเป็นนาข้าวกว่า 550,000 ไร่ และพืชสวนเกษตรอื่นๆ 150,000 ไร่ และได้เร่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องออกสำรวจเพื่อให้การช่วยเหลือค่าชดเชยนาข้าวไร่ละ 1,100 บาท พืชสวนเกษตรไร่ละ 1,400 บาท
ซึ่งจากนี้ไป สถานการณ์ภัยแล้งจะส่งผลกระทบหนัก ที่จะต้องเตรียมการเตรียมความพร้อมรับทุกพื้นที่ และขอให้ประชาชนช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัด โดยเฉพาะเรื่องการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภค ในทุกพื้นที่ต้องไม่ให้เกิดผลกระทบ ขอให้ช่วยกันผ่าวิกฤตภัยแล้งหนักปีนี้ไปให้ได้
และได้สั่งการให้ทุกอำเภอเร่งหาแหล่งสำรองน้ำไว้ใช้เพื่อการอุปโภคบริโภคได้เท่านั้น พร้อมกันนี้ให้ทุกอำเภอทำข้อมูลหมู่บ้านที่ประสบภัยแล้ง รายงานมายังจังหวัดเป็นการด่วน
และล่าสุดในขณะนี้พบว่าระดับน้ำในเขื่อนและอ่างเก็บน้ำต่างๆ ที่เหลืออยู่เกิดวิกฤตเหลือน้ำน้อยและคาดว่าจะไม่พอเพียงเกือบทั้งหมดแล้ว ในจุดที่สำคัญทั่วทั้งจังหวัด ทั้งอ่างเก็บน้ำลำคันฉูมีน้ำใช้การได้ 8.127 ล้าน ลบ.ม. ห้วยทราย 3.620 ล้าน ลบ.ม อ่างเก็บน้ำห้วยทองหลาง 0.000 ล้าน ลบ.ม อ่างเก็บน้ำห้วยส้มป้อย 0.000 ล้าน ลบ.ม อ่างเก็บน้ำช่อระกา 0.158 ล้าน ลบ.ม อ่างเก็บน้ำบาซ่า 0.000 ล้าน ลบ.ม อ่างเก็บน้ำหินลับมีด 0.158 ล้าน ลบ.ม อ่างเก็บน้ำบ้านเพชร 12.600 ล้าน ลบ.ม อ่างเก็บน้ำโครงการชลประทานพรม-เชิญ 0.240 ล้าน ลบ.ม.เท่านั้น
โดยเฉพาะปริมาณน้ำในเขื่อนจุฬาภรณ์ อ.คอนสาร รอยต่ออ.เกษตรสมบูรณ์ อ.ภูเขียว อ.บ้านแท่น อ.แก้งคร้อบางส่วน และอ.ชุมแพ จ.ขอนแก่น ที่ปัจุบันจะได้รับผลกระทบขาดน้ำตลอดทั้งสาย ซึ่งเขื่อนจุฬาภรณ์เหลือใช้ได้ในปัจจุบันอยู่ที่เพียง 4.02 ล้านลูกบาศก์เมตร( ลบ.ม.) ซึ่งสามารถเหลือให้ใช้ด้านการอุปโภคบริโภคได้เท่านั้นอีกไม่เกิน 4 สัปดาห์ จากความจุเขื่อนที่เคยมีกว่า 160 ล้าน ลบ.ม. ซึ่งได้แจ้งเตือนสถานการณ์น้ำในเขื่อนมีน้ำใช้การน้อยถึงจุดวิกฤตแล้ว จึงขอประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจให้กับประชาชนและทุกภาคส่วนใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อให้มีปริมาณน้ำที่มีอยู่อย่างจำกัดเพียงพอสำหรับอุปโภค-บริโภคและรักษาระบบนิเวศเท่านั้น
โดยนายสังวาล พรมสำลี หัวหน้ากองโรงไฟฟ้าเขื่อนจุฬาภรณ์ กล่าวว่า ขณะนี้สถานการณ์น้ำในเขื่อนจุฬาภรณ์ ถือว่าเหลือน้อยมาก ซึ่งจริงๆแล้วน้ำในเขื่อนจะต้องอยู่ที่ 163.75 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ตอนนี้น้ำเหลืออยู่ที่ไม่เกิน 41 ล้านลูกบาศก์เมตร ต่ำกว่าเส้นควบคุมระดับน้ำในเขื่อน (Rule Curve) -12.58 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่วนน้ำที่เหลือเพื่อใช้ได้ในปัจจุบันอยู่ที่ 4.02 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้ำจะต้องเหลือเพื่อเลี้ยงดินใต้เขื่อนไม่ให้ทรุดตัวหรือเกิดการแยกตัวของดินได้ ( Dead Storage) อยู่ที่ 37.21 ล้านลูกบาศก์เมตร
ซึ่งการประสานการบริหารจัดการเพื่อการจ่ายน้ำ ทางชลประทานได้แจ้งการใช้น้ำสัปดาห์ละ 1 ล้านลูกบาศก์เมตร คำนวณแล้วหากเป็นไปตามที่ชลประทานแจ้งประสาน ถ้าฝนยังไม่ตกลงมาเขื่อนจะเหลือน้ำใช้เพื่อการช่วยด้านอุปโภคบริโภคด้านการประปาได้ต่อจากนี้ไปได้ไม่เกิน 4 สัปดาห์เท่านั้น
ซึ่งยังต้องลุ้นช่วยกันว่าในช่วงนี้ขอให้มีฝนตกลงมาช่วยเติมน้ำในเขื่อน ให้มีจำนวนมากขึ้นหลังช่วง 1-2 วันนี้ที่ผ่านมา พอมีฝนตกลงมาบ้างได้มีน้ำไหลเข้าเขื่อนฯวันละ 1 แสนลูกบาศก์เมตร แต่ก็ถือว่าเป็นจำนวนน้ำไหลเข้าเขื่อนน้อนมาก ช่วงนี้จึงอยากขอร้องให้พี่น้องประชาชน ให้ใช้น้ำเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นหลักเท่านั้น ซึ่งในปีนี้ต้องรอความหวังจากฝนฟ้าที่จะต้องลงมาเท่านั้น หากต่อจากนี้ไปไม่มีฝนตกลงมาช่วยเพิ่มน้ำในเขื่อนได้อีกไม่เกิน 4 สัปดาห์เขื่อนเองก็วิกฤตไม่สามารถปล่อยน้ำไปช่วยได้อีกแล้ว
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: