ชัยภูมิ – ผู้ว่านำคณะหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ออกสำรวจพื้นที่ป่าต้นน้ำภูคลีจุดสูงสุดบนแผ่นกลางเมืองชัยภูมิสูงกว่าระดับน้ำทะเลเกือบ 1 กม.ซึ่งเป็นแหล่งกำเนิดป่าปรงพันปีที่มีความอุดมสมบูรณ์ที่สุดอีกแห่ง ที่เหลืออยู่ไม่กี่แห่งของเมืองไทยในปัจจุบัน บนเทือกเขาภูแลนคา แต่ยังพบสถานการณ์ระดับน้ำฝนที่ตกลงมายังน่าห่วงหากฝนทิ้งช่วงต่อไปอีกและยังต้องคอยช่วยกันประหยัดน้ำเพื่อช่วยกันติดตามสถานการณ์ภัยแล้งทุกพื้นที่อย่างใกล้ชิด!
( 27 ส.ค.62 ) ที่จ.ชัยภูมิ สถานการณ์ฝนทิ้งช่วงประสบภัยแล้งในหลายพื้นที่ยังน่าห่วง หลังจ.ชัยภูมิได้ประกาศเป็นพื้นที่ประสบภัยแล้งทั้งจังหวัดทั้ง 16 อำเภอแล้วมาตั้งแต่ต้นเดือนส.ค.ที่ผ่านมา ล่าสุดนายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ พร้อมด้วยนางวันดี วุ่นซิ้ว นายกเหล่ากาชาดจังหวัดชัยภูมิ นายวิชานนท์ แสนผาลา หัวหน้าอุทยานแห่งชาติภูแลนคา นายหนูแดง บุดดีหล้า ผญบ.บ้านบ่อทองคำ และคณะหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมชาวบ้านในพื้นที่ ร่วมกันเดินเท้าขึ้นสำรวจแหล่งป่าต้นน้ำบนภูคลี ซึ่งเป็นป่าต้นน้ำจุดสูงสุดในพื้นที่เขตอ.เมืองชัยภูมิ สูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 900 เมตร ที่ตั้งอยู่บนเทือกเขาภูแลนคา และเป็นแหล่งกำเนิดป่าปรงพันปีที่มีความอุดมสมบูรณ์อีกแห่งที่สำคัญของประเทศไทยที่เหลืออยู่ในปัจจุบันไม่กี่แห่งในทั่วประเทศ
ซึ่งอยู่ในเขตรับผิดชอบอุทยานแห่งชาติภูแลนคา บริเวณทางขึ้นจากหมู่บ้านบ่อทองคำ. ม 9. ต. ซับสีทอง อ เมืองชัยภูมิ ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำและไหลลงอ่างเก็บน้ำเขื่อนลำปะทาว (ตอนบน) ที่ถือเป็นแหล่งน้ำดิบแห่งใหญ่ที่สุด ในการจะมาช่วยเป็นต้นทุนน้ำดิบไปใช้ผลิตน้ำประปาส่งเลี้ยงชาวเขตเศรษฐกิจและชาว อ.เมืองชัยภูมิ เกือบทั้งหมดในปัจจุบัน
ข่าวน่าสนใจ:
โดยนายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ เปิดเผยหลังร่วมนำคณะออกสำรองพื้นที่รับน้ำช่วยภัยแล้งในปีนี้ที่เกิดภัยธรรมชาติฝนทิ้งช่วงมายาวนานหนักสุดในรอบหลายสิบปีของจ.ชัยภูมิ จากการเดินสำรวจพื้นที่บนภูคลี หรือป่าปรงพันปีเขตรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติภูแลนคา ซึ่งมีความสูงกว่าระดับน้ำทะเลกว่า 900 เมตร ซึ่งถึงแม้ว่าขณะนี้ในหลายพื้นที่พอเริ่มมีฝนตกลงมาบ้างแล้ว แต่ก็ยังถือว่าในภาพรวมในพื้นที่จ.ชัยภูมิ ยังมีฝนตกลงมาน้อยมากผิดปกติ
มีปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมา นั้นจึงยังไม่สามารถลงไปสมทบด้านล่างที่ฝายภูคลี และแหล่งเก็บน้ำอื่นๆ ได้อย่างเพียงพอ เทือกเขาแห่งนี้เป็นแหล่งต้นน้ำและมีฝายภูคลี ที่ทางภาครัฐได้สร้างขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำที่ไหลจากภูคลีลงไปสู่เขื่อนลำปะทาวตอนบน ซึ่งในทุกปีปกติน้ำจะมีปริมาณประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ ความจุของฝาย แต่ปีนี้มีปริมาณน้ำที่ยังคงเหลือในฝายน้อยมากแห้งขอดไปเกือบหมดเหลือไม่กี่เปอร์เซ็นต์
แต่ก็ยังคงมีความหวังว่าในช่วงนี้พอจะมีฝนตกลงมาบ้าง ซึ่งในช่วงระยะนี้ยังน้อย ส่วนหนึ่งจึงอยากให้ประชาชนช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัดเพื่อการบริโภคอุปโภคไปก่อน และหากในเขตตำบลอำเภอใดขาดน้ำหรือต้องการน้ำอุปโภคบริโภค ให้ประสานจากผู้นำท้องถิ่นและองค์กรท้องถิ่น ได้ตลอด เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของชาวบ้านไปก่อน ส่วนน้ำทางการเกษตรก็คงจะต้องอาศัยแหล่งน้ำใต้ดินที่พอจะทำได้บ้างส่วนไปก่อน
ซึ่งในส่วนของการแก้ไขปัญหาระยะยาว ทางจังหวัดจะมีการถอดบทเรียน การศึกษาและหาวิธีที่จะทำให้ผืนดินชุ่มชื่น หรือเก็บกักน้ำไว้ได้ อย่างเต็มที่เพื่อที่จะนำน้ำบาดาลเหล่านี้มาใช้ในสภาวะฉุกเฉินอย่าง สถานการณ์ฝนทิ้งช่วงในขณะนี้ ซึ่งที่ผ่านมาทางจังหวัดชัยภูมิ ได้ร่วมกันพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ โดยให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการปลูกป่า อนุรักษ์ป่าต้นน้ำทั้งเทือกเขาภูแลนคา รวมทั้งเมื่อปีที่ผ่านมาทางจังหวัดชัยภูมิ ได้ร่วมกันปลูกป่าโล่ใหญ่ สร้างฝายรักษ์น้ำมีชีวิตจำนวน กว่า 100 ฝาย ในเขตอุทยานแห่งชาติตาดโตน บนภูเขาหัวโล้น 5 ลูก บนพื้นที่ป่าโล่ใหญ่กว่า 13,000 ไร่
ที่ปัจจุบันมีต้นไม้เริ่มเจริญเติบโตและเริ่มออกดอก คาดว่าประมาณอีก 5 ปี จังหวัดชัยภูมิจะมีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์อย่างยั่งยืนตามมาในอนาคตได้จากโครงการปลูกป่าโล่ใหญ่ และที่สำคัญอยากให้พี่น้องชาวจังหวัดชัยภูมิทุกคนได้ตระหนักและเก็บประสบการณ์ภัยแล้งเหล่านี้ที่ปีนี้วิกฤตมากเพื่อที่จะช่วยกันนำไปถอดบทเรียน และร่วมกันร่วมสร้างพื้นป่าความชุ่มชื้นให้กับแผ่นดิน อย่างต่อเนื่องต่อไปช่วยกันให้มากขึ้นทุกพื้นที่ เพื่อที่จะไม่ให้เกิดสถานการณ์ ความเจ็บปวดของชาวชัยภูมิในครั้งนี้กลับคืนมาอีกในอนาคตต่อไปได้อีกด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: