ชัยภูมิ – และเพื่อเป็นการเตรียมรับมือสถานการณ์ภัยแล้งที่ปีนี้เริ่มมาเร็วกว่าทุกปี หลายพื้นที่ขาดแคลนน้ำตามสระ คูคลองที่มีในชุมชนต่างลดปริมาณใกล้แห้งขอดจนไม่สามารถประกอบอาชีพการเกษตรได้อีกไม่ถึงสัปดาห์ก็จะไม่เหลือน้ำเก็บไว้เพื่อการประกอบอาชีพการเกษตร และการอุปโภคบริโภคได้แล้วในหลายพื้นที่ ซึ่งการทำพิธีดังกล่าวชาวบ้านเชื่อว่ายังเป็นสิริมงคลให้กับคนในทั่วหมู่บ้าน ที่ต่างพากันแห่มุ่งมาร่วมพิธีดังกล่าวเพื่อร่วมกันกราบไหว้ขอพรโชคลาภในช่วงหน้าแล้งปีนี้คึกคักกว่าทุกปี!
( 25 เม.ย.61 ) ขณะที่จ.ชัยภูมิ สถานการณ์ภัยแล้งปีนี้เริ่มส่งสัญญาณมาเยือนแล้ว ทำให้ชาวบ้านในหลายพื้นที่เริ่มขาดแคลนน้ำเพื่อประกอบอาชีพทำการเกษตรตามมาอีกจำนวนมาก ขณะที่บริเวณศาลเจ้าพ่อกำนันอ้อง ในหมู่บ้านกระจวน หมู่ 4 ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ
ได้มีชาวบ้านกว่า 200 คน ทั้งผู้ใหญ่และเด็กต่างนำเครื่องเซ่นไหว้ ดอกไม้ ธูปเทียน หมากพลู อาหารคาวหวาน มารวมกันที่บริเวณศาลปู่ตาประจำหมู่บ้านดังกล่าว เพื่อร่วมกันทำพิธีไหว้บวงสรวงขอพรกันจำนวนมากต่อเนื่องไม่ขาดสาย เพื่อให้ได้ในสิ่งที่ตนเองต้องการมากที่สุดในปีนี้ คืออยากให้ฝนตกลงมาช่วยเติมน้ำในสระ คู คลอง ภาชนะเก็บกักที่มีในชุมชน ซึ่งช่วงนี้ที่เริ่มเข้าสู่ช่วงฤดูแล้งเต็มตัวแล้ว
เริ่มทำให้ประชาชนในพื้นที่ขาดแคลนน้ำเพื่อประกอบอาชีพทางการเกษตร การอุปโภค บริโภค เนื่องจากที่ผ่านมาในชุมชนแห่งนี้แล้งหนักมาต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ไม่มีฝนตกลงมาเติมน้ำตามแหล่งน้ำเก็บกักที่มีทั้งหมดไว้ได้เลย ทำให้ชาวบ้านต้องนำสิ่งของตามความเชื่อและต้องทำเป็นประเพณีปฏิบัติกันมายาวนานด้วยการพากันออกมาทำพิธีเซ่นไหว้ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้านแห่งนี้มาเป็นประจำทุกปี
ที่ในปีนี้ต้องมีการพากันออกมาทำพิธีเร็วกว่าทุกปี เพื่อกราบไหว้ขอพรขอโชคลาภ ให้ฝนได้ตกลงมาเร็วขึ้นกว่าทุกปี
โดยมีนางลิ้ม นามพรรษา อายุ 64 ปี ชาวบ้านเลขที่ 62 บ้านกระจวน ต.โคกสะอาด อ.หนองบัวระเหว จ.ชัยภูมิ ผู้นำทำพิธีให้กับชาวบ้านในครั้งนี้ กล่าวว่า การทำพิธีเซ่นไหว้ศาลปู่ตาที่นี่ถือเป็นประเพณีที่ต้องทำสืบทอดต่อเนื่องกันมายาวนานทุกปีมาแต่โบราณ ที่จะต้องมีการเตรียมไก่ต้มคนละ 1 ตัว เหล้าคนละ 1ขวด และนำใบตะไคร้หรือใบมะพร้าวมามัดเป็นม้าแทนตัวบุคคลภายในบ้าน ซึ่งบ้านหลังไหนมีสมาชิกมาก็ทำมามากหน่อย จนครบทุกคนของสมาชิกในบ้าน
พร้อมนำธูปเทียนหมากพลูใส่ตะกร้านำมาวางเพื่อถวายสักากระต่อศาลปู่ตา โดยจะมีนางลิ้ม นามพรรษา อายุ 64 ปี ซึ่งยังเป็นยังมีชีวิตอยู่สามารถนำทำพิธีที่ได้ ที่ได้รับการสืบทอดหมอขวัญจ้ำจาก แม่แก้ว แก้วอินทร์ อายุ 89 ปี ผู้เฒ่าเก่าแก่ที่สุดในหมู่บ้านที่เคยเป็น( จ้ำ) ที่ปัจจุบันอายุมากจนไม่สามารถนำทำพิธีวันนี้ได้แล้ว ซึ่งชาวบ้านจะถือว่าเป็นตัวแทนหมอทรงเจ้าพ่อ ที่ชาวบ้านเคารพนับถือในชุมชนได้ถ่ายทอดการทำพิธีกันมาต่อเนื่องจนปัจจุบัน
และเมื่อมีการทำพิธีกราบไหว้เสร็จก็จะมีการแห่เครื่องบริวารแห่บวงสรวงเจ้าพ่อเช่นช้างม้าวัวควายและอื่นๆที่ใช้ในการประกอบอาชีพ แห่ไปรอบๆศาล ทั้งนี้ก็ได้มีการนำบั้งไฟและตะไลมาแห่ขอพรเพื่อจุดเสี่ยงโชค ขอฝนเป็นหลักสำคัญในครั้งนี้ไปด้วย โดยก่อนจะจุดบั้งไฟก็จะมีการเขียนชื่อบ้าน ไร่ นา ใส่ในบั้งไฟแต่ละบั้งแล้วก็จุดหากบั้งไฟอันไหนขึ้นดีก็แสดงว่าจะส่งผลดีหากบั้งไฟบั้งไหนไม่ขึ้นก็แสดงว่าจะส่งผลไม่ดีในด้านนั้นๆกับคนที่เสี่ยงรายชื่อจุดบั้งไฟ ดังนั้นซึ่งสถานการณ์ภัยแล้งปีนี้ที่ชุมชนเริ่มขาดแคลนน้ำมาเร็วกว่าทุกปี จึงทำให้มีชาวบ้านแห่มาร่วมทำพิธีอย่างคึกคักกว่าทุกปี
ซึ่งด้านนางลิ้ม นามพรรษา อายุ 64 ปี เองก็เผยอีกว่า ตนเองอาศัยอยู่ที่หมู่บ้านแห่งนี้มานานหลายสิบปีตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน และมาปีนี้นับว่าเริ่มส่งสัญญาณว่าจะเกิดภัยแล้งหนักกว่าทุกปี ทั้งข้าวของที่ปลูกไว้ก็ใกล้จะแห้งตายหมดแล้ว เมื่อถึงกำหนดการเลี้ยงเจ้าพ่อหรือศาลปู่ตา ทุกคนในชุมชนก็จะนำสิ่งขอมาไหว้ขอพรจากเจ้าพ่อให้ช่วยปกปักษ์รักษาให้ครอบครัวอยู่ดีมีสุขและให้ช่วยดูแลพืชพลที่ปลูกไว้ให้ได้ผลดีหากปีไหนฝนไม่ตกก็ให้ตกลงมาโดยเร็ว ซึ่งชาวบ้านต่างก็อาศัยเจ้าพ่อ ศาลปู่ตาประจำหมู่บ้านแห่งนี้เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจและทำติดต่อกันมาชั่วลูกชั่วหลานและต่อๆกันมาจนปัจจุบัน
“ที่ก็ยังสามารถช่วยให้สถานการณ์ภัยแล้งในหมู่บ้านดีขึ้นได้มาตลอดหลังทำพิธีอย่างน่าอัศจรรย์ใจด้วยเป็นประจำทุกปีด้วยเช่นกัน ซึ่งก็ขอเป็นความเชื่อส่วนบุคคลของชาวบ้านที่นี่ก็แล้ว ทำแล้วสุขใจชาวบ้านมีกำลังใจก็เป็นเรื่องดีตามมาได้ในเบื้องต้นในทุกครั้งที่ทำพิธีด้วยเช่นกัน”นางลิ้ม กล่าวทิ้งท้าย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: