ชัยภูมิ – ประเพณีแห่นาคโหดไม่โหดไม่ได้บวช อีกหนึ่งสุดยอดประเพณีบวชนาค ที่ต้องบอกว่าสุดหาชมที่ไหนไม่ได้อีกแล้วที่มีที่นี่ที่ดียวในโลกเท่านั้นก็ว่าได้ ที่ยังมีให้เห็นหลงเหลือสืบทอดต่อกันมายาวนานมาแต่โบราณของชาวไทยที่นี่อยู่ในชุมชนหมู่บ้านโนนเสลา!
ขณะที่จ.ชัยภูมิ ในช่วงที่จะตรงกับช่วงวันเทศกาลจัดการสืบสานงานประเพณีงานบุญเดือนหก หรือช่วงการจัดอุปสมบทหมู่ให้กับลูกหลานคนในชุมชนหมู่บ้านโนนเสลา(สะ-เหลา) อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ ชาวบ้านที่นี่มีตำนานการทำพิธี “แห่นาคโหด” ที่หาชมได้ยากยิ่งเหลือเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย หรือมีแห่งเดียวในโลกในปัจจุบันก็ว่าได้
ซึ่งการแห่นาคโหดถือเป็นประเพณีที่ชาวบ้านที่นี่สืบทอดต่อกันมาโบราณที่สำคัญและชาวบ้านคนในชุมชนที่นี่จะออกมาร่วมแรงร่วมใจกันจัดสืบสานงานประเพณีเป็นประจำอย่างยิ่งใหญ่ทุกปี ณ เต็มบริเวณลานวัดตาแขก หมู่ 11 บ้านโนนเสลา ตำบลหนองตูม อำเภอภูเขียว จังหวัดชัยภูมิ ที่ชาวบ้านทุกคนจะถือเป็นวันสำคัญของชาวชุมชน ตามประเพณีที่ได้สืบทอดกันมาเป็นเวลาหลายร้อยปี จนเป็นตำนานของประเพณี การแห่นาคโหด ที่สะท้อนถึงวิถีชีวิตคนในชุมชนที่นี่มายาวนาน ว่าเป็นการทดสอบความอดทดของลูกผู้ชาย ต้องมีความอดทน มีสติ ไม่ย้อท้อต่อปัญหา และความตั้งใจที่จะฝ่าด่านคานหามบนแค่ไม้ไผ่แห่นาคโหดเข้าไปให้ถึงวัด เพื่อเข้าพิธีบวช หรืออุปสมบท แทนคุณบิดามารดาของตนเองให้ได้
ข่าวน่าสนใจ:
ด้วยวิธีการแปลกและโหดแบบสุดๆในพิธีการบวช หรือการจัดอุปสมทบให้กับคนหนุ่มวัยครบบวชในชุมชน ให้สำหรับคนหนุ่ม ที่คิดจะบวช และจะต้องผ่านขั้นตอนก่อนบวชที่สุดโหดครั้งนี้ไปให้ได้
ทั้งนี้นายสนิท ศรีบุดดา วัย 63 ปี ปราชญ์ชุมชนหมอพรหม ประจำชุมชนหมู่บ้านโนนเสลา กล่าวว่า ทุกปีในช่วงเทศกาลบุญเดือนหก จะต้องมีวัยรุ่นคนหนุ่มในหมู่บ้านที่ จะต้องมีอายุครบบวชตามประเพณี ที่สืบทอดต่อกันมายาวนานมาแต่โบราณหลายร้อยปี ตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ยาย ที่เคยร่วมทำพิธีบวชแห่นาคโหดทุกคนเกิดมาที่นี่ก็พบเห็นพิธีนี้กันมาแล้ว
“ต่างจะมาช่วยกันหามแคร่ไม้ไผ่ (ที่นั่งของนาค) เพื่อแห่ขบวนนาคบนคานหามไปรอบทั่วหมู่บ้าน ด้วยวิธีการเขย่าและโยนอย่างแรงไปมา หากนาคหรือผู้บวชหมดแรง ขาดความอดทนที่จะฝ่าฟันปัญหาความโหดครั้งนี้ให้กับตนเองไปไม่ได้ให้ตัวเองถึงวัดทำพิธีบวช ก็จะถือว่าขาดคุณสมบัติไม่สามารถผ่านการบวชแทนคุณพ่อแม่ในพิธีแห่นาคโหดของแต่ละปีไปได้ ที่ถือว่ามีแห่งเดียวในจังหวัดชัยภูมิ ที่คนในชุมชนที่นี่ถือปฏิบัติสืบต่อกกันมายาวนาน
พร้อมกันนี้ สิ่งที่เกิดขึ้นก็เพื่อแสดงออกถึงความตั้งใจ ความกตัญญูกตเวทีต่อพระคุณบิดามารดา ที่ชาวบ้านทุกคนจะต้องผ่านประเพณีแห่นาคโหดนี้ไปให้ได้ทุกคน รวมทั้งส่วนหนึ่งยังเป็นการสร้างความสนุกสนานสามัคคีให้กับคนในชุมชนที่นี่ ที่ถือว่าเป็นเรื่องธรรมดา ที่บางครั้งคนในชุมชนที่อื่นอาจจะมีมุมมองว่าการบวชที่อื่นอาจจะมองว่าโหด แต่คนที่นี่เพื่อเป็นการวัดใจ วัดความอดทน การที่จะอยู่บนคานหามแค่ไม้ไผ่ ผ่านไปเข้าวัดบวชในระยะทางกว่า 10 กม.ให้ได้คือสิ่งที่คนที่นี่ต้องผ่านด่านสุดโหดนี้ไปให้ได้ เพื่อให้คนโยกไปตลอดทาง ถึงแม้บางครั้งอาจจะต้องบาดเจ็บบ้างก็ตาม แต่ก็ได้แสดงถึงความอดทนที่จะทำให้พ่อแม่ ที่คนที่นี่ให้ความสำคัญมาแต่โบราณที่จะต้องบวชให้ได้ ถึงแม้จะมีอุปศักดิ์ปัญหาเพียงใดก็ตาม
ซึ่งตามความเชื่อหากใครผ่านพิธีแห่นาคโหดเข้ามาได้ ต่อไปปัญหาอุปศักดิ์ใดๆต่างๆที่จะเข้ามาในชีวิต ก็จะผ่านไปได้ด้วยดีเช่นกัน เพราะขนาดความโหดในการแห่นาคยังสามารถพาตัวเองผ่านไปได้ แล้วปัญหาอื่นๆก็ทำให้คนในชุมชนมีขวัญ กำลังใจ ผ่านการฝึกความอดทนเข็มแข็ง ไม่ย่อท้อต่อปัญหาชีวิตสังคมโดยรวมที่จะตามมาอีกจำนวนมากและต้องคิดที่จะสู้และผ่านมันไปให้ได้ต่อไปอีกด้วยเช่นกัน
ที่ชาวบ้านที่นี่ปฏิบัติสืบทอดต่อการมาแล้วยาวนาน ซึ่งก็ไม่มีการบังคับ ส่วนสำหรับคนที่ไม่มีความพร้อมที่จะมาถูกแบกหามบนแค่ไม้ไผ่ ก็ไม่มีการบังคับตามแต่ความพร้อมของร่างกายของแต่ละบุคคล และในพิธีแห่นาคโหดในปี 2561 นี้มีนาคพร้อมบวชครั้งนี้รวมทั้งหมด 11 รูป ท่ามกลางขบวนแห่นาคยาวกว่า 1 กิโลเมตรเลยทีเดียวที่ต้องบอกว่าได้รับความสนใจและส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมให้กับจ.ชัยภูมิคึกคักกว่าทุกปีเลยทีเดียว
โดยด้านนายไสว จรรย์โกมล นายก อบต.หนองตูม กล่าวว่า ประเพณีแห่นาคโหด มาจนปัจจุบันกลายเป็นงานประเพณีอันยิ่งใหญ่ จนโด่งดังไปทั่วประเทศไทยและต่างประเทศ ตลอดระยะเส้นทางการแห่นาคโหดรอบหมู่บ้านก่อนเข้าวัด ก่อนทำพิธีบวช ระยะทางกว่า 10 กิโลเมตร จนปัจจุบันได้กลายเป็นวันของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ซึ่งมีนักท่องเที่ยวเข้าร่วมงานในแต่ละปีร่วมหมื่นคน ซึ่งหมู่บ้านโนนเสลา มีความภาคภูมิใจร่วมกันมาตลอดยาวนาน
“ที่ถึงแม้ว่าคนอื่นอาจจะคิดว่าโหด แต่ความโหดมีสิ่งที่ตั้งใจของบุตรหลานที่เป็นกุศโลบายสนอใจให้คนหนุ่มที่นี่ต้องการจะบวชแทนพ่อคุณบิดรมารดา แสดงถึงความกตัญญูที่กล้าจะผ่านความโหดความท้าทายหนักเพียงใด ก็ต้องผ่านมันไปให้ได้ ก็คือสิ่งที่ดีๆที่อยากให้บุตรหลานให้ความสำคัญตอบแทนคุณพ่อแม่ที่เลี้ยงดูมายาวนานจนกว่าจะบวชได้กว่า 20 ปี แม่ตั้งท้องเจ็บปวดมากี่เดือน ที่สมัยก่อนหลังคลอดก็ต้องมานอนอยู่ไฟบนแค่ไม้ไผ่อยู่ไฟ แล้วเราจะเข้าบวชเพียงวันเดียวกับสิ่งที่เผชิญบนแค่แห่นาคโหดยังผ่านไม่ได้ แล้วจะผ่านอุปสรรคปัญหาชีวิตที่หนักหน่วงกว่านี้ไปได้อย่างไร”
ก็เป็นส่วนหนึ่งกับอีกหลายๆเสียงที่คนหนุ่มในหมู่บ้านโนนเสลาที่นี่ หนุ่มในหมู่บ้านโนนเสลา หมู่ 10 วัย 20 ปี อีกราย กล่าวว่า อยากให้รุ่นน้องๆและตนเองที่เป็นอีกคนที่มีอายุครบบวชเต็ม 20 ปีในปีนี้ 2561 อยากให้ความสำคัญว่า หากเกิดมาที่นี่แล้ว ใครส่วนใหญ่ที่ไม่ผ่านประเพณีแห่นาคโหดที่นี่แล้ว ก็ยังไม่มีความภูมิใจที่จะเกิดเป็นคนที่หมู่บ้านโนนเสลา ที่มีการสืบสานตำนานหมู่บ้านแห่นาคโหดมายาวนานให้คงอยู่กับรุ่นน้อง บุตรหลานให้คงอยู่ให้ได้ต่อไป สืบไปด้วยเช่นกัน
สำหรับในปีนี้ ได้กำหนดพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการเมื่อช่วงเวลา 14.00 น.ของวันที่ 2 พฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา โดยมีนายณรงค์ วุ่นซิ้ว ผู้ว่าราชการจังหวัดชัยภูมิ พร้อมด้วยนายมนตรี ชาลีเครือ นายก อบจ.ชัยภูมิ และนายไสว จรรย์โกมล นายกอบต.หนองตูม และตัวแทนหัวหน้าส่วนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ท่ามกลางประชาชนนับหมื่นคนมาร่วมงานกันเต็มลานวัดและถนนทุกสายในหมู่บ้านแห่งนี้แทบไม่มีที่ยืนในปีนี้อย่างคึกคึกกว่าทุกปี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: