X

โคราช-ชลประทานที่ 8 จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2562/63

สำนักงานชลประทานที่ 8 จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2562/63

วันอังคารที่ 28 มกราคุม 2563เวลา 09.30 น.ณ ห้องประขุม 1 ชั้น 4 สำนักงานชลประทานที่ 8จังหวัดนครราชสีมาแถลงข่าวจัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2562/63โดย นายเกียรติศักดิ์ หนูแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 นายวิวัฒน์ ฐิติรัตนอัศว์ ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 8กล่าวรายงานวัตถุประสงค์  ต่อจากนั้นรายงานสภาพอากาศ โดย อุตุนิยมวิทยาจังหวัดนครราชสีมา

ผู้สื่อข่าวรายงานว่าการบรรยายสรุปเมื่อเวลา09.30น.มีดังนี้-รายงานสถานการณ์น้ำ โดย นายวิวัฒน์ ฐิติรัตนอัศว์ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดกาน้ำและบำรุงรักษา สำนักงานชลประทานที่ 8-รายงานการแก้ไขปัญหาภัยแงในเขตจังหวัดนครราชสีมาโดย นายกิติกุล เสภาศีราภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครราชสีมา-รายงานการผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำตะคอง ไปยังลุ่มน้ำลำเซียงไกรโดย นายชยุรพงศ์ อำรุงสุข ผู้อำนวยการโครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง-รายงานการแก้ไขปัญหาน้ำประปาในเขตอำเภอเมืองจังหวัดบุรีรัมย์โดย นายเทิดพงศ์ ไทยอุดม ผู้อำนวยการโครงการชลประทานบุรีรัมย์-รายงานเครื่องจักรกล เครื่องมือของสำนักงานชลประทานที่ 8  

ที่เตรียมพร้อมสนับสนุนเพื่อช่วยเหลือการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และรถน้ำที่จะบรรทุกน้ำเพื่อช่วยเหลือประชาชนในวันนี้ โดย นายกระวิน โพธิ์นาคเงิน ผู้อำนวยการส่วนเครื่องจักรกล สำนักงานชลประทานที่ 8และพิธีปล่อยคาราวานเครื่องจักรกล เครื่องสูบน้ำ และ รถบรรทุกน้ำ

ทั้งนี้ นายเกียรติศักดิ์ หนูแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่ 8 ได้เปิดเผยถึงสถานการณ์น้ำในเขตสำนักงานชลประทานที่ 8 ว่าปัจจุบัน สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน5 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง จำนวน 71 แห่งมีปริมาณน้ำใช้การได้รวม 592 ล้าน ลบ.ม. จากความจุใช้การได้ 1,764 ล้าน ลบ.ม. หรือร้อยละ 33 ของความจุใช้การได้ (ปริมาณน้ำเก็บกักสูงสุดรวมกัน 1,866 ล้าน ลบ.ม.) ซึ่ง ได้วางแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูแล้งปี 2562/63 ไว้จำนวน 412 ล้าน ลบ.ม. สำหรับกิจกรรมต่างฯ ได้แก่ เพื่อการอุปโภค – บริโภค 88 ล้าน ลบ.ม. เพื่อรักษาระบบนิเวศ 156 ล้าน ลบ.ม.เพื่อการอุตสาหกรรม 16 ล้าน ลบ.ม. และเพื่อการเกษตร 152 ล้าน ลบ.ม. ปัจจุบันมีการใช้น้ำไปแล้ว 128 ล้าน ลบ.ม. หรือประมาณ 31% ของแผนยังเหลือปริมาณน้ำที่ต้องจัดสรรตามแผนอีก 285 ล้าน ลบ.ม. นอกจากนี้ยังมีการสำรองน้ำไว้สำหรับช่วงต้นฤดูฝนปี 2563 กรณีฝนมาช้า เพื่อกิจกรรมสำคัญ ได้แก่ เพื่อการอุปโภค – บริโภค และรักษาระบบนิเวศ เป็นเวลา 3 เดือน คือตั้งแต่เดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม 2563 ไว้อีกจำนวน 255 ล้าน ลบ.ม.หากมีการบริหารจัดการน้ำ ตามแผนที่วางไว้ ก็จะไม่เกิดปัญหาการขาดแคลนน้ำในเขตชลประทานตลอดช่วงฤดูแล้งนี้ รวมทั้งต้นฤดูฝนที่จะถึงอย่างแน่นอน

สำนักงานชลประทานที่ 8 ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤติภัยแล้งปี 2562/63 ตามนโยบายของ นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้อธิบดีกรมชลประทาน จัดตั้งศูนย์อำนวยการเฉพาะกิจแก้ไขและบรรเทาวิกฤติภัยแล้ง ปี 2562/63 เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2562 และตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 มกราคม 2563 เรื่อง ขอความเห็นชอบกรอบโครงสร้างศูนย์บัญชาการเฉพาะกิจและแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำ โดยให้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติประสานการปฏิบัติงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิด เพื่อให้การดำเนินการสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้สามารถดำเนินการบรรลุตามวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์ต่อประชาชนส่วนรวมนอกจากนี้ยังได้เตรียมพร้อมเครื่องจักร และยานพาหนะที่ใช้ดำเนินการให้ความช่วยเหลือภัยแล้ง ในพื้นที่ทั้งในเขตชลประทานและนอกเขตชลประทานไว้ทั้งหมด 116 เครื่อง ประกอบด้วย เครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 80 เครื่อง รถบรรทุกน้ำขนาด 6,000 ลิตร จำนวน 23 คัน และยานพาหนะต่างๆ จำนวน 13 คัน ซึ่งปัจจุบันได้ส่งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ ออกปฏิบัติงานช่วยเหลือการอุปโภค – บริโภค และการเกษตรกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆแล้ว จำนวน 41 เครื่อง และในวันนี้ได้ส่งรถบรรทุกน้ำ จำนวน 7 คัน รวม 13 เที่ยว ปริมาณน้ำรวม 78,000 ลิตร เข้าช่วยเหลือการอุปโภค – บริโภค ในเขตพื้นที่ ตำบลใหม่ อำเภอโนนสูง และ ตำบลไชยมงคล อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ทั้งนี้สำนักงานชลประทานที่ 8 จะออกปฏิบัติการช่วยเหลือและบรรเทาความเดือดร้อนของเกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงฤดูแล้งนี้

ภาพ/ข่าวนายสันติ วงษาเกษ โทร.088-3590921

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน