วันที่ 22 ก.พ.2563 ณ หอประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา กิจกรรมจิตอาสาต้านภัยแล้ง การประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืนโดยพล.ร.อ.ปวิตร รุจิเทศ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน พลเอก ศิวะ ภระมรทัตผู้บัญชาการกองกำลังจิตอาสาพระราชทาน ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ผู้แทนหน่วยงานระดับกระทรวง กรม หน่วยงานภาคเอกชน ทั้งนี้นายฉัตรชัย พรหมเลิศปลัดกระทรวงมหาดไทยปลัดกระทรวงมหาดไทยคำกล่าวในพิธีเปิดและ นายมณฑล สุดประเสริฐอธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยคำกล่าวรายงานในพิธีเปิด
รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในการป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้งมาอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2563 ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ฝนที่ตกน้อยกว่าค่าปกติต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2562 และจากการบูรณาการทำงานร่วมกันหน่วยงานด้านการพยากรณ์ได้คาดการณ์ว่าช่วง 6 เดือนแรกของปี 2563 ฝนจะมาช้ากว่าปกติ ประกอบกับหน่วยงานด้านบริหารจัดการน้ำได้มีการรายงานถึงปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดต่าง ๆ ของประเทศ ว่ามีปริมาณน้ำกักเก็บและน้ำใช้การน้อยกว่าปีที่ผ่าน ๆ มา ซึ่งสถานการณ์ภัยแล้งได้เริ่มปรากฏมาตั้งแต่วันที่ 17 ตุลาคม 2562 จนถึงปัจจุบันมีการประกาศเขตให้ความช่วยเหลือฯ ในพื้นที่ 22 จังหวัด และยังมีแนวโน้มที่จะเกิดภัยแล้งขึ้นต่อเนื่องอีกในหลายพื้นที่
ข่าวน่าสนใจ:
การประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืนในครั้งนี้ขึ้นโดยดำเนินการระหว่างวันที่ 22 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งเป็นจังหวัดต้นแบบ และจังหวัดที่ได้ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือฯ อีก 21 จังหวัดมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นต้นแบบในการปฏิบัติการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งแบบบูรณาการให้กับหน่วยงานทุกภาคส่วน ทั้งจากส่วนกลาง กลุ่มจังหวัด จังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยการมีส่วนร่วมของประชาชนจิตอาสาในทุกระดับอย่างเป็นระบบแบ่งการปฏิบัติออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่
1. ขั้นเตรียมการและทดสอบแผน เป็นการประชุมหารือเพื่อกำหนดแนวทาง รับฟังสถานการณ์ภัยแล้ง แลกเปลี่ยนข้อมูลที่จำเป็น และทำการทดสอบแผนการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งแบบบนโต๊ะ
2. ขั้นการปฏิบัติ เป็นการนำแผนที่ได้จากในขั้นเตรียมการและทดสอบแผนไปสู่การปฏิบัติในพื้นที่จริง
3. ขั้นทบทวนการปฏิบัติและจัดทำข้อเสนอแนะ เป็นการประเมินผลและทบทวนการดำเนินการแก้ไขปัญหาวิกฤตภัยแล้งในระยะเร่งด่วนเพื่อนำไปสู่การพัฒนาและปรับปรุงแผนการดำเนินการในระยะยาวโดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด หน่วยงานทั้งจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาครวมจำนวน 29 หน่วยงานรวมทั้งประชาชนจิตอาสา
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าสำหรับรูปแบบการดำเนินโครงการจิตอาสาต้านภัยแล้งฯ ระหว่างวันที่ 22 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 โดยวันที่22 กุมภาพันธ์ 2563 จะมีพิธีเปิดโครงการฯ (Kck off) ณ หอประชุมมูลนิธิพลเอก เปรม ติณสูลานนท์ ณ จังหวัดนครราชสีมา พร้อมประชุมมอบนโยบายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัด 76 จังหวัด ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และผู้แทนจังหวัดที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 22 จังหวัดรวมถึงหารือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 จะเป็นการฝึกทดสอบแผนบนโต๊ะ (Table Top Exercise : TX) ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างรอบด้าน เพื่อให้บรรลุประสงค์แก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างเป็นระบบและยั่งยืน โดยเน้นเป้าหมายสำคัญอาทิ การกำหนดพื้นที่เสี่ยง การจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของการบรรเทาปัญหาภัยแล้ง การจัดสรรทรัพยากร การแบ่งมอบพื้นที่รับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมของกลไกจิตอาสา สำหรับในวันที่ 24 -25 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นการฝึกปฏิบัติในพื้นที่ ณ ศูนย์สาธิต ทฤษฎีใหม่ ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย อำเคอสูงนิน และอำภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมาหลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินกิจกรรม ณ จังหวัดนครราชสีมา ผู้แทนจากจังหวัดที่ประกาศเขตฯ ภัยแล้งจำนวน 22 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนครกาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และฉะเชิงเทรา จะนำต้นแบบการบริหารจัดการปัญหาภัยแล้งของจังหวัดนครราชสีมาไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ โดยให้ความสำคัญการสำรวจและชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงภัย การกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหารวมถึงสำรวจละจัดเตรียมทรัพยากรให้พร้อมปฏิบัติการแก้ไขสถานการณ์ภัยแล้งทั้งนี้ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563 จะมีการบูรณาการสรรพกำลังและปล่อยขบวนเครื่องจักรกล ยานพาหนะออกปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างพร้อมเพรียงกันทั้ง 22จังหวัด และปฏิบัติภารกิจอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: