วันที่ 27 พฤษภาคม 2562ณ โรงแรมฟอร์จูนราชพฤกษ์นครราชสีมา อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมาศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ รามสูต ประธานมูลนิธิราชประชาสมาสัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ เป็นประธานพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) พัฒนาระบบกลไกการจัดการระบบการป้องกันควบคุมโรคในเขตเมืองใหญ่ สู่เมืองน่าอยู่ ปลอดโรค ปลอดภัยพิธีลงนามความร่วมมือฯ ในวันนี้ประกอบด้วย สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา เทศบาลนครนครราชสีมา สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดนครราชสีมา มูลนิธิราชประชาสมาสัยในพระบรมราชูปถัมภ์ สำนักงานขนส่งจังหวัดนครราชสีมา และองค์กรภาคเอกชน
ข่าวน่าสนใจ:
- ชมรมโฮปฯ ร่วมกับชุมชน จัดกิจกรรม ซานตาโฮป แจกของขวัญให้กับเด็กในชุมชนกว่าพันชิ้น
- นครพนม: เลขาธิการ ป.ป.ส. และ มทภ.2/ผบ.นบ.ยส.24 ประชุมสรุปผลรอบ 3 เดือน โชว์ผลงานยึดยาบ้ากว่า 45 ล้านเม็ด มูลค่ากว่า 3 พันล้านบาท
- ระทึก เพลิงไหม้บ้าน 2 ชั้นวอดทั้งหลัง น้องแมว 7 ชีวิต รอดตายหวุดหวิด โดย 3 ตัวโดนไฟลวกบาดเจ็บ
- ชายวัย 50 ปี เปลี่ยนถังแก๊สเอง จุดเตาทำกับข้าวไฟพรึ่บคลอกเจ็บหนัก
สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 นครราชสีมา ร่วมกับภาคีเครือข่าย จัดพิธีลงนามข้อตกลงความร่วมมือพัฒนาระบบกลไกการจัดการระบบการป้องกันควบคุมโรคในเขตเมืองใหญ่ สู่เมืองน่าอยู่ ปลอดโรค ปลอดภัย เพื่อยุติปัญหาวัณโรคและโรคไข้หวัดใหญ่ที่มีความรุนแรง เพื่อให้ประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองนครราชสีมา มีคุณภาพชีวิตที่ดี
ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระ รามสูต ได้กล่าวถึงสถานการณ์ของโรคไข้หวัดใหญ่ว่า ในปี 2562 ตั้งแต่เดือนมกราคม จนถึงเดือนพฤษภาคม จังหวัดนครราชสีมาพบผู้ป่วยสูงถึง 10,379 ราย สูงกว่าจังหวัดอื่น ๆ ในเขตสุขภาพที่ 9 และมีอัตราการป่วยของประชากรในเขตเมืองสูงกว่าเขตชนบทถึง 3 เท่า โดยพบผู้เสียชีวิตแล้ว 2 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยในอำเภอเมืองนครราชสีมา และยังพบว่ามีการระบาดตามสถานที่ทำงาน และสถานที่ที่มีผู้มาใช้บริการจำนวนมาก ซึ่งโรคไข้หวัดใหญ่สามารถแพร่กระจายเชื้อสู่ผู้อื่นได้โดยการไอ จาม หรือสัมผัสละอองฝอยของเชื้อโรคที่ลอยอยู่ในอากาศ โดยเฉพาะในพื้นที่ปิด เช่น ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ บนรถทัวร์ เป็นต้น
ส่วนสถานการณ์โรควัณโรค พบว่าประเทศไทยติดอันดับที่ 14 ในกลุ่มประเทศที่มีปัญหาวัณโรคสูง ประมาณการว่าจะมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ 108,000 รายต่อปี และเสียชีวิตจากวัณโรค 12,000 รายต่อปี ที่สำคัญคือ วัณโรคดื้อยาหลายขนานที่คาดว่าอาจมีมากถึง 3,900 ราย ค่าใช้จ่ายในการรักษาวัณโรคดื้อยาหลายขนาน 1.2 แสนบาทต่อราย และถ้าเป็นวัณโรคดื้อยาหลายขนานชนิดรุนแรงมาก จะมีค่าใช้จ่ายสูงถึง 1.2 ล้านบาทต่อราย โดยมีผู้เข้าร่วมพิธีทั้งสิ้น 90 คน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: