เทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีให้ 6ด้านหลักในการเพื่อทำหน้าที่หลักในการประสานนโยบายและดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ และจัดทำแผนปฏิบัติการ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าเมื่อวันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2562ณ ห้องประชุมสุวัจน์ ลิปตพัลลภ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาจังหวัดนครราชสีมา สัมมนาเสริมสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมาโดยนายเทวัญลิปตพัลลภรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการคุ้มครอง ผู้บริโภค เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสัมมนาเสริมสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาค นายวิเชียร จันทรโณทัยผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย พล.ต.ต.ประสิทธิ์ เฉลิมวุฒิศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคกล่าวรายงานผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย หัวหน้าส่วนราชการ ผู้แทนส่วนราชการองค์กรปกครอง ส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน นักเรียน นักศึกษา เครือข่ายภาคประชาชน และประชาชนในพื้นที่จังหวัดตามเป้าหมาย จำนวน 1,000 คน
(นายเทวัญ ลิปตพัลลภ) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่ากระผม ในฐานะประธานกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ได้กำหนดนโยบายการปฏิบัติงานของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคตามประเด็นยุทธศาตร์ชาติ ด้านการสร้างโอกาสและความเสมอภาคทางสังคม เรื่อง การลดความเหลื่อมล้ำ สร้างความเป็นธรรมในทุกมิติโดยการคุ้มครองผู้บริโภค ให้เน้นการแก้ไขกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม ปรับปรุงระบบและกลไกในการคุ้มครองผู้บริโภค ส่งเสริมโดยสนับสนุนให้ สคบ.ขยายหน่วยงานคุ้มครองผู้บริโภคไปสู่ภูมิภาคในรูปแบบ สคบ. เขต เพื่อทำหน้าที่หลักในการประสานนโยบายและดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ และจัดทำแผนปฏิบัติการไปสู่การปฏิบัติในระดับจังหวัดและท้องถิ่น รวมทั้งปฏิบัติงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองผู้บริโภคในทันที ให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้ใช้บริการได้อย่างรวดเร็ว เป็นธรรม โปร่งใสและตรวจสอบได้ สนับสนุนองค์กรของผู้บริโภคให้มีความเข้มแข็ง ป้องกันการละเมิดสิทธิผู้บริโภคและอำนวยความยุติธรรมแก่ผู้บริโภค สนับสนุนการบริโภคอย่างยั่งยืน และส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทในการคุ้มครองผู้บริโภคได้อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อรองรับปัญหาความเดือนร้อนของประชาชนผู้บริโภคในส่วนภูมิภาค ดังนี้
1. ด้านการให้บริการประชาชน
การให้บริการประชาชนด้วยความรวดเร็ว ให้ประชาชนรับรู้ได้ถึงการดูแลเอาใจใส่ โดยยึดหลัก “ประชาชนสบายใจ พึงพอใจที่ได้มาใช้บริการกับ สคบ.” ทุกขั้นตอนมีการกำหนดระยะเวลาดำเนินการที่แน่นอน โดยมีรายละเอียดดังนี้ การให้บริการประชาชนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนกลาง ในขั้นตอนของการรับเรื่องร้องเรียน ต้องดำเนินการทันที และมีระบบตอบกลับทาง SMS มีการแจ้งความคืบหน้าทุก 15วัน และสามารถติดตามสถานะได้ทางระบบร้องทุกข์ออนไลน์ โดยขอให้สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคจัดทำข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน ตลอดจนการฟ้องคดีแทนผู้บริโภค และการบังคับคดี (ยึดทรัพย์) ต้องมีความรวดเร็วเพื่อประโยชน์ของผู้บริโภคการให้บริการประชาชนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาค ต้องสะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง มีการบูรณาการร่วมกันของหน่วยงานภาครัฐและเครือข่ายต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ และให้มีเจ้าหน้าที่ของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค จำนวน 2 คนปฏิบัติงานประจำอยู่ที่ศูนย์ดำรงธรรมประจำจังหวัด เพื่อคอยประสานงานกับส่วนกลาง และหากมีกรณีพบปัญหาหรือกรณีจำเป็นเร่งด่วนอื่นใด โดยเฉพาะการตรวจสอบผู้ประกอบการ การไกล่เกลี่ย การพิจารณากลั่นกรองในการฟ้องคดีแทน ตลอดจนการให้ความรู้แก่ประชาชนและผู้ประกอบธุรกิจ (จังหวัดเคลื่อนที่) เจ้าหน้าที่ส่วนกลางจะลงพื้นที่ในทันทีเพื่อให้การบริการประชาชนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
2. ด้านคุณภาพของคน
การมุ่งพัฒนาบุคลากรในทุกมิติ และนำเทคโนโลยีมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด มีการแสดงข้อกฎหมายบนจอคอมพิวเตอร์ พร้อมคำตอบ และปัญหาที่พบประจำ มีการบันทึกเทปการสนทนา มีการจัดหลักสูตรให้เจ้าหน้าที่รับเรื่องได้รับการอบรมพัฒนาด้านการรับเรื่อง ทักษะการรองรับอารมณ์ผู้ร้องตลอดเวลา และ/หรือหลักสูตรการจัดการกับภาวะความเครียดที่เกิดจากความกดดันในการทำงานต่าง ๆ
3. ด้านการใช้เครือข่าย
การพัฒนาเครือข่ายในทุกภาคส่วน เพื่อการดำเนินการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างทั่วถึง โดยสนับสนุนให้มีการเผยแพร่ความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคแก่ทุกภาคส่วนไม่ว่าจะเป็น การให้ความรู้แก่ชุมชน หมู่บ้านระดับตำบล (อาสาประชารัฐ) เพื่อให้สามารถนำความรู้ไปเผยแพร่ และ/หรือ สอดส่องการกระทำผิดในชุมชน การให้ความรู้แก่สมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ตลอดจนนักศึกษาระดับอุดมศึกษา
เพื่อพัฒนาเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคให้มีประสิทธิภาพ
4. ด้านธุรกิจขายตรงและตลาดแบบตรง
สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค ต้องเตรียมพร้อมและปรับปรุงแนวทางดำเนินงานให้เท่าทันสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็น กฎหมายวางหลักประกัน ศูนย์คุ้มครองผู้บริโภคด้านพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ การมอบตราสัญลักษณ์ให้ตลาดแบบตรง ซึ่งผู้มีตราสัญลักษณ์สามารถตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้นของบริษัท หรือสินค้าที่จำหน่าย (OCPB Guaranteed) ตลอดจนการติดตามสถานการณ์และศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดออนไลน์อย่างใกล้ชิด
5. ด้านการประชาสัมพันธ์
การส่งเสริมให้มีการใช้ช่องทางการสื่อสารอย่างครบวงจรทันต่อสถานการณ์ ไม่ว่าจะเป็นทางวิทยุ (รายการในปัจจุบัน กรมประชาสัมพันธ์ วิทยุรัฐสภา) ทางโทรทัศน์ (รายการในปัจจุบันสกู๊ปข่าว) ทางหนังสือพิมพ์ (รายการในปัจจุบัน เดลินิวส์) ทางสื่อโซเชียล อาทิ LINE@ / Facebook / Website / Youtube / Pantip มีการจัดกิจกรรมเพื่อการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม (การประกวดหนังสั้น) ตลอดจนการจัดกำหนดการพบปะสื่อมวลชนเป็นประจำสม่ำเสมอเพื่อประชาสัมพันธ์ให้สังคมได้รับทราบถึงการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค
6. ด้านแนวทางการป้องกัน
การวางแนวทางการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดในการปฏิบัติงาน และปรับปรุงการปฏิบัติงานให้เท่าทันต่อสถานการณ์ โดยกำหนดเป็นมาตรการเฉพาะด้าน ไม่ว่าจะเป็นการแจ้งเตือนภัยด้านศูนย์เฝ้าระวัง การให้ความรู้แก่ผู้ประกอบธุรกิจ การคืนสินค้าบางรายการ (ให้บริษัทมีหน่วยรับเรื่องแก้ปัญหาเบื้องต้นให้ลูกค้า) ตลอดจนมาตรการป้องกันการหลอกลวง : โดยให้ สคบ. ลงพื้นที่ทันทีเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้บริโภคได้อย่างทันท่วงทีดังนั้น ในการจัดโครงการในครั้งนี้ นับว่าเป็นโอกาสดีที่ทุกท่าน จะได้รับทราบ เข้าใจในแนวทางการดำเนินงาน มีความเข้าใจในการปฏิบัติงานด้านการคุ้มครองผู้บริโภค ทั้งในเรื่องของการรับเรื่องราวร้องทุกข์จากผู้บริโภคการตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจ การส่งเสริมและสนับสนุนเครือข่ายด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อให้การทำงานเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ตลอดจน สามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดความคุ้มค่า รวมทั้งประโยชน์สูงสุดต่อหน่วยงาน ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทุกท่านคงได้รับความรู้ จากโครงการในครั้งนี้
วัตถุประสงค์การจัดโครงการฯ ตามนโยบายรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเทวัญ ลิปตพัลลภ) กำหนดให้มีการส่งเสริมบทบาทขององค์กรภาคเอกชนและภาคประชาชนควบคู่กับภาคราชการในการพัฒนาศักยภาพประชาชนและชุมชนท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิดการรวมกลุ่มที่มีความเข้มแข็งสามารถพิทักษ์ปกป้องสิทธิและผลประโยชน์ของตนและสังคมไทย จึงมอบหมายให้ สคบ. ให้ความสำคัญกับการทำงานเชิงรุก ทั้งการป้องกันการเฝ้าระวัง การสร้างการรับรู้ และการบังคับใช้กฎหมาย โดยการทำงานแบบมีส่วนร่วมทุกภาคส่วน พร้อมทั้งขยายเครือข่ายความร่วมมือทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค โดยการทำงานแบบบูรณาการร่วมกันทุกภาคส่วนผ่านกลไกต่าง ๆ ได้แก่ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานยุติธรรมจังหวัดศูนย์ยุติธรรมชุมชน สำนักงานกองทุนหมู่บ้าน และชุมชนเมืองแห่งชาติอาสาประชารัฐ (โดยสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ) โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับหน่วยงานราชการที่มีภารกิจเกี่ยวข้องกันในด้านการคุ้มครองผู้บริโภค เน้นประชาชนเป็นศูนย์กลางในการสร้างการรับรู้เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องสามารถใช้บริการของ สคบ.ได้อย่างทั่วถึง สะดวก รวดเร็ว พร้อมทั้งบังคับช้กฎหมายให้เกิดความเป็นรูปธรรมเพื่อเป็นการสร้างความเข้มแข็งและประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้นการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค โดยสำนักประสานและส่งเริมการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัด ได้ดำเนินการสนับสนุนการดำเนินการจัดการกลไกการคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดและท้องถิ่นและเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนด้านการคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคโดยเน้นการส่งเสริมภาคีเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น จึงได้จัดทำโครงการสัมมนาเสริมสร้างเครือข่ายคุ้มครองผู้บริโภคในส่วนภูมิภาคขึ้น ทั้งนี้เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562 สคบ ลงพื้นที่ตรวจสอบผู้ประกอบธุรกิจด้านโฆษณาด้านสัญญา และความปลอดภัยของอาหารสด ในเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: