ตรัง – หมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง ต.ท่าข้าม อ.ปะเหลียน
วันที่ 5 ธันวาคม 2562 นางราตรี เอ้งฉ้วน ประธานกลุ่มศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 5 ต.ท่าข้าม อ.ปะเหลียน จ.ตรัง พร้อมด้วยนายเด่น เสียมไหม กำนัน ต.ท่าข้าม และคณะทำงานหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง หมู่ 5 ต.ท่าข้าม นำผู้สื่อข่าวดูความก้าวหน้าหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง เดินตามรอยเท้าพ่อที่น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวง รัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในหมู่บ้าน จนประสบความสำเร็จในหลายๆด้าน โดยแต่ละกิจกรรมจะมีครัวเรือนต้นแบบ เช่น ครัวเรือนต้นแบบด้านพลังงาน จากสำนักงานพลังงานจังหวัดตรัง ,ครัวเรือนต้นแบบการรับซื้อขยะรีไซเคิลในครัวเรือน ,ครัวเรือนต้นแบบการคัดแยกขยะมูลฝอยและอนุรักษ์พลังงาน ,ครัวเรือนต้นแบบน้ำหมักชีวภาพ และปลูกผักปลอดสารพิษ จากสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตรัง จากนั้นได้ขยายไปยังครัวเรือนอื่นๆ
ทั้งนี้ ด้านการประหยัดพลังงาน เช่น การผันน้ำดิบมาใช้กับการเกษตรโดยดัดแปลงจักรยานมาปั่นสูบน้ำจากลำห้วย การติดตั้งแผงโซล่าเซลขนาดเล็กไว้ใช้ในครัวเรือน เพื่อประหยัดพลังงาน และโดยนำพลังงานสะอาด และพลังงานธรรมชาติแสงอาทิตย์มาใช้ในครัวเรือน และศูนย์เรียนรู้ เพื่อเป็นตัวอย่างแก่ประชาชน โดยได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากพลังงานจังหวัด บ้านต้นแบบการประหยัดไฟฟ้าในครัวเรือน โดยการถอดปลั๊กไฟทั้งหมดหลังการใช้งาน การทำปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เองในครัวเรือน การจัดการขยะจนบางครัวเรือนได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ เป็นทสม.(อาสาสมัครทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมหมู่บ้าน) ต้นแบบการรับซื้อขยะรีไซเคิลในครัวเรือนมาคัดแยกและส่งขาย เพื่อลดปัญหาขยะในพื้นที่จนทำให้เป็นอาชีพหลักในการประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัว การเลี้ยงสัตว์ การปลูกพืชผักสวนครัว รวมทั้งปลูกแซมในสวนยางพารา โดยไม่ใช้สารเคมี ทั้งไว้รับประทานในครัวเรือน เพื่อประหยัดรายจ่าย และขายสร้างรายได้เสริม การเลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะการเลี้ยงเป็ด นอกจากได้ไข่แล้ว ยังสามารถใช้เป็นกำจัดวัชพืชในแปลงสวนยางโดยธรรมชาติ โดยการล้อมขังเป็ดไว้เป็นบริเวณกว้างในพื้นที่ที่มีหญ้าขึ้นรก สุดท้ายหญ้าจะตายทั้งหมดโดยไม่ต้องใช้ยาฆ่าหญ้ากำจัดวัชพืช และดินได้ปุ๋ย ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ รวมทั้งการดูแลครัวเรือนยากจน ผ่านโครงการบ้านพอเพียง โดยไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
ซึ่งที่ต.ท่าข้าม อ.ปะเหลียน คณะกรรมการบ้านพอเพียงสามารถบริหารจัดการงบประมาณที่ได้รับการจัดสรรสำหรับการสร้างบ้านพอเพียงให้แก่ครัวเรือนยากจนได้เกินเป้าหมายที่ได้รับงบประมาณมา เช่น ในปี 2562 ได้รับงบประมาณสร้างบ้านพอเพียงมาทั้งตำบลจำนวน 21 ครัวเรือน จำนวนเงิน 3.9 แสน แต่สร้างได้จริงจำนวนมากถึง 27 หลัง โดยมีการจัดตั้งกองทุนผู้อยู่อาศัย ต.ท่าข้ามขึ้น เพื่อให้สมาชิกบ้านยากจนกู้เงินหมุนเวียน ถ้าใครอยากกู้ต้องเป็นสมาชิกบ้านพอเพียงได้งบ 10,000 บาทต่อหลัง แต่มีกติการ่วมกันว่าคืนเงินเข้ากองทุน 3,000 บาท ซึ่งแต่ละหลังสามารถสร้างได้อย่างประหยัดและสำเร็จ ทั้งนี้ หลังจากได้รับงบโครงการบ้านพอเพียงไปแต่ละหลัง จะมีเงินคืนกลับมาที่กองทุน 30% ทำให้สามารถนำไปช่วยเหลือ หรือให้สมาชิกคนอื่นๆกู้เพิ่มได้ เช่น อาจนำไปซ่อมแซมบ้าน นอกจากนั้นสมาชิกแต่ละคนมีเงินออมเดือนละ 30 บาทเข้ากองทุนผู้อยู่อาศัยดังกล่าวด้วย
นางราตรี เอ้งฉ้วน ประธานกลุ่มศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง (เจ้าของบ้านปั่นจยย.สูบน้ำและติดตั้งแผงโซล่าใช้ในบ้าน) กล่าวว่า ที่บ้านทำเป็นศูนย์เรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียง เดินตามรอยเท้าพ่อ และเป็นศูนย์เรียนรู้พลังงานชุมชนด้วย ตนเองใช้วิธีปั่นจักรยานเพื่อสูบน้ำจากลำห้วยข้างบ้านขึ้นมาสำหรับรถน้ำต้นไม้ภายในศูนย์ฯ ซึ่งได้ออกกำลังกายด้วย และประหยัดพลังงาน รวมทั้งได้ติดตั้งแผงโซล่าเซลเล็กๆ ขนาด 15 แอมป์ ไว้สำหรับเก็บพลังงานแสงอาทิตย์ไว้ใตอนนกลางวัน เพื่อใช้เปิดเป็นไฟส่องสว่างในตอนกลางคืนแทนการเปิดไฟฟ้าธรรมดา ทำให้ประหยัดค่าไฟได้เป็นอย่างมาก ทำให้ค่าไฟเหลือประมาณ 350 บาทต่อเดือน แต่หากใช้ไฟธรรมดาค่าไฟต่อเดือนประมาณ 900 – 1,000 บาท
นายเด่น เสียมไหม กำนันต.ท่าข้าม กล่าวว่า ทางกลุ่มได้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้เป็นหมู่บ้านต้นแบบ ตั้งแต่ปี 2556 เบื้องต้นเพียง 30 ครัวเรือน จนปัจจุบันนี้กลุ่มสมาชิกของนางราตรี เอ้งฉ้วน ในฐานะประธานกลุ่ม ได้ขยายเครือข่ายหมู่บ้านต้นแบบเพิ่มขึ้นจนขณะนี้มีประมาณกว่า 100 ครัวเรือน จากทั้งหมด 200 ครัวเรือนที่มีคนอยู่อาศัย โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ทั้งการลดพลังงาน เป็นการลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากในชุมชน มีการออม มีการทำบัญชีครัวเรือนอย่างเป็นรูปแบบ มีการศึกษาข้อมูลการประชุมประจำเดือนของกลุ่มอยู่ตลอด จนทำประสบความสำเร็จเป็นหมู่บ้านต้นแบบของตำบล และเป็นชุมชนต้นแบบของอำเภอปะเหลียนได้รับรางวัลมาหลายรางวัล รวมทั้งได้รับรางวัลระดับประเทศ เช่น ครัวเรือนต้นแบบในการรับซื้อขยะรีไซเคิลใน ปี 2561
ข่าวน่าสนใจ:
- มท.1 เยือนจังหวัดนครพนม เปิดงานมหกรรมเทศกาลปลาลุ่มน้ำสงคราม ประจำปี 2567 ครั้งที่ 21 ผลักดัน Soft Power อำเภอศรีสงคราม
- นักท่องเที่ยวแห่ชมดอกไม้งามดอยตุง ชิมอาหารพื้นถิ่น ถ่ายรูปดอกไม้สวย
- ชายวัย 50 ปี เปลี่ยนถังแก๊สเอง จุดเตาทำกับข้าวไฟพรึ่บคลอกเจ็บหนัก
- พะเยา หนุ่มขโมยย่องฉกเงินร้านข้าวมันไก่ 3 ครั้งเจ้าของสุดทนแจ้งตรจับ
นางสมร เพชรเพ็ง ครัวเรือนต้นแบบการอนุรักษ์พลังงาน (ผู้หญิงคนถือบิลค่าน้ำ ค่าไฟ) กล่าวว่า ทำมาปีกว่าประสบความสำเร็จในการลดพลังงาน จากเดิมดูทีวี พัดลม ดูเสร็จปิดก็ปิดเฉพาะทีวี พัดลม แต่มาเปลี่ยนเป็นปิดแล้วถอดปลั๊กไฟทั้งหมดไม่เหลือเสียบไว้เลย ทำให้ประหยัดพลังงานค่าไฟลดลงจากเดิม 2 ครอบครัว ใช้อยู่ประมาณเดือนละ 800 – 900 บาท ทำให้ขณะนี้เฉลี่ยเหลือเดือนละประมาณ 300 – 500 บาทเท่านั้น ส่วนค่าน้ำประปา จากเดิมเดือนละ 500 – 600 บาท จะเหลือเดือนละ 100 กว่าบาท ก็พยายามแนะนำเพื่อนบ้านทุกคนถ้าไม่ดูทีวี พัดลม ก็ต้องดึงปลั๊กไฟออกให้หมด ก็จะประหยัดพลังานค่าไฟรายจ่ายในครัวเรือนได้มาก ลดได้จริง
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: