X

ตรัง เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ค้านการแจกเงินแทนการแจกปุ๋ยให้ชาวสวน

เครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางภาคใต้ เขตภาคใต้ตอนกลาง เตรียมยื่นหนังสือถึงนายนที ขลิบทอง ประธานอนุกรรมการจัดหาปุ๋ย เพื่อคัดค้านการจ่ายเงินสดแทนการจ่ายปุ๋ย ให้กับเกษตรกรชาวสวนยางพารา อย่างที่เคยปฏิบัติมาโดยตลอด
โดยนายประทบ สุขสนาน ประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยาง ระบุว่าด้วยเครือข่ายเกษตรกรชาวสวนยางพารา ต้องการปุ๋ยสวนปลูกแทนตรงตามฤดูกาลทั้งต้นฝนและปลายฝน ในมติหลายครั้งทางเครือข่ายการจัดการปุ๋ยสวนปลูกแทนให้จ่ายปุ๋ย ไม่ต้องการจ่ายเป็นเงินสด ซึ่งการจ่ายเป็นเงินสดในขณะที่เกษตรกรมีรายได้น้อย จะทำให้การควบคุมการจัดการสวนค่อนข้างลำบาก

ส่วนการจัดการปุ๋ยให้สะดวกรวดเร็ว เห็นควรที่จะให้จัดการในแต่ละเขตโดยเร่งด่วน เพื่อให้ตรงตามฤดูกาลของแต่ละพื้นที่ปลูก โดยกำหนดตารางการดำเนินการจัดหาปุ๋ยเพื่อผู้ปลูกแทน งวดต้นฝน ดังนี้ 1.กำหนดราคากลางและTOR วันที่ 27-31 มี.ค. 63 2.ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง 1-17 เม.ย.63 3.กำหนดทำสัญญาและส่งมอบ 18-30 เม.ย.63 4.เก็บตัวอย่างพร้อมส่งวิเคราะห์ 1-20 พ.ค.63 และ 5.ผสมและจ่ายให้เกษตรกรผู้ปลูกแทนตั้งแต่ 25 พ.ค. เป็นต้นไปแต่ไม่เกิน 20 มิ.ย.63

ด้านนายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน ที่ปรึกษาประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการประชุมอนุกรรมการจัดหาปุ๋ย เมื่อวันที่ 9 มีนาคม ที่ผ่านมาได้มีมติให้จ่ายเงินแทนการจ่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกร โดยทางเครือข่ายสถาบันเกษตรกรทั้ง 4 เขต คือ เขตภาคใต้ตอนล่าง เขตภาคใต้ตอนกลาง เขตภาคใต้ตอนบน และเขตภาคตะวันออกและภาคกลาง ได้มีความเห็นแย้งกับมติดังกล่าว เพราะต้องการให้จ่ายปุ๋ยให้แก่เกษตรกร ซึ่งหากส่วนกลางไม่สะดวกในการประมูลปุ๋ย ก็ควรให้จัดประมูลปุ๋ยในระดับเขตแทน ซึ่งที่ผ่านมาทาง กยท.ได้จัดหาปุ๋ยแจกจ่ายให้เกษตรกรมาโดยตลอด แต่ละครั้งจะมีการประมูลปุ๋ย 30,000 กว่าตัน และเป็นที่น่าสังเกตุว่าทุกครั้งที่ถึงช่วงการจัดหาปุ๋ย ไม่ว่าจะเป็นช่วงปลายฝน หรือช่วงต้นฝน จะมีการหยิบยกประด็นการทุจริตการประมูลปุ๋ย เมื่อราวปี 56-57 มาเป็นประเด็น และมีการเสนอข่าวเรื่องนี้ผ่านหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งเป็นประจำ ซึ่งทางเครือข่ายไม่เข้าใจถึงเจตนาของบุคคลดังกล่าว ที่พยายามใช้สื่อเสนอข่าวในเชิงลบ


อย่างไรก้ตามที่ผ่านทางรัฐบาลได้มีการแจกงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายโครงการเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่เรื่องการแจกเงินค่าปุ๋ยให้ชาวสวนยางไม่ได้เกี่ยวข้องกับเศรษฐกิจโดยตรง และต้องเข้าใจว่าในภาวะเศรษฐกิจไม่ดีเช่นนี้ การให้งินสดแก่เกษตรกรอาจนำไปสู่การสร้างใบเสร็จรับเงินปลอมขึ้น หากเกษตรกรไม่นำเงินที่ได้ไปซื้อปุ๋ย จะส่งผลให้ต้นยางพาราไม่ได้รับปุ๋ยตามที่กำหนด ยางมีลำต้นเล็ก โตช้า และได้ผลผลิตน้อย

นายถนอมเกียรติ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการประชุมอนุกรรมการการจัดหาปุ๋ยที่ผ่านมา มีตัวแทนเกษตรกรบางคนที่เป็นบอร์ด กยท. บางคน ได้ให้หตุผลว่า มีปุ๋ยค้างสต๊อกอยู่ในโกดังเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ความจริงแล้วก่อนการประมูลหรือจัดหาปุ๋ยในแต่ละครั้ง ทางสำนักงานสาขาทั้ง 4 เขต ได้สำรวจความต้องการใช้ปุ๋ยในจำนวนแน่นอน และส่งจำนวนความต้องการใช้แก่ กยท. พร้อมยืนยันว่าข้อกล่าวอ้างว่ามีปุ๋ยค้างสต๊อกไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน