ช้าง 50-60 เชือก ในจังหวัดตรัง ที่เคยนำไปทำกิจกรรมการท่องเที่ยวที่ จ.กระบี่ พังงา และภูเก็ต ต้องถูกย้ายกลับมายังภูมิลำเนาเดิม ทั้งที่ จ.ตรัง และ จ.พัทลุง อันเนื่องมาจากสถานการณ์โควิด-19 จนทำให้เกิดความเดือดร้อนไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ อีกทั้งควาญช้าง 3-4 คน ที่เดินทางผ่านมาจาก อ.บางขัน ต้องถูกกักตัว 14 วัน ขณะเดียวกันเมื่อพากลับบ้านก็ต้องพยายามหาแหล่งน้ำให้ช้างได้คลายร้อน เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด หวั่นช้างตกมันทำร้ายร่างกายควาญ เจ้าของและประชาชนได้
วันที่ 26 เมษายน 2563 ที่คลองท่าประดู่ แม่น้ำตรัง ม.4 ต.นาวง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง นายสุชาติ บัวเกิด ประธานชมรมกลุ่มคนเลี้ยงช้าง จ.ตรัง พร้อมด้วยควาญช้างที่ดูแลช้างพลายเอราวัณ ต้องนำช้างมาผูกไว้ใกล้แหล่งน้ำ โดยเฉพาะแม่น้ำตรัง เพราะแม้ปริมาณน้ำจะเหลือน้อย และเกิดสันดอนเป็นช่วงๆ แต่ปริมาณก็ยังมี ดีกว่าแหล่งน้ำสายเล็กๆ ที่แข้งขอดจนหมด และต้องหาอาหารมาเสริมมาให้ช้างกิน เช่น อ้อย เนื่องจากสภาพอากาศร้อนจัด ทำอาหารธรรมชาติ ประเภท ต้นไม้ ใบหญ้าลดลง และต้องพาช้างอาบน้ำคลายร้อน โดยช้างพลายเอราวัณ ก็เพิ่งเดินทางกลับจากเมืองท่องเที่ยว จ.กระบี่ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่มีการแจ้งหนังสือให้แก่กลุ่มคนเลี้ยงช้างทั้งในจังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต เร่งนำช้างกลับภูมิลำเนาเดิม เพราะเมืองท่องเที่ยวเหล่านั้นได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อ และจำเป็นต้องปิดแหล่งท่องเที่ยวทั้งหมด เพื่อควบคุมเชื้อ ซึ่งหากไม่ทันย้ายได้ทันเวลาก็ต้องอยู่ในพื้นที่ยาว แต่ไม่งานทำ ทำให้ต้องมีค่าเลี้ยงช้างวันละหลายบาท เนื่องจากช้างโดนกักบริเวณ ออกไปเร่ร่อนหาอาหารไม่ได้ จึงต้องขนย้ายกลับ ขณะเดียวกันเมื่อมาถึงก็มีการกักตัวควาญช้างที่เดินทางมาจากต่างจังหวัดด้วย รวมทั้งจาก อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช
นายสุชาติ บัวเกิด ประธานชมรมกลุ่มคนเลี้ยงช้าง จ.ตรัง กล่าวว่า ขณะนี้ที่ช้างที่ได้เดินทางไปทำงานยัง จ.กระบี่ พังงา และภูเก็ต ได้ถูกย้ายกลับมายังภูมิลำเนาเดิมที่ จ.ตรัง หมดแล้ว เนื่องจากกลัวโรคโควิด-19 และถ้าหากช้างยังอยู่ตามจังหวัดต่างๆ ของเมืองท่องเที่ยว จะต้องมีค่าใช้จ่ายวันละ 600-700 บาทต่อเชือก เพราะเจ้าของช้างต้องออกไปซื้ออาหาร เช่น สับปะรด ซึ่งมีราคาอยู่ที่กิโลกรัมละ 1 บาท มาให้ช้างกิน ทำให้ตนเองเดือดร้อน ของตนเองมีช้างอยู่ 3-4 เชือกด้วยกัน จึงมีค่าใช้จ่ายเดือนละเป็นหมื่นๆ บาท ดังนั้น ตนเองและเจ้าของช้างรายอื่นจึงตัดสินใจพาช้างกลับมายัง จ.ตรัง ใน อ.ย่านตาขาว อ.นาโยง และ จ.พัทลุง รวมแล้วประมาณ 50-60 เชือก
ข่าวน่าสนใจ:
- สุดยอดงานกฐินบุญต่อชีวิตคน พระอาจารย์เขียวทอดกฐินสามัคคีจัดซื้อรถพยาบาลฉุกเฉินและอุปกรณ์ทางการแพทย์มุลค่ากว่า5ล้านบาท
- ตรัง การแข่งวิ่งสุดสยองชวนขนหัวลุก "วิ่งหนีเมรุ" ทำถึงธีมผีจัดเต็ม นักวิ่ง 300 คนร่วมวงหลอน
- ตรัง "บุญกฐิน-ตักบาตรขนมโค" หนึ่งเดียวในไทย ชาวตรังแห่ร่วมงานทอดกฐินออกโรงทานคับคั่ง
- วธ.จัด“ลอยกระทงวิถีไทย ปลอดภัย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม” น้อง“หมูเด้ง” Thai Cuteness ร่วมสร้างสีสัน
นายสุชาติ กล่าวอีกว่า เมื่อนำช้างกลับมายังภูมิลำเนาเดิมแล้ว ควาญช้างต้องหาพื้นที่ให้ช้างอยู่ โดยเฉพาะต้องหาพื้นที่ใกล้แหล่งน้ำ ช้างทั้งหมดจึงกระจายไปอยู่ตามอำเภอต่างๆ และแยกย้ายกันอยู่ใกล้แหล่งน้ำ ไม่ได้อยู่รวมกัน และไม่ให้อยู่ใกล้บ้านเรือนประชาชน ประกอบกับขณะนี้จะพาช้างทำงานชักลากในพื้นที่ก็ไม่ได้ เนื่องจากสถานการณ์เชื้อโรค โรงงานไม้ยางก็หยุดกิจการ เนื่องจากส่งออกไม่ได้ ทำให้เดือดร้อนเป็นลูกโซ่ จึงต้องนำไปอยู่ใกล้แหล่งน้ำและพาอาบน้ำเป็นระยะๆ ห่วงอากาศร้อนทำให้ช้างตกมัน ทำร้ายควาญช้าง รวมทั้งประชาชนได้ ทั้งนี้ ก่อนหน้านี้ตนเองไม่เคยต้องนำช้างกลับมาที่บ้านเลย เพราะทำกิจกรรมเกี่ยวกับการท่องเที่ยวที่ จ.ภูเก็ต ได้ตลอดปี และมีอาหารการกินให้ช้างพร้อมหมด นอกจากนั้นยังมีช้างบางเชือกติดค้างอยู่ที่ จ.ภูเก็ต เพราะไม่มีที่จะกลับ ทำให้ทางมูลนิธิช้างต้องเข้าไปช่วยเหลือ โดยเฉพาะในเรื่องของอาหารที่ขาดแคลน เนื่องจากมีการกักพื้นที่หมู่บ้านต่อหมู่บ้าน ทำให้ช้างไม่สามารถเร่ร่อนออกไปหาหญ้า หรือของกินอื่นได้เลย โดยปัจจุบันมีช้างที่อยู่ใน จ.ตรัง ประมาณ 50 – 60 เชือก ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 และยังมีการกักตัวควาญช้าง 3 – 4 คน ที่เดินทางผ่านมาจากต่างจังหวัดและ อ.บางขัน จ.นครศรีธรรมราช ไว้เป็นระยะเวลา 14 วัน ที่ค่ายลูกเสือแห่งชาติทะเลสองห้อง อ.ห้วยยอด จ.ตรัง ด้วย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: