วิทยาลัยเทคนิคตรัง “สุดเจ๋ง” นำน้ำยางพารามาศึกษาวิจัยผลิต “เสาหลักนำทาง ได้สำเร็จ พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้สู่สถาบันเกษตรกรไปผลิตเชิงพาณิชย์ป้อนกรมทางหลวงชนบท สนองนโยบายรัฐบาลในโครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐ ดึงปริมาณน้ำยางสดออกจากตลาดได้ถึง 70% ลดการส่งออก ช่วยเหลือเกษตรกรชาวสวนยางพารา พร้อมทำ MOU กับรัฐบาลผลิตป้อนกรมทางหลวงชนบท 3 ปี งบประมาณกว่า 8 หมื่นล้าน
วันที่ 29 มิถุนายน 2563 ที่แผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคตรัง อ.เมือง จ.ตรัง นายเจษฎา อนันทวรรณ รองผู้อำนวยการทางวิทยาลัยเทคนิคตรัง นายสุรศักดิ์ เทพทอง วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ หัวหน้าแผนกเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ นางชมพูนุช รักษาวัย ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางสมบูรณ์พัฒนา จำกัด นายทวิช สะเลอาจ ผู้จัดการสหกรณ์กองทุนสวนยางสมบูรณ์พัฒนา จำกัด อ.ปะทิว จ.ชุมพร และนายอนันต์ จันทรรัตน์ ผู้จัดการสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง ร่วมกันแถลงถึงความสำเร็จในการผลิตเสาหลักนำทางที่ผลิตมาจากน้ำยางพารา ตามนโยบายของรัฐบาลในการที่ให้มีการนำผลผลิตยางพารามาใช้ในประเทศ โดยที่ทางแผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ วิทยาลัยเทคนิคตรัง ได้มีการนำน้ำยางพารามาศึกษาวิจัย กระทั่ง สามารถประดิษฐ์เป็นเสาหลักนำทางที่ได้มาตรฐานตามแบบของกรมทางหลวงชนบท ซึ่งต่อไปจะมีการผลิตส่งขายให้กับกรมทางหลวงชนบทนำไปใช้ในการปักเป็นเสาหลักนำทางทั่วประเทศ แก้ปัญหาผลผลิตการเกษตรตกต่ำ โดยดึงปริมาณน้ำยางสดออกจากตลาดมาใช้ภายในประเทศ ลดการส่งออก เพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ทำให้ราคาผลผลิตยางพาราดีขึ้นทั้งระบบในอนาคต
นายเจษฎา อนันทวรรณ รองผู้อำนวยการทางวิทยาลัยเทคนิคตรัง กล่าวว่า ได้เปิดทำการเรียนการสอนแผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ โดยในภาคใต้มีการจัดการเรียนการสอนและโชคดีที่บุคคลากรครูที่มีความรู้ความสามารถได้มีการศึกษาวิจัย ทดลองต่อยอดผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขณะนี้ราคายางพาราตกต่ำ โดยพื้นที่ปลูกยางพาราในประเทศมีมากถึง 67 จังหวัด ทำให้ผลผลิตมีจำนวนมาก ราคาจึงตกต่ำ ส่งผลให้เกษตรกรและสถาบันเกษตรกรเดือดร้อน และออกมาเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ปัญหา โดยการส่งเสริมต่อยอดผลิตภัณฑ์ ส่งเสริมให้มีการใช้ยางภายในประเทศ ทางวิทยาลัยเทคนิคตรัง โดยแผนกวิชาเทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ มีการคิดค้นต่อยอดนำน้ำยางพาราเป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถผลิตได้ โดยกรมทางหลวงชนบท กระทรวงคมนาคม ก่อนหน้านี้มีการนำน้ำยางพารามาทำถนน จากนั้นมีความคิดที่จะทำเสาหลักนำทาง สามารถลดความรุนแรงของการเกิดอุบัติเหตุทางถนน เนื่องจากมีคุณสมบัติการยืดหยุ่นได้ดี ทางคณาจารย์ จึงมีการคิดค้น วิจัยงานวิชาการ ประดิษฐ์ให้ได้คุณภาพเป็นไปตามมาตรฐานของกระทรวงคมนาคม เพราะต้องนำไปใช้ในประเทศไทยทั้งหมด โดยความสำเร็จดังกล่าวนี้ ทางวิทยาลัยได้ถ่ายทอดความรู้สู่สถาบันเกษตรกร เพื่อนำไปผลิตในเชิงต่อไป เบื้องต้น ได้แก่ สหกรณ์กองทุนสวนยางสมบูรณ์พัฒนา จำกัด อ.ปะทิว จ.ชุมพร และสหกรณ์การเกษตรบ้านแพรกหา จำกัด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ศิษย์เก่าใจบุญมอบทุน-คอมพิวเตอร์ หนุนโรงเรียนวัดตรังหลังทีมกีฬาคว้า 7 เหรียญระดับปท.
- ตรัง ชาวบ้านทำพิธีดุอาร์ขอแนวทางแก้ปัญหาพะยูนตาย ล่าสุด ทะเลอันดามันพะยูนตายไปแล้วกว่า 40 ตัว ส่วนของจ.ตรังปีนี้ตายไปแล้ว 9 ตัว…
- พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานผ้าพระกฐิน แด่ภรรยาอดีตนายกฯไปทอดถวาย ณ วัดตันตยาภิรม พระอารามหลวง
- ตรัง 'น้องอ๋อง' มโนราห์รุ่นเยาว์ วัย 7 ขวบ ผู้หลงใหลในศิลปะการแสดงภาคใต้ รับรำแก้บนค่าครูตามแต่ศรัทธา
ด้านนายสุรศักดิ์ เทพทอง วิทยฐานะครูเชี่ยวชาญ เทคโนโลยียางและพอลิเมอร์ กล่าวว่า ตนเองใช้ระยะเวลาศึกษาค้นคว้า และวิจัย ประมาณ 4 เดือน ตั้งแต่การนำน้ำยางสดมาทำเป็นน้ำยางข้น ออกแบบแม่พิมพ์ จากนั้นคิดคำนวณสูตรปริมาณส่วนผสม จนผลิตเสาหลักนำทางออกมาได้เป็นนวัตกรรมใหม่ของแผนก และผ่านการตรวจทดสอบมาตรฐานจากสำนักเครื่องมือวิทยาศาสตร์และการทดสอบ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานกระทรวงคมนาคม และพบว่าใช้ต้นทุนต่ำ เหมาะสมที่สุดจะถ่ายทอดให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร นำไปต่อยอดการผลิต สร้างมูลค่าเพิ่มให้น้ำยางสดที่มีอยู่ ทั้งนี้ เสาหลักนำทาง 1 ต้น จะต้องใช้น้ำยางสดประมาณ 19 – 20 ก.ก. รวมเคมีคอมปาวด์แล้วทั้งหมด 23-25 กก. เป็นไปตามมาตรฐานของเสาหลักนำทาง ความสูง 140 ซม. กว้าง 15 ซม. น้ำหนัก 14 กก. เมื่อผลิตได้สำเร็จ ก็มีการส่งพิสูจน์ทดลอง สามารถนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ได้จริง ทั้งนี้ ต้นทุนการผลิตเสาหลักนำทาง 1 ต้น หากราคาน้ำยางสด กก.ละ 40 บาท ต้นทุนตกอยู่ระหว่าง 1,100-1,200 บาท/ต้น เป็นต้นทุนของกระบวนการผลิตยังไม่รวมต้นทุนของระบบการจัดการ ส่วนราคาขายต้นละ 2,500 บาท เพื่อให้เกษตรกรอยู่ได้ และคุ้มทุนที่จะผลิต เกษตรกรกลุ่มเล็กๆ หรือชุมชนที่ต้องการผลิตต้นทุนในการจัดซื้อครุภัณฑ์และกระบวนการออกแบบการผลิตน่าจะอยู่ในวงเงินไม่เกิน 1 ล้านบาท จะได้เสาหลักนำทางที่ได้มาตรฐานสากล
ทางด้านนางชมพูนุช รักษาวัย ประธานสหกรณ์กองทุนสวนยางสมบูรณ์พัฒนา จำกัด อ.ปะทิว จ.ชุมพร ซึ่งเสถาบันเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการเสาหลักนำทางสนองนโยบายรัฐบาลในการส่งเสริมการใช้ยางภายในประเทศ กล่าวว่า สกย.สมบูรณ์พัฒนา มีความพร้อมสำหรับการผลิตเสาหลักนำทาง เพื่อสนองนโยบายรัฐบาล โดยร่วมมือกับสหกรณ์การเกษตรแพรกหา จ.พัทลุง ซึ่งจะเป็นศูนย์ถ่ายทอดความรู้ไปยังสถาบันเกษตรกรอื่นๆด้วย โดยภาคใต้ตอนบนสกย.สมบูรณ์พัฒนา จ.ชุมพร จะเป็นผู้รับผิดชอบ ส่วนภาคใต้ตอนกลางนั้น สหกรณ์การเกษตรแพรกหา จ.พัทลุง เป็นศูนย์ถ่ายทอดไปยังเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรอื่นๆ เพื่อสนองนโยบายรัฐบาลในโครงการส่งเสริมการใช้ยางในหน่วยงานภาครัฐให้ได้มากที่สุด ที่ผ่านมาได้มีการทำ MOU กับรัฐบาล เพื่อผลิตเสาหลักนำทาง โครงการ 3 ปี แบ่งเป็น 3 ปีงบประมาณ ประกอบด้วย ปีแรกเริ่มงบประมาณ 2563 ผลิตจำนวน 89,000 ต้น , ปีที่ 2 (งบ 2564) จำนวน 2 แสนกว่าต้น และปีที่ 3 (งบปี 2565) จำนวน 3 แสนกว่าต้น วงเงินงบประมาณ 8.9 หมื่นล้าน โดยขณะนี้มีสถาบันเกษตรกรเข้าร่วมโครงการผลิตเสาหลักนำทางแล้วทั้งหมด 12 แห่ง ตั้งเป้าไว้จำนวน 40 กว่าแห่ง หลังจากนี้ทาง สกย.สมบูรณ์พัฒนา จ.ชุมพร และสถาบันเกษตรกรแพรกหา จ.พัทลุง จะรับหน้าที่เร่งถ่ายทอดเทคโนโลยีตรงนี้ไปให้สถาบันเกษตรกรอื่นๆต่อไป เพื่อให้สามารถผลิตเสาหลักนำทางให้ได้ตามโครงการดังกล่าว โดยกำลังการผลิตของสกย.สมบูรณ์พัฒนา อยู่ที่ 200 ต้น/วัน หรือเดือนละ 6,000 ต้น อย่างไรก็ตาม หากเราสามารถผลิตเสาหลักนำทางได้ จะสามารถส่งเสริมการใช้ยางพาราในประเทศได้มากถึง 70% ดึงปริมาณน้ำยางสดออกจากตลาด ลดการส่งออก เชื่อว่าจะสามารถทำให้ราคายางพาราภายในประเทศสูงขึ้นได้แน่นอน
ทางนายอนันท์ จันทรรัตน์ ผู้จัดการสหกรณ์บ้านแพรกหา จำกัด อ.ควนขนุน จ.พัทลุง กล่าวว่า ในส่วนของสหกรณ์บ้านแพรกหา จำกัด จ.พัทลุง สามารถผลิตเสาหลักนำทางได้วันละ 400ต้น/หรือประมาณเดือนละ 1,200 ต้น เนื่องจากสหกรณ์มีอุปกรณ์เครื่องมือครบ เพราะที่ผ่านมามีการผลิตหมอนยางพาราอยู่แล้ว จึงต่อยอดมาผลิตเสาหลักนำทาง เพื่อส่งขายให้กับกรมทางหลวงชนบทต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: