จังหวัดตรัง กรมโยธาธิการและฝังเมือง และบริษัทที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล จัดการประชุมรับฟังความคิด เห็นครั้งที่ 1 ชาวบ้านเสนอให้ผู้รับผิดชอบก่อสร้างทางเดินลงทะเลของควายบนเกาะ และปรับภูมิทัศน์ให้สวยงามหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ
ที่อาคารอเนกประสงค์ นายณัฐพงค์ นาคทุ่งเตา ปลัดอำเภอปะเหลียนพร้อมด้วย อบต.เกาะสุกร กรมโยธาธิการและฝังเมือง และบริษัทที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล รวมกันจัดการประชุมรับฟังความคิดเห็นครั้งที่ 1 โครงการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล พื้นที่ชายฝั่งทะเล ตำบลเกาะสุกร อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง (ระยะที่ 2) บริเวณชายหาดแตงโม หมู่ 2 ด้านทิศใต้ของเกาะสุกร ต่อเนื่องจากแนวเขื่อนกำแพงคอนกรีตเดิม มีปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะชายฝั่งเป็นระยะทางยาว โดยการประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นเพื่อชี้แจงทำความเข้าใจ ความเป็นมา และวัตถุประสงค์ของโครงการ ขั้นตอน แนวทางการศึกษา และรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะ รวมถึงรับทราบปัญหาที่ประชาชนได้รับอยู่ในปัจจุบัน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ตัวแทนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนที่อยู่ในพื้นที่โครงการ เข้าร่วมประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยชาวบ้านในที่ประชุมได้เสนอให้ผู้รับผิดชอบโครงการศึกษาและก่อสร้างทางขึ้นลงเล่นน้ำทะเลของฝูงควาย ที่ชาวบ้านในพื้นที่เกาะสุกร เพราะวิธีคนกับควายบนเกาะสุกร ถือเป็นเอกลักษณ์การท่องเที่ยวที่สำคัญ และชาวบ้านได้เสนอให้มีการปรับภูมิทัศน์บนสันเขื่อนหลังการก่อสร้างแล้วเสร็จ อีกด้วย
ทั้งนี้ กรมโยธาธิการและผังเมืองได้ทำการศึกษาและออกแบบเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งแล้วความยาวประมาณ 800 เมตร โดยออกแบบเป็นเขื่อนคอนกรีตขั้นบันได ซึ่งกรมโยธาธิการและผังเมืองได้ทำการก่อสร้างแล้วเสร็จความยาว 250 เมตร และอยู่ในระหว่างการก่อสร้างอีก 550 เมตร และจากการสำรวจเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2562 พบว่าพื้นที่ต่อเนื่องจากเขื่อนฯ ที่กรมโยธาธิการและผังเมืองกำลังก่อสร้าง ยังคงมีปัญหาการกัดเซาะอยู่มีความยาวประมาณ 650 เมตร ซึ่งพื้นที่ด้านหลังมีถนนเลียบชายฝั่ง และพื้นที่เกษตรกรรม กรมโยธาธิการและผังเมือง จึงดำเนินโครงการออกแบบและศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม เขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล พื้นที่ชายฝั่งทะเล ตำบลเกาะสุกร
สำหรับโครงการก่อสร้างหรือขยายสิ่งก่อสร้างบริเวณหรือในทะเลที่มีลักษณะเป็นกำแพง ริมชายฝั่งทุกขนาดไม่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แต่เพื่อให้การดำเนินโครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเล (ระยะที่ 2) ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพแวดล้อม ชุมชนและสังคม วัฒนธรรม อาชีพ ความปลอดภัย วิถีชีวิตน้อยที่สุด กรมโยธาธิการและผังเมือง จึงได้ดำเนินการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น (ไออีอี) ควบคู่ไปกับการสำรวจออกแบบรายละเอียดเขื่อนป้องกันการกัดเซาะชายฝั่งทะเลในครั้งนี้
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง โครอตายยกฝูง โรคปากเท้าเปื่อยระบาดหนักขยายวงกว้าง
- ตรัง ชนสนั่น! เก๋งปะทะกระบะ ถนนตรัง-สตูล ดับ 2 เจ็บอีก 9 ราย
- ตรัง สปช.วอนช่วยคุณยายนอนข้างถนน 2 เดือนกลางเมืองตรัง ห่วงสุขภาพทรุด
- ไร้ปาฏิหาริย์ สิ้น “อ.สุนทรี สังข์อยุทธ์” อดีตหัวหน้าหอจม.เหตุแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติฯ กวีซีไรต์ “จิระนันท์ พิตรปรีชา” โพสต์อาลัย
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: