X

ตรัง ชาวสวนยางเดือดร้อนหนักจากนายทุนทุบราคา

เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกร และผู้แปรรูปน้ำยางสดเป็นยางแผ่นรมควัน เดือดร้อนหนักจากการถูกนายทุนจับมือกันทุบราคายาง ซ้ำเติมสถานการณ์โควิดหลังหยุดผลิตยางแผ่นรมควันไปนาน เนื่องจากแรงงานต่างด้าวกลับประเทศ จนกระทั่งสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ราคาน้ำยางสดห่างจากราคายางแผ่นรมควัน ทำให้เกิดแรงจูงใจในการกลับมาแปรรูปอีกครั้ง แต่ถูกบริษัทผู้ส่งออกยางจับมือกันทุบราคา และแนวโน้มเปิดตลาดสัปดาห์นี้ จะจับมือกันไม่เข้าประมูลยางหรือประมูลต่ำกว่าราคากลาง หวังทำตลาดล่ม ซ้ำเติมปัญหาจากสถานการณ์โควิด และเป็นช่วงฝนตกหนัก ชาวสวนกรีดยางได้น้อย วอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ที่ก่อนหน้านี้ “เอาหน้า” ออกมาประกาศข่าวดีราคายางขึ้นกิโลกรัมละ 62 บาท แต่ได้เพียงวันเดียว กลับดิ่งลง ขณะนี้เหลือกิโลกรัมละ 54 บาท ส่วนน้ำยางสดเหลือกิโลกรัมละ 43 – 45 บาท สร้างความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ขอให้เร่งตัดสินใจเข้ามาแก้ไขสถานการณ์ก่อนทำตลาดยางพัง ผู้แปรรูปยางไม่มีตลาดจำหน่าย และเร่งเปิดตลาดไทยค่อม แทนตลาดซื้อขายยางในตลาดซื้อขายล่วงหน้า

วันที่ 8 กันยายน 2563 นายถนอมเกียรติ ยิ่งฉ้วน ที่ปรึกษาประธานเครือข่ายสถาบันเกษตรกรชาวสวนยางแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขณะนี้เกษตรกรชาวสวนยาง สถาบันเกษตรกร และผู้แปรรูปน้ำยางสดเป็นยางแผ่นรมควัน เดือดร้อนหนักจากการถูกนายทุนจับมือกันทุบราคายางพารา ซ้ำเติมสถานการณ์โควิดหลังหยุดผลิตยางแผ่นรมควันไปนาน ตั้งแต่เกิดสถานการณ์โควิด เนื่องจากแรงงานต่างด้าวกลับประเทศ จนกระทั่งสถานการณ์เริ่มคลี่คลาย ราคาน้ำยางสดห่างจากราคายางแผ่นรมควัน ทำให้เกิดแรงจูงใจในการกลับมาแปรรูปอีกครั้ง แต่ถูกบริษัทผู้ส่งออกยางจับมือกันทุบราคา และเปิดตลาดสัปดาห์นี้จะจับมือกันไม่เข้าประมูลยาง หรือประมูลต่ำกว่าราคากลาง ทำตลาดล่ม วอนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ที่ก่อนหน้านี้ “เอาหน้า” ออกมาประกาศข่าวดีราคายางขึ้นกิโลกรัมกลับละ 62 บาท แต่ได้เพียงวันเดียว กลับดิ่งลง ขณะนี้เหลือกิโลกรัมละ 54 บาท สร้างความเดือดร้อนเป็นอย่างมาก ขอให้เร่งตัดสินใจเข้ามาแก้ไขสถานการณ์ก่อนทำตลาดยางพัง ผู้แปรรูปยางไม่มีตลาดจำหน่าย และขอคัดค้านการขายยางในสต๊อก จำนวน 1 แสนตัน ตามมติของเครือข่ายและมติของบอร์ดการยางแห่งประเทศไทย ไม่ให้นำยางออกมาขายตีตลาด แต่ให้นำยางไปใช้ในหน่วยงานภาครัฐแทน และเรียกร้อง เปิดตลาด 3 ประสาน คือ ตลาดท้องถิ่นโดยให้สถาบันเกษตรกรเป็นคนรวบรวมยาง เสนอขายน้ำหนักยางในตลาดกลางภายในประเทศ และเปิดตลาดไทยคอม แทนตลาดซื้อขายยางในตลาดซื้อขายล่วงหน้า

นายถนอมเกียรติ กล่าวอีกว่า ตั้งแต่เดือนก.พ – เมย เป็นช่วงสถานการณ์โควิด ทำให้มีความต้องการน้ำยางสดไปใช้ในการผลิตถุงมือยางจำนวนมาก จึงทำให้ราคาน้ำยางสดมีราคาพุ่งสูงขึ้น สูงกว่าราคายางแผ่นรมควัน จึงทำให้ยางแผ่นรมควันขาดตลาด ขณะที่ตลาดโลกยังมีความต้องการสูง แม้จะน้อยกว่าในปีที่ผ่านๆ มา แต่มีความต้องการจึงทำให้ขาดตลาด พอขาดตลาดทางบริษัทผู้ส่งออกก็หาวิธีการอัพราคาขึ้นแบบผิดปกติ ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา จนกระทั่งราคายางแผ่นรมควันพุ่งสูงสุดไปถึงราคากิโลกรัมละ 62 บาท ราคาน้ำยางสดยังต่ำอยู่ที่ 43 – 45 บาท ส่วนต่างดังกล่าวทำให้มีการแปรรูปยางรมควันในระบบมากขึ้น ขณะเดียวกันสถานการณ์โควิดคลี่คลายผู้แปรรูปจึงเร่งผลิตอย่างเต็มที่

แต่ปรากฎว่าผู้ส่งออกทราบแล้วว่าขณะนี้มียางรมควันอยู่ในระบบของประเทศแล้วจำนวนเท่าไร และผู้ส่งออกก็จะทราบว่าน้ำยางสดจะเข้าสู้ระบบน้ำยางข้นเท่าไร ส่งออกเท่าไร ก็เกิดปรากฎการณ์ทุบราคาลงมาอีกครั้ง วันละ 2 บาท เพราะมีระเบียบของการยางแห่งประเทศไทยกำหนดเอาไว้เกี่ยวกับราคาในตลาดกลางต้องลงได้ไม่เกินวันละ 2 บาท บริษัทจึงไม่สามารถจะลงได้ไปมากกว่านี้ โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาลงอีก 2 วัน ทำให้ราคายางแผ่นรมควันลดลงฮวบฮาบ โดยหลายบริษัทประกาศไม่รับราคาในตลาดกลาง จะเอาราคาหน้าโรงงาน ดังนั้น จากราคาหน้าโรงงานจึงลดลงมาเหลือแค่กิโลกรัมละ 54 บาทเท่านั้น แสดงว่ายางลงมา 8 บาทต่อกิโลกรัม ถือเป็นความผิดปกติ และสัปดาห์นี้จะไม่มีใครเข้าประมูลยาง หรือหากประมูลก็จะประมูลราคาต่ำกว่าราคากลาง จะทำให้ตลาดล่ม จึงขอเรียกร้องไปยังรัฐบาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย เร่งเข้ามาแก้ไขสถานการณ์ ก่อนตลาดจะล่ม และยางแผ่นรมควันที่เข้าระบบวันละ 5 แสนกิโลกรัม จะถูกนายทุนกดราคาต่ำสุด สร้างความเดือดร้อนอีกระลอก ซ้ำเติมสถานการณ์โควิดที่ผ่านมา และเป็นช่วงฤดูฝนชาวสวนกรีดยางได้น้อย ทำให้ขาดรายได้เลี้ยงครอบครัว ขณะที่ราคายางลดต่ำลงอีกระลอก

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน