โรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์ระบาดในพื้นที่ 3 อำเภอของจ.ตรัง ประกอบด้วย อ.นาโยง,อ.เมือง และอ.ย่านตาขาว พบสัตว์ป่วยนับร้อยตัว โดยขณะนี้ยังมีสัตว์ป่วยที่กำลังรักษาอีกกว่า 50 ตัว เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัด อำเภอ และอาสาสมัครปศุสัตว์ประจำตำบล เร่งฉีดวัคซีนป้องกันไม่ให้ลุกลาม ล่าสุด จ.ตรังประกาศกำหนดเขตโรคระบาดสัตว์ชั่วคราวในพื้นที่แล้วรวม 3 อำเภอดังกล่าว ด้านปศุสัตว์จังหวัดเตือนเป็นโรคที่เกิดขึ้นกับสัตว์ในช่วงหน้าฝนต้นหนาว เจ้าของห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย และเกษตรกรเจ้าของสัตว์อื่น ต้องระวังอย่าให้เข้าใกล้สัตว์ป่วย ทั้งนี้ จังหวัดตรังเคยประสบปัญหาการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยมาแล้วในช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา สาเหตุมาจากเกษตรกรนำวัวชนไปฝึกซ้อมประลองฝีมือที่สนามชนโคในจังหวัดใกล้เคียงที่มีการระบาดและติดเชื้อเข้ามาในระบาดจังหวัดตรัง
วันที่ 11 พฤศจิกายน 2563 เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัดตรัง พร้อมด้วยอาสาสมัครปศุสัตว์ ต.คลองลุ อ.กันตัง พร้อมด้วยผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ทั้ง 7 หมู่บ้านของตำบลคลองลุ อ.กันตัง จ.ตรัง กระจายกำลังกันลงพื้นที่ เพื่อเร่งฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยให้แก่ โค กระบือ แพะ ในพื้นที่ เพื่อป้องกันเฝ้าระวังโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์ หลังพบมีการระบาดแล้วใน 3 อำเภอ คือ อ.นาโยง .อ.เมือง และอ.ย่านตาขาว โดยมีสัตว์ป่วยที่ได้ทำการรักษาไปแล้วนับ 100 ตัว และคงเหลือที่อยู่ในกระบวนการรักษาอีกกว่า 50 ตัว และเร่งควบคุมพื้นที่ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันการแพร่กระจายของโรค
นายสุรจิต วิชชุสุวรรณ ปศุสัตว์จังหวัดตรัง กล่าวว่า หลังสถานการณ์โควิดคลี่คลายลง ทุกจังหวัดเปิดให้สนามชนโคกลับมาชนได้ตามปกติ จึงทำให้มีสัตว์ป่วยบางตัวที่ยังไม่แสดงอาการเข้าสู่สนามชนโค ทำให้มีการแพร่เชื้อไปสู่สัตว์ตัวอื่นที่ได้สัมผัสกัน จึงเป็นสาเหตุทำให้มีการระบาดขึ้นในบางพื้นที่ เช่น อ.นาโยง อ.เมือง และอ.ย่านตาขาว ทั้งนี้ พบมีการระบาดในอำเภอนาโยงเป็นพื้นที่แรกเมื่อกลางเดือนตุลาคมที่ผ่านมา จากนั้นเจ้าหน้าที่เร่งเข้าไปควบคุมรักษาและควบคุมพื้นที่ ทำให้ไม่พบตัวป่วยเพิ่มแล้ว และสร้างภูมิคุ้มกันในพื้นที่ได้ครอบคลุมในรัศมี 5 กม. สัตว์เท้ากีบประมาณ 90% ได้รับการฉีดวัคซีน เชื่อว่าในอำเภอนาโยงจะไม่พบตัวป่วยเพิ่มอีกในสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้ แต่มาเกิดใหม่ในพื้นที่ อ.เมือง พบตัวป่วยไม่ถึง 100 ตัว จึงเร่งรักษาตัวป่วยและฉีดวัคซีนป้องกัน เพื่อควบคุมสถานการณ์ทั้งอำเภอ และพบต่อมาที่ อ.ย่านตาขาว ในพื้นที่ ต.ทุ่งค่าย และต.เกาะเปียะ โดยจังหวัดตรังมีสัตว์ที่ต้องเฝ้าระวังทั้งจังหวัดประมาณ 70,000 – 80,000 ตัว สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดตรัง จึงได้เบิกวัคซีนป้องกันโรคมาจำนวน 60,000 โดส เพื่อแจกจ่ายให้ทั้ง 10 อำเภอนำไปฉีดให้กับสัตว์ 54,000 โดส เป้าหมายต้องฉีดสร้างภูมิคุมกันให้กับสัตว์ครบ 90% ที่เหลือเก็บเอาไว้ให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตวเก็บเอาไว้ในกรณีพบโรคระบาด เพื่อเอาไปไว้ควบคุมไม่ให้โรคกระจาน โดยจังหวัดตรังพบตัวป่วยรวมนับ 100 ตัว แต่รักษาหายแล้ว คงเหลือที่ยังคงป่วยและรักษาอยู่ขณะนี้ประมาณ 50 ตัว เชื่อว่าสิ้นเดือนนี้น่าจะหยุดยั้งไม่ให้เกิดตัวป่วยใหม่ได้แน่นอน และไม่มีรายงานตัวเสียชีวิต โดย จ.ตรังประกาศกำหนดเขตโรคระบาดสัตว์ชั่วคราวในพื้นที่แล้วรวม 3 อำเภอคือ อ.นาโยง ,อ.เมือง และอ.ย่านตาขาว จึงประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนไปยังประชาชนเจ้าของสัตว์ เพราะโรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์เป็นโรคที่เกิดขึ้นกับสัตว์ในช่วงหน้าฝนต้นหนาว และห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วยเคลื่อนย้ายสัตว์ป่วย หากฝ่าฝืนจะมีโทษตามกฎหมาย ส่วนเกษตรกรเจ้าของสัตว์อื่น ๆ ต้องระวังอย่าให้เข้าใกล้สัตว์ป่วย ทั้งนี้ จังหวัดตรังเคยประสบปัญหาการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยมาแล้วในช่วงต้นปี 2563 ที่ผ่านมา สาเหตุมาจากเกษตรกรนำวัวชนไปฝึกซ้อมประลองฝีมือที่สนามชนโคในจังหวัดใกล้เคียงที่มีการระบาดและติดเชื้อเข้ามาในระบาดจังหวัดตรัง
ข่าวน่าสนใจ:
- ช่วยเหยื่อชาวจีน 2 รายที่ชายแดนพบพระ รอดหวุดหวิดจากขบวนการค้ามนุษย์
- ตรัง ชนสนั่น! เก๋งปะทะกระบะ ถนนตรัง-สตูล ดับ 2 เจ็บอีก 9 ราย
- มุกดาหาร -วงจรปิดจับภาพ ไอ้ตีนผีซิ่งชนสองตายายดับ หนึ่งเจ็บสาหัสหนึ่ง ก่อนทิ้งรถหนีลอยนวล
- "กกต.นครพนมติวเข้ม! เครือข่าย ศส.ปชต. เสริมศักยภาพ สร้างการมีส่วนร่วมเลือกตั้ง อบจ. อย่างมีคุณภาพ"
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: