รายงานพิเศษ-ศึก 3 ขุนพลอบจ.ตรัง สาธรฯ ชู กระตุ้นภาคเกษตรยกระดับรายได้ – ภูผา ชี้ท่องเที่ยวต้องเป็นวาระจังหวัด บุ่นเล้ง ผุด 8 ข้อพิชิตใจคนตรัง
คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน (กกร.) จังหวัดตรัง นำโดย นายพิชัย มานะสุทธิ์ ประธานคณะกรรมร่วมภาคเอกชนจังหวัดตรัง ได้เชิญนายบุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ ผู้สมัครชิง ตำแหน่งนายก อบจ ตรัง หมายเลข 1 ทีมกิจปวงชน นายสาธร วงศ์หนองเตย ผู้สมัครชิง ตำแหน่งนายกอบจ ตรัง หมายเลข 2 ทีมตรังพัฒนาเมืองตรัง และนายภูผา ทองนอก ผู้สมัครชิง ตำแหน่งนายกอบจ ตรัง หมายเลข 3 กลุ่มตรังก้าวใหม่ พบปะชี้แจงนโยบาย กับเอกชน ประกอบด้วย ตัวแทนจากหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาการเกษตร สภาการท่องเที่ยว เครือข่ายสมาคมธุรกิจฯ ซึ่งการเสนอนโยบายของผู้สมัครชิงนายก อบจ.ตรัง ทางผู้จัดได้กำหนดให้ผู้สมัครแต่คน ได้แสดงนโยบายพร้อมตอบข้อซักถาม ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าร่วม จำนวน 45 นาที เริ่มตั้งแต่ผู้สมัครหมายเลข 1 , 2 และ 3 ตามลำดับ แต่เมื่อถึงเวลาผู้สมัครหมายเลข 1 คือนายบุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ กลับไม่มามาตามเวลาที่กำหนด ทางผู้จัดจึงให้ผู้สมัครหมายเลข 2 คือนายสาธร วงศ์หนองเตย แจงนโยบายเป็นคนแรก
นายสาธร เปิดด้วยการแนะนำตัวเอง พร้อมฉายภาพวิดีทัศน์สั้นๆ แนะกิจกรรมการออกหาเสียงในพื้นที่ และการพบปะกลุ่มต่างๆ พร้อมกล่าวแจงนโยบาย 12 ข้อ ตามที่ประกาศไว้ตั้งแต่วันสมัคร เปิดความจริงตรังวันนี้ ความจริงจังหวัดตรัง รายได้ต่อหัวประชากรตรัง ลดลงเรื่อยๆ จากปี 2554 รายได้ต่อหัวต่อปี 142,276 บาท ในปี 2561 เหลือ 102,589 บาท เหตุผลน่าจะมาจากราคายางพาราที่ตกลงมาเรื่อย ๆ เที่ยบกับ กระบี่ ปี 2554 รายได้ต่อหัวต่อปี 192,600 บาท ในปี 2561 ขึ้นไป 207,415 บาท เหตุผลน่าจะมาจาก รายได้จากการท่องเที่ยว พยุงราคายางพาราที่ตกลง คนกระบี่ มีรายได้มากกว่าคนตรัง เท่าตัว ของ นครศรีฯ ปี 2554 รายได้ต่อหัวต่อปี 102,247 ในปี 2561 ขึ้นไป 109,050 ของพัทลุง ในปี 2554 รายได้ต่อหัวต่อปี 79,565ในปี 2561 ตกลง เหลือ 73,213 แม้จะตกลงแต่ของตรัง ตกมากกว่า คือ ลดลงถึง 28% ที่น่าห่วงมากของตรังคือ ภาคเกษตร ของตรังหดตัวรุนแรง จาก 42,000 ล้านบาท ในปี 2554 เหลือ 17,000 ล้านบาท ในปี 2561 ลดลง 58% ภาคอุตสาหกรรมของตรัง จาก 12,000 ล้านบาท ในปี ๒๕๕๔ เหลือ 10,000 ล้าน ในปี 2561 ลดลง 17% ภาคบริการของตรัง เป็นภาคเศรษฐกิจเดียวที่เพิ่มขึ้น ( ทั้งที่ อบจ. ยังไม่ได้ทำท่องเที่ยวเต็มที่ ) คือ 31,000 ล้าน ในปี 2554 เป็น 36,000ล้าน ใน ปี 2561 ในภาคบริการที่เติบโตขึ้น คือ ภาคธุรกิจก่อสร้าง ขนส่ง ที่พักและอาหาร สุขภาพ แต่ที่ลดลงคือ การใช้จ่ายภาครัฐ ปี 2554 อยู่ที่ 2,918 ล้านบาท เหลือ 2,582 ในปี 2561 เป็นเรื่องประหลาดมาก
ที่น่าห่วงมากคือ การค้าส่งค้าปลีก ของตรัง ลดลงจาก 11,000 ล้านบาท ในปี 2554 เหลือ 8,700 ล้านบาท ในปี 2561 จึงเป็นคำตอบว่าทำไมเราขายของได้น้อยลง แต่จังหวัดรอบข้างยอดค้าส่งเพิ่มทุกจังหวัดนี่คือ ตัวเลขสภาพัฒน์
แล้วเราจะทำอย่างไร อบจ. ต้องมีนโยบาย กระตุ้นภาคการเกษตร ตรัง คือ ยางพารา ภาคอุตสาหกรรม คือส่งเสริมภาคอุตสาหกรรม ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ภาคบริการ ต้องใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ เงินสำรอง อบจ. 800 ล้าน ฝากธนาคาร 1400 ล้าน สำคัญคือใช้ทำอะไร ยุทธศาสตร์ท่องเที่ยวแบบหลากหลาย อาหาร ธรรมชาติ ศิลปะวัฒนธรรม โบราณคดีอารยธรรม เมืองเก่า ต้อง มีถนนโครงข่ายท่องเที่ยว รถขนส่งสาธารณะ เข้าถึง ต้องมีกิจกรรมตลอดปี ทุกอย่างต้องโปร่งใส สุจริต “ผมไม่มีแนวคิดธุรกิจการเมือง” นายสาธรกล่าวในที่สุด
หลังกล่าวจบ ทางผู้จัดได้เปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมซึ่งเป็น ตัวแทนจากหอการค้า สภาอุตสาหกรรม สภาการเกษตร สภาการท่องเที่ยว เครือข่ายสมาคมธุรกิจฯ
คำถามจากหอการค้าจังหวัดตรัง : หากคุณสาธรได้เป็นนายก อบจ.ตรัง จะส่งเสริมสินค้าตรัง กระจ่ายสู่ทุกภูมิภาค และต่างประเทศ อย่างไรบ้าง
นายสาธร : ผมคิดว่าวันนี้ผมอยากนำเสนอ โดยวันนี้ให้ชาญวิทย์ ศรีสุทธิพงศ์ อธิบายในภาพรวม : เรามีผลักดันนโยบายสมาร์ทซิตี้ มีแอปพลิเคชั่น ชื่อ One Trang เป็นแอปพลิชั่น สำหรับขายของจังหวัดตรัง สินค้า OTOP ของตรัง แนะนำสถานที่ท่องเที่ยว แนะนำโรงแรมที่พัก รวมทั้ง เราจะเป็นศูนย์กลางข้อมูลการประชาสัมพันธ์ และ ครอบคลุมการร้องเรียน ร้องทุกข์ ผ่านระบบเครือข่าย
คำถามจากสภาอุตสาหกรรม : ถ้าท่านเป็นนายก อบจ.ตรัง จะพัฒนาผังเมืองของจังหวัดตรัง เพราะขณะนี้เป็นปัญหาอยู่มาก
นายสาธร : ผมคิดว่าในทุกๆเรื่อง ถ้าผมได้เป็นนายก อบจ.จะมาคุยรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง เพราะผังเมือง และ การสร้างโรงงานอุตสาหกรรมจะเป็นการพัฒนาปลายน้ำของยางพารา ซึ่งรายละเอียดค่อยข้างมาก ณ วันนี้เอาความตั้งใจของผม แล้วผมจะขับเคลื่อนนโนบายทั้ง 12 ข้อ
คำถาม : ท่านมีแนวคิดอย่างไรกับการจัดการขยะ ทาง อบจ.จะรับไปเป็นแม่งานหลักหรือไม่
นายสาธร : อบจ.ตรัง ในฐานะองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นขนาดใหญ่ จะต้องฝังกลบ 2 แห่ง หลักในการรับฟังความคิดเห็น วันนี้จังหวัดตรังใช้ระบบการกำจัดขยะด้วยการฝ หลังจากผมได้รับเลือกตั้ง ต้องหารือกับพวกเราเพื่อขับเคลื่อนต่อไป
คำถามจากสโมสรโรตารี่ : การกำจัดสุนัขจรจัดแมวจรจัด ซึ่งมีอยู่มากในจังหวัดตรัง
นายสาธร : ผมมองภาพกว้างๆ ไปที่จิตอาสา ความเป็นจิตอาสานี่เป็นเรื่องที่ช่วยขับเคลื่อนเมืองตรัง การมีส่วนร่วมของ อบจ.ในเรื่องนี้ ต้องเชิญกลุ่มจิตอาสา
คำถาม งานของอบจ.ที่ผ่านมา ที่มีปัญหา เช่น ท่าเรือนาเกลือ ท่าเรือคลองสน ท่าเรือตะเสะ รถมินิบัส ถ้าท่านเป็นนายก อบจ.ตรัง จะแก้ไข หรือ พัฒนาอย่างไรบ้าง
สาธร : บางคนบอกให้ยกเลิกบริการรถมินิบัส เพราะขาดทุน ในฐานะที่ผมเป็นนายก ผมคิดว่าบริการสาธารณะถึงจะขาดทุน เราต้องดูแล เพราะเป็นการอำนวยความสะดวกให้ ปชช. และ ผู้มีรายได้น้อย แต่เราต้องมาจัดการบริการสาธารณะให้เกิดประโยชน์ การใช้ด้วย IOT (internet of things) (การที่อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ สามารถเชื่อมโยงหรือส่งข้อมูลถึงกันได้ด้วยอินเทอร์เน็ต เช่น แอปพลิเคชัน แว่นตากูเกิลกลาส รองเท้าวิ่งที่สามารถเชื่อมต่อข้อมูลการวิ่ง ทั้งความเร็ว ระยะทาง สถานที่ และสถิติได้) อบจ.ตรังต้องเป็น อบจ.ดิจิตอล ต้องมีบิ๊กดาต้า
ซึ่งหลักจากการแสดงนโยบาย และตอบคำถามแล้ว นายสาธรฯ ยังทิ้งท้ายแนวคิดการทำสภาเมือง เพื่อให้ผู้มีความรู้ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่าง ๆ ทั้งด้านเกษตร ด้านการทองเที่ยวและบริการ ด้านเศรษฐกิจ ด้านอุตสาหกรรม เครือข่ายที่ดินทำกิน ประมงพื้นบ้าน มาร่วมกันขับเคลื่อนและพัฒนาจังหวัดตรัง
เมื่อสิ้นสุดการนำเสนอนโยบายของผู้สมัครหมายเลข 2 ทางผู้จัดได้รับการยืนยันจากทีมกิจปวงชน ว่านายบุ่นเล้ง โล่สถาพรพิพิธ ไม่สามารถมาร่วมได้ เนื่องจากติดภารกิจ จึงเป็นลำดับของนายภูผา ทองนอก หมายเลข 3 กลุ่มตรังก้าวใหม่ โดยนายภูผาทองนอกกล่าวแนะนำตัว ประวัติการศึกษา และประวัติการทำงาน ให้ผู้เข้าร่วมรับฟังการแจงนโยบายทราบ พร้อมกล่าวเปิดประเด็นเศรษฐกิจของจังหวัดตรัง ที่ลดลงเรื่อยๆ เช่น ปัญหาการท่องเที่ยว ธุรกิจและบริการในภาคท่องเที่ยว ระเบียบ กฎหมาย ปัญหาที่ดินทับซ้อน ปัญหาข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน ซึ่งเป็นสาเหตุหลักให้ผู้ประกอบการขาดความมั่นใจ ไม่กล้ามาลงทุนในจังหวัดตรัง
หากตนได้รับเลือกเป็นนายก อบจ.ตรัง จะการพัฒนาอุตสาหกรรม ด้วยการสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน ให้ชุมชนมีส่วนร่วม พัฒนาเศรษฐกิจ 2 แม่น้ำตรัง ให้ภาคเอกชนเข้าไปทำกิจกรรมต่างๆ เช่น เลี้ยงปลาในกระชัง ร้านอาหาร รวมทั้งสร้างแลนด์มาร์ก เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยว ขับเคลื่อนการท่องเที่ยวให้รัฐ และ เอกชน พัฒนาไปด้วยกันอย่างเข้มแข็ง ผลักดันเรื่องการ่ท่องเที่ยวให้เป็นวาระจังหวัด ร่วมคิดร่วมแก้ปัญหา ขับเคลื่อนการท่องเที่ยว ควบคู่กับการรักษาสิ่งแวดล้อม ด้านการศึกษาจะผลักดันให้มีโรงเรียน อบจ.ตรัง ให้เกิดขึ้นในจังหวัดตรัง เพื่อเป็นการจัดการศึกษาอย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกับโรงเรียนเอกชน
“สำหรับกลุ่มของผม เปิดนโยบายมาเพียง 1 นโยบาย คือ นโยบายด้านการเมือง ทำการเมืองให้สะอาดก่อน จึงจะขับเคลื่อน และให้ประชาชนมีส่วนร่วมมากที่สุด “ไม่กดทับ” ประสิทธิภาพของบุคคล ไม่มีระบบอุปถัมภ์ ไม่มีระบบเส้นสาย
คำถามจากหอการค้าจังหวัดตรัง : หากคุณภูผาได้เป็นนายก อบจ.ตรัง จะส่งเสริมสินค้าตรัง กระจ่ายสู่ทุกภูมิภาค และต่างประเทศ อย่างไรบ้าง
นายภูผา : พัฒนาท่าเรือนาเกลือให้เข้มแข็ง เพื่อใช้ท่าเรือในการส่งออกสินค้าเกษตรของจังหวัดตรัง
คำถามจากสภาอุตสาหกรรม : ถ้าท่านเป็นนายก อบจ.ตรัง จะพัฒนาผังเมืองของจังหวัดตรัง เพราะขณะนี้เป็นปัญหาอยู่มาก
นายภูผา : ผมจะแก้ปัญหาด้วยการสำเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกำหนดโซนพัฒนาอุตสาหกรรม รองรับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรมในจังหวัดตรัง
คำถาม : ท่านมีแนวคิดอย่างไรกับการจัดการขยะ ทาง อบจ.จะรับไปเป็นแม่งานหลักหรือไม่
นายภูผา : ผลักดันให้มีการกำจัดขยะทั้งแต่ในระดับตำบล
คำถาม ท่าเรือปากเมงที่กำลังก่อสร้างใกล้จะแล้วเสร็จในเดือนมีนาคม 64 สามารถรับนักท่องเที่ยวได้ 1,000 – 2,000 คน ต่อวัน อยากจะฝากให้ผลักดันท่าเรือปากเมงเป็นประตูสู่อันดามัน
นายภูผา : ผมย้ำว่าการท่องเที่ยวต้องรับฟังเอกชนเพราะมีความเชี่ยวชาญมากกว่าราชการ ข้อมูลที่ได้มาไม่ว่าที่อยู่ในแผนพัฒนาจังหวัดก็ตามล้วนมาจากภาคเอกชน แต่เราอย่าเอาเอกชนมาทำแค่รายงานวิชาการเท่านั้น เพราะสิ่งที่เอกชนเคยเสนอมายังจังหวัดตรัง สามารถนำไปใช้ได้ทันที ทุกอย่างที่ท่านพูดมาอยู่ในแผนยุทธศาสตร์แล้ว อยู่ที่ว่าผู้บริหารท้อถิ่นนั้นจะนำไปใช้หรือไม่
คำถาม ที่ผ่านมาอบจ.อยากจะทำอะไรก็ทำเลย โดยไม่ผ่านความคิดเห็นของภาคประชาชน เช่น ท่าเรือคลองสน และ ท่าเรือตะเสะ หรือแม้แต่ท่าเรือนาเกลือ ไม่เคยถามเลยว่าทำแล้วจะใช้ได้จริงหรือไม่ หากท่านได้รับเลือกเป็นนายก ผมอยากจะฝากให้ผลักดัน วางแผนอย่างเป็นระบบ ในเรื่องทะเลเรามีศักยภาพ แต่อยากฝากให้ผลักดันเรื่องแหล่งท่องเที่ยวน้ำตกในจังหวัดตรัง
นายภูผา : ผมให้ความสนใจปัญหาเรื่องน้ำตกตลอด ไม่ว่าจะเป็นน้ำตกกระช่อง น้ำตกสายรุ้ง น้ำตกโตนเตะ ปัญหาสำคัญคือปัญหาบังคับใช้กฎหมาย ติดกับดักข้อกฎหมาย ต้องให้ประชาชนเข้ามาเป็นเจ้าของในการจัดการที่ท่องเที่ยว ให้อบต.ขอความร่วมมือกับอุทยานแห่งชาติหรือเจ้าของพื้นที่ เพื่อเข้าไปบริหารจัดการพื้นที่ ให้เอกชนวางแผนกรอบการทำธุระกิจ ห้องพัก ร้านอาหาร
คำถาม ผังเมืองที่เกี่ยวข้องกับเราจริง ๆ คือผังเมืองเขียวคาดขาว พรบ.ผังเมืองปี 2558 ไม่มีการพูดถึงการท่องเที่ยวแต่อย่างใด ฝากท่านช่วยแก้แผนการท่องเที่ยว เรื่องปาล์มน้ำมันถ้าเป็นไปได้อยากให้สร้างโรงงานของ อบจ.เอง และฝากเรื่องแหล่งท่องเที่ยวที่อยู่ในอุทยาน เช่นบ่อน้ำร้อนว่าสามารถดำเนินการได้อย่างไร
นายภูผา : ในส่วนของบ่อน้ำร้อน เช่นบ่อน้ำร้อนในจังหวัดพัทลุง บ่อน้ำร้อนในจังหวัดกระบี่ อบจ.เขาเข้าไปจัดการ แต่ที่จังหวัดตรัง อบจ.ตรัง ไม่ได้เข้าไปจัดการ ทั้งที่สิ่งเหล่านี้ อบจ.สามารถเข้าไปพัฒนาได้เลย
เรื่องโรงงานปาล์ม ในจังหวัดตรังมีผลผลิตปาล์มมากใน อ.สิเกา และ อ.วังวิเศษ แต่ขายได้เฉพาะในลานปาล์ม ยังไม่มีโรงงาน โรงกลั่น หรือ โรงงานแปรรูป ฉะนั้นต้องผลักโรงงานแปรรูปปาล์ม หรือ โรงงานไบโอดีเซล ของอบจ.ให้เกิดขึ้น
ซึ่งหลังครบกำหนดเวลา 45 นาที ตามที่ผู้จัดได้กำหนดไว้นายภูผา ทองนอก ได้เสนอตัวให้พิจารณาเลือกตนซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ อายุน้อยเพียง 45 ปี เป็นนายก อบจ.ตรังคนต่อไป
อย่างไรก็ตามถึงแม้นายบุ่นเล้ง ผู้สมัครหมายเลข 1 ไม่ได้ร่วมการแจงนโยบายในครั้ง แต่ก่อนหน้านี้ทางนายบุ่นเล้งได้ประกาศนโยบาย จำนวน 8 นโยบาย คือ 1 ท้องถิ่นตรัง (อบจ. เทศบาล อบต.) เดินไปด้วยกันไปได้ไกล พร้อมเป็นตรังเซ็นเตอร์ ศูนย์กลางการประสานงาน และ ความช่วยเหลือ อปท.ภายในจังหวัดตรัง ทุกรูปแบบ เพื่อพัฒนาทุกพื้นที่ไปพร้อมกัน
2 เชื่อมตรัง เชื่อมใต้ เชื่อมโลก เตรียมรับสนามบินนานาชาติ เชื่อมตรังด้วยโครงสร้างพื้นฐาน ปรับปรุงรถโดยสารอบจ. บริการรถบัสปรับอากาศจากสนามบินเข้าเมืองตรัง ทำให้ท่าเรือทุ่งคลองสนเชื่อมอันดามัน ที่สำคัญท่าเรือนาเกลือต้องเชื่อมโลก
3 พิชิตภาระกิจการเปิดเมืองตรังด้วยการท่องเที่ยว วัฒนธรรม ทำนุบำรุงศาสนา เปิดเมืองท่า โชว์เมืองเก่า ไม่ลืมรากเหง้า เราคนตรัง
4 สายด่วนบรรเทาสาธารณภัย ติดตั้งระบบความปลอดภัย และเตือนภัยครอบครุมทั้งจังหวัด
5 ส่งเสริมพืชเศรษฐกิจ เปลี่ยนชีวิต สร้างอาชีพ สงเสริมการปลูกพืชสร้างรายได้ ใส่ใจเรื่องยางพารา ปาล์มน้ำมัน ประมง กลุ่มสหกรณ์ สนับสนุนเกษตรกรยุคใหม่ และวิสาหกิจชุมชนให้เข้มแข็ง
6 คนตรังต้องมีชีวิตที่ดี มีมาตรฐาน คุณภาพชีวิตที่ดี เริ่มต้นตั้งแต่เด็กจนถึงวัยชรา ตรังต้องเท่าเทียม และเสอภาค ไม่มีข้อจำกัดสำหรับความพิการทางร่างกาย และถูกตีกรอบด้วยเพศ
7 อบจ.ใจกว้าง พร้อมสร้างสาธารณสุขที่ดีทุกพื้นที่ สนับสนุนกีฬา จัดตั้งกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม จัดการขยะ สานต่อโครงการเฝ้าระวังสุขภาพกาย เพิ่มเติมเรื่องสุขภาพจิต อบจ.ต้องพร้อมรับโอน รพ.สต. ใส่ใจ อสม.
8 อัพเกรดตรัง พัฒนาอย่างจริงจังด้วยเทคโนโลยี ฟังคนรุ่นใหม่ สร้างเมืองที่ทันสมัย สร้างช่องทางกระจายสินค้าพื้นบ้านให้ก้าวไกล ผ่านการใช้เทคโนโลยี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: