X

สพร.ตรัง จับมือทีมเพิ่มผลิตภาพแรงงานสู่ SME 4.0สร้างแอพฯติดตามการเลี้ยงปลาผ่านมือถือ

สพร.ตรัง จับมือ ทีมเพิ่มผลิตภาพแรงงานสู่ SME 4.0 ฝึกอบรมเทคนิคการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน สู่การเลี้ยงปลากระชัง “ทุ่งช่องกิว” ยั่งยืน เติมออกซิเจนในน้ำ สร้างแอพลิเคชั่นติดตามการเลี้ยงทางมือถือ 24 ชั่วโมง

เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2564 สำนักงานพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดตรัง(สพร.ตรัง) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย วิทยาเขตตรัง(มทร.ตรัง) และ บริษัท ภูมิภัทรวิศวกรรม จำกัด จัดฝึกอบรมหลักสูตร เทคนิคการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน 36 ชั่วโมง แก่สมาชิกวิสาหกิจชุมชนเพื่อการเกษตรทุ่งช่องกิ่ว หมู่ที่ 6 ต.บ้านควน อ.เมือง จ.ตรัง จำนวน 20 คน ซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนเพาะเลี้ยงปลาทับทิมในกระชังเพื่อจำหน่าย โดยเป็นการอบรมครั้งที่ 2/2564 ซึ่งได้ระดมความคิดเห็นเพื่อค้นหาปัญหา เก็บตัวอย่างปัญหาในการเลี้ยงปลากระชัง พร้อมกันนี้ได้ให้ความรู้พื้นฐานทางวิชาการเกี่ยวกับหลักการเพิ่มผลิตภาพแรงงาน การประยุกต์ใช้หลักการ STEM เกี่ยวกับกระชังปลา

โดยมีคณะวิทยากรบรรยาย 3 ท่าน ได้แก่ 1.ว่าที่ พ.ต.ผศ.ดำรงค์ โลหะลักษณาเดช คณะวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีการประมง มทร.ศรีวิชัยตรัง 2.ผศ.ดร.ชัยวัฒน์ สากุล รองคณะบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ และเทคโนโลยี มทร.ศรีวิชัยตรัง และ 3.ว่าที่ ร.ต.ภาคภูมิ ศรีทองนวล วิทยาการประจำโครงการและสามัญวิศวกร วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีนักเพิ่มผลิตภาพแรงงาน ให้คำปรึกษา ประกอบด้วย นายจิณกรณ์ แก้วมณี นักวิชาการการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ นายพงษ์พรรณ ศรีนคร นักวิชาการพัฒนาฝีมือแรงงานชำนาญการ และนายสมมาศ เชียรวิชัย ครูฝึกฝีมือแรงงานระดับ ชำนาญการ 3

ทั้งนี้ พบปัญหา 3 หัวข้อ ดังนี้ 1.ปัญหาการบริหารจัดการเลี้ยงปลาทับทิมในกระชัง อาทิ การกำหนดตำแหน่ง การกำหนดปริมาณการให้อาหาร จำนวนปลา การคัดแยกขนาด การจัดหมวดหมู่ และกระบวนการเลี้ยง 2.ปัญหาการจัดการคุณภาพน้ำทางกายภาพและชีวภาพ การบันทึกข้อมูลคุณภาพน้ำ และ 3.ปัญหาการจัดการตลาดและการจำหน่าย การคิดต้นทุน-กำไร เพื่อกำหนดราคา การผลิต และพยากรณ์ความต้องการของตลาด โดยปัญหาที่ระดมความคิดเห็นทั้งหมด จะถูกนำไปสู่การแก้ไขอันดับแรกด้วยการเพิ่มปริมาณอออกซิเจนในน้ำสำหรับเลี้ยงปลากระชัง โดยใช้พลังงานสะอาดจากโซล่าเซลล์ ซึ่งสพร.ตรังและภาคีจะคิดค้นเพื่อนำพลังงานเข้ามาหมุนใบพัดตีน้ำเพิ่มเติมอากาศ ตลอดจน ติดตั้งระบบติดตามการกินอาหาร สภาพทั่วไปของกระชังเลี้ยงปลา โดยสามารถติดตามการทำงานผ่านแอพลิเคชั่นบนจอมือถือได้ตลอด 24 ชั่วโมง เป็นต้น


……..

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน