จังหวัดตรัง เร่งควบคุมจำกัดวงการแพร่ระบาดของโรค หลังยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ของจังหวัดตรัง วันนี้สูงถึง 164 ราย ผลจากค้นหาเชิงรุก (Active case finding) ในคลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรม
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 64 นายขจรศักดิ์ เจริญโสภา ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง เป็นประธานการแถลงข่าวสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ประจำวันของจังหวัดตรัง ประจำวันอังคารที่ 1 มิถุนายน 2564 ณ ศูนย์แถลงข่าว ศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จังหวัดตรัง ห้องลิบง ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดตรัง
ผู้ว่าราชการจังหวัดตรัง กล่าวว่า วันนี้ (วันที่1 มิถุนายน 64) จังหวัดตรัง พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ เพิ่ม 164 ราย ผลจากค้นหาเชิงรุก (Active case finding) ในคลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรม รวมมียอดผู้ป่วยติดเชื้อสะสม 665 ราย เป็นลำดับ 1 ของภาคใต้ และลำดับ 4 ของประเทศ ทั้งนี้ จังหวัดตรัง ได้ทำงานเชิงรุกตัวอย่างต่อเนื่อง โดยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มจากกลุ่มเล็กๆในครอบครัว งานเลี้ยงสังสรรค์ ซึ่งจังหวัดตรังได้เตรียมพร้อมรับมือกับการระบาดในโรงงานอุตสาหกรรมมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้กำชับภาคอุตสาหกรรมให้เพิ่มมาตรการป้องกันและเฝ้าระวังการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ให้เข้มงวดขึ้น รวมถึงงดรับพนักงานเพิ่มโดยเด็ดขาด
ทั้งนี้ จังหวัดตรัง มีผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรมและโรงงานอุตสาหกรรม จำนวน 413 แห่ง มีพนักงานและลูกจ้างกว่า 2 หมื่นคน ดังนั้น เมื่อพบว่ามีพนักงานของโรงงานผลิตถุงมือยางทางการแพทย์(ศรีตรังโกล์ฟ) ป่วยเป็นไข้ และไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลกันตัง 1 ราย และโรงพยาบาลย่านตาขาว 1 ราย เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2564 แพทย์ลงความเห็นว่าอยู่ในกลุ่มที่เข้าเกณฑ์สอบสวนโรค จึงได้ทำการตรวจหาเชื้อโควิด19 จากโพรงจมูกและคอ (Swab) พบว่าทั้ง 2 รายติดเชื้อโควิด 19 จังหวัดตรัง จึงได้ติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดอีก 33 ราย ใน 3 แผนกของโรงงานดังกล่าว และตรวจพบเชื้อเพิ่มอีก 22 ราย จึงสั่งปิดโรงงานดังกล่าวเป็นการชั่วคราวโดยไม่มีกำหนดจนกว่าสถานการณ์จะคลี่คลายพร้อมติดตามพนักงานทุกคนของโรงงานดังกล่าว มาทำการคัดกรองตรวจหาเชื้อโควิด 19 จากโพรงจมูกและคอ ทั้งหมด โดยได้ดำเนินการ Swab เมื่อวันศุกร์ที่ 28 พฤษภาคม 2564 จำนวน 493 ราย / Swab เมื่อวันเสาร์ที่ 29 พฤษภาคม 2564 จำนวน 486 ราย และ Swap เมื่อวันอาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2564 จำนวน 617 ราย รวม Swap ไปทั้งสิ้น 1,627 ราย โดยจังหวัดตรัง ได้เร่งดำเนินการในการป้องกันและควบคุมจำกัดวงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในคลัสเตอร์โรงงานอุตสาหกรรม รวมถึงคุมเข้มมาตรการเชิงรุกในโรงงานอุตสาหกรรมอื่น ๆ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ชาวบ้านทำพิธีดุอาร์ขอแนวทางแก้ปัญหาพะยูนตาย ล่าสุด ทะเลอันดามันพะยูนตายไปแล้วกว่า 40 ตัว ส่วนของจ.ตรังปีนี้ตายไปแล้ว 9 ตัว…
- ตรัง 'น้องอ๋อง' มโนราห์รุ่นเยาว์ วัย 7 ขวบ ผู้หลงใหลในศิลปะการแสดงภาคใต้ รับรำแก้บนค่าครูตามแต่ศรัทธา
- อิสราเอลต้องการแรงงานไทย 4,000 ราย
- ตรัง ศิษย์เก่าใจบุญมอบทุน-คอมพิวเตอร์ หนุนโรงเรียนวัดตรังหลังทีมกีฬาคว้า 7 เหรียญระดับปท.
นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง เผย การตรวจหาเชื้อโควิด 19 ในพนักงานทุกคนของโรงงานผลิตถุงมือยาง มีอัตราการพบเชื้อ 1 ต่อ 3 ถือว่าค่อนข้างสูง เร่งทำการสอบสวนเชิงลึกเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของโรค
นายแพทย์บรรเจิด สุขพิพัฒปานนท์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดตรัง เปิดเผยว่า จากการตรวจหาเชื้อโควิด 19 จากโพรงจมูกและคอ (Swab) ในพนักงานทุกคนของโรงงานผลิตถุงมือยาง(ศรีตรังโกล์ฟ) จำนวน 1,627 ราย มีอัตราการพบเชื้อ 1 ต่อ 3 ถือว่าค่อนข้างสูง โดยปัจจุบันผลการตรวจหาเชื้อโควิด 19 ในคลัสเตอร์โรงงานศรีตรังโกล์ฟ พบว่า มีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 387 ราย (เมียนมา 84 ราย และคนไทย 303 ราย)
อย่างไรก็ตาม โรงงานดังกล่าว มีทั้งพนักงานที่พักอาศัยในบ้านพักพนักงานภายในโรงงาน และมีบางส่วนที่เดินทางไป-กลับ อาจทำให้การแพร่ระบาดของโรคขยายเป็นวงกว้างได้ ซึ่งสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดตรัง ได้ประสานกับทางโรงงานและอำเภอ นำข้อมูลของพนักงานในกลุ่มนี้ มาติดตามกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ผู้สัมผัสร่วมบ้าน มาทำการตรวจคัดกรองหาเชื้อโควิด 19 พร้อมกักตัว 14 วัน หากพบผู้ติดเชื้อ จะส่งตัวเข้าทำการรักษาในโรงพยาบาล หรือโรงพยาบาลสนาม ตามลักษณะอาการ หากไม่พบเชื้อ จะทำการกักกันตัวในสถานที่กักกันตัว พร้อมทำการตรวจหาเชื้อ (Swab) ครั้งที่ 2 เมื่อกักตัวครบ 7 วัน และตรวจหาเชื้อ (Swab) ครั้งที่ 3 เมื่อกักตัวครบ 14 วัน นอกจากนี้ ยังได้ทำการสอบสวนเชิงลึกด้วยว่า พนักงานโรงงานดังกล่าว มีการเช่าบ้านอยู่ร่วมกันกับ
บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ปิดโรงงานในทันทีที่ทราบว่ามีพนักงาน ติดเชื้อโควิด 19 พร้อมปรับโรงงานเป็นสถานที่กักกันตัวเพื่อสังเกตอาการ(Factory Quarantine)
จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดตรัง ที่พบการแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อนในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยางทางการแพทย์ บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) โดยปัจจุบันมีพนักงานในโรงงานติดเชื้อโควิด 19 ไปแล้วจำนวน 387 คนนั้น
นางสาวจริญญา จิโรจน์กุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ทางบริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ไปทำการปิดโรงงานในทันทีที่ทราบว่ามีพนักงานของทางโรงงาน ติดเชื้อโควิด 19 จำนวน 2 ราย พร้อมปรับโรงงานเป็นสถานที่กักกันตัวเพื่อสังเกตอาการ(Factory Quarantine) โดยมีพนักงานเข้ารับการกักตัวในโรงงานกว่า 1,200 คน นอกจากนี้ ทางโรงงานยังได้ส่งพนักงานอีกกว่า 300 คน เข้ารับการกักตัวในอีก 3 โรงแรมซึ่งเป็นสถานที่กักกันตัวของจังหวัด (Local Quarantine) โดยทางโรงงานได้ดูแลรับผิดชอบค่าใช้จ่ายของพนักงานทั้งหมด ส่วนพนักงานที่ทำการกักตัวในบ้านพักพนักงานและภายในโรงงาน (Factory Quarantine) ทางโรงงานได้ดูแลความเป็นอยู่ของพนักงานทุกคนเป้นอย่างดี
ทั้งนี้ ได้คุมเข้มมาตรการเสริมในการป้องกันส่วนบุคคล สวมใส่หน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลา เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ล้างมือบ่อยๆ หรือใช้แอลกอฮอล์เจล และงดการพูดคุยหรือจับกลุ่มกัน งดรับประทานอาหารร่วมกัน แยกของใช้ส่วนตัวของทุกคนไม่ให้ปะปนกัน และไม่ใช้สิ่งของร่วมกัน นอกจากนี้ ยังได้จัดเจ้าหน้าที่ทำการรวบรวมข้อมูลของพนักงานแต่ละราย เพื่อส่งมอบให้กับหน่วยงานภาครัฐ กรณีพบว่าพนักงานรายใดตรวจพบเชื้อโควิด 19 เพื่อจะได้ทำการสอบสวนโรค ติดตามผู้สัมผัสใกล้ชิดมาทำการตรวจหาเชื้อ และหลังจากส่งตัวพนักงานที่ตรวจพบเชื้อเข้าสู่โรงพยาบาลแล้ว ทางโรงงานได้ทำความสะอาดฆ่าเชื้อในทันที
อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เร่งดำเนินการควบคุมโรคในเชิงพื้นที่ หลังเกิดคลัสเตอร์การระบาดของโรคโควิด 19 ในโรงงานอุตสาหกรรม
นายจักรพงษ์ รัชนีกุล รายอำเภอกันตัง จังหวัดตรัง เปิดเผยว่า จากกรณีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในพื้นที่จังหวัดตรัง ที่พบการแพร่ระบาดเป็นกลุ่มก้อนในโรงงานอุตสาหกรรมผลิตถุงมือยางทางการแพทย์ บริษัท ศรีตรังโกลฟส์ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง และมีพนักงานบางส่วน มีภูมิลำเนาในพื้นที่อำเภอกันตัง จังหวัดตรัง
ทางอำเภอกันตัง ได้เร่งดำเนินการควบคุมโรคในเชิงพื้นที่ โดยได้สรุปข้อมูล แยกตามภูมิลำเนาของพนักงาน ซึ่งได้ประสานงานกับทางอำเภอที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้ ได้ทำการควบคุมโรคในเชิงพื้นที่ เมื่อทราบสถานการณ์การแพร่ระบาด และภูมิลำเนาของพนักงาน ซึ่งนอกจากการควบคุมโรคภายในโรงงานแล้ว ยังได้ติดตามกลุ่มผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ซึ่งเป็นบุคคลในครอบครัว หลักการจัดการโควิด 19 ในโรงงานอย่างมีส่วนร่วม (Bubble and Seal) และลงพื้นที่เชิงรุกโดยให้กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สำรวจว่าในพื้นที่มีพนักงานในโรงงานแห่งนี้ อยู่ในพื้นที่บ้างหรือไม่ เพื่อจะได้ควบคุมโรคในพื้นที่อย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้กับประชาชน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: