ตรัง – เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใน จ.ตรัง เดือดร้อนหนักจากราคากุ้งที่ตกต่ำลงกิโลกรัมละ 20 บาท คงเหลือไม่คุ้มทุน มากที่สุดในรอบ 30 ปี สาเหตุเกิดจากสถานการณ์โควิด ตลาดทั่วไป รวมทั้งตลาดค้ากุ้งถูกปิด ขณะที่โรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ต้องปิดกิจการ เหตุคนงานติดเชื้อ
ที่หมู่ 5 ต.ทุ่งกระบือ อ.ย่านตาขาว จ.ตรัง นายจิตรพงษ์ ศิริพันธ์ อายุ 45 ปี ซึ่งเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งใน จ.ตรัง เร่งจับกุ้งเป็นขายให้แก่ห้องเย็นที่เดินทางไปรับซื้อถึงหน้าบ่อ ตามขนาด และราคาที่ตกลงกัน โดยในวันนี้ทางห้องเย็นต้องการ “กุ้งเป็น” ขนาด 68 – 69 ตัว ในราคากิโลกรัมละ 134 บาท จากเดิมจะขายได้ประมาณกิโลกรัมละ 155 บาท ทำให้ขณะนี้เกิดวิกฤติราคากุ้งอีกครั้ง ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งเดือดร้อนหนัก เนื่องจากได้ไม่คุ้มทุน เนื่องจากสถานการณ์โควิด ที่ตลาดนัดโดยทั่วไปต้องปิดบ้าง หรือเปิดก็ไม่มีคน ขณะนี้พ่อค้าแม่ค้าก็งดการรับซื้อ ร้านอาหารปิด ตลาดค้ากุ้งปิด ส่วนโรงงานอุตสาหกรรมก็ขาดทุน ทำให้ต้องเลิกจ้างพนักงาน หรือลดจำนวนแรงงาน ตามมาตรการสาธารณสุข และบางส่วนโรงงานอุตสาหกรรมต้องปิด เนื่องจากคนงานติดเชื้อ ล้วนเป็นสาเหตุทำให้ส่งผลกระทบโดยตรงต่อเกษรกรผู้เลี้ยงกุ้ง ขณะที่ปัจจัยการผลิตทุกประเภทมีราคาสูงขึ้น
นายจิตรพงษ์ ศิริพันธ์ กล่าวว่า ราคากุ้งขณะนี้ ถ้าเป็น “กุ้งเป็น “ขนาดไซด์ 68-69 ตัว/กิโลกรัม จากเดิมราคา 150 กว่าบาท วันนี้เหลือกิโลกรัมละ 134 บาท ผู้เลี้ยงพอจับขายได้แค่เสมอตัว และขาดทุน เพราะด้วยต้นทุนการเลี้ยงขณะนี้สูงมาก วัสดุ เคมีภัณฑ์ ทุกชนิดปรับราคา แต่ราคากุ้งตกต่ำลงมาก ซึ่งถ้าลงอย่างนี้ทำคนเลี้ยงทยอยเลิกเลี้ยง ตอนนี้ต้องปรับตัวด้วยการเลี้ยงให้ได้ตามขนาดที่ห้องเย็น ต้องคอยติดตามข่าวของห้องเย็นว่าต้องการไซด์ไหน แต่ราคาก็ยังต้องขึ้นกับภาวะตลาด
ด้านนายสถิต ศิริพันธ์ อายุ 70 ปี ซึ่งเป็นพ่อ กล่าวว่า ตนเลี้ยงกุ้งมาแล้วประมาณ 30 ปี ปัญหาราคากุ้งตกต่ำหนักต่อเนื่องมาแล้ว 2 เดือน ถือว่าหนักมากที่สุดในรอบ 30 ปี ไม่มีพ่อค้า แม่ค้า จึงถูกกดราคา โดยราคาขายตอนนี้ผู้ซื้อเป็นคนกำหนดราคา เพราะไม่มีตลาด แต่ต้องขาย เพื่อเลี้ยงคนงานกว่า 10 คน ถ้ารัฐไม่ช่วยเหลือเกษตรกรอยู่ไม่ได้ วอนขอรัฐช่วยเหลือเรื่องลดต้นทุนการผลิต และสนับสนุนสายพันธุ์ที่เลี้ยงในระยะสั้น แต่ที่ประสบคือ รัฐไม่จริงใจ ให้อะไรมา จะมีข้อแม้มาก เช่น โครงการช่วยเหลือเงินทุนจากธนาคาร วงเงินรายละ 3 ล้านบาท แต่มีเงื่อนไขให้เฉพาะพื้นที่เช่าไม่เกิน 10 ไร่ เพื่อมาลงทุนด้านพลังงานแสงอาทิตย์ แต่ต้องเป็นที่ดินเช่าเท่านั้น ไม่ใช่ที่ดินตนเอง ถ้าเป็นเช่นนั้นใครจะกล้าลงทุนกับที่ดินเช่า เพราะไม่คุ้ม และเป็นของคนอื่น หากเจ้าของขอคืน ทำไมไม่เป็นกว้างให้เจ้าของที่ดินตนเองก็ได้ รัฐไม่จริงใจในการแก้ไขช่วยเหลือ
ข่าวน่าสนใจ:
- "รัฐสภา" ร่วมสนับสนุนการแสดงโขนมูลนิธิส่งเสริมศิลปาชีพฯ เรื่อง รามเกียรติ์ ตอน “พระจักราวตาร”
- ตร.กมลารวบ ผจก.เกสเฮ้าส์สาวติดพนันออนไลน์ ฉกเครื่องเพชร-นาฬิกาหรูนายจ้างสาวลูกครึ่ง ขาย-แพ็คส่งให้แฟนหนุ่มเก็บ
- เซ็นทรัลมอบเงินช่วยเหลือฟื้นฟูผู้ประสบภัยน้ำท่วมแม่สาย เชียงราย
- ผู้ว่าตรังสั่งซ่อมด่วนหลังคาท่าเรือปากเมง หวั่นอันตรายนทท. กระทบภาพลักษณ์จว. ลั่นพร้อมออกเงินส่วนตัว 2.3 หมื่นค่าวัสดุ…
ด้านนายเจริญ หยงสตาร์ อายุ 63 ปี ประธานสหกรณ์เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจังหวัดตรัง จำกัด กล่าวว่า ขณะที่ต้นทุนการผลิตสูง แต่ราคาตก เกษตรกรต้องประสบภาวะขาดทุน ถ้านานไปคงต้องเลิกเลี้ยง ขณะนี้กุ้งเป็นปากบ่อ 70 ตัวต่อกก. ราคา 130 บาท จากเดิม 150 บาท , ขนาด 50 ตัว ราคา 145 บาท จากเดิม 170 บาท โดยภาพรวมราคาตกลงกิโลกรัมละ 20 บาท สาเหตุมาจากสถานการณ์โควิด เพราะการบริโภคภายในประเทศลดลง ตลาดนัด ตลาดการค้าปิดหมด หายไปหมด ห้องเย็น โรงงาน ก็ประสบปัญหาขาดทุน และต้องปิดตัว เพราะคนงานติดเชื้อ โดยเฉพาะโรงงานภาคใต้ปิดไปหลายโรง เช่น สงขลา สุราษฎร์ กุ้งเป็น เดิมจับวันละ 20 ตัน ขณะนี้เหลือวันละ 10 ตัน เพราะคนงานต้องลดไปครึ่งหนึ่ง ที่สำคัญต้นทุนการผลิตสูงมาก ทั้งค่า อาหาร ปัจจัย เวช เชื้อเพลิง ไฟฟ้า คนงาน จะมีราคาต้นทุน เช่น กุ้งขนาด 100 ตัว /กิโลกรัม ต้นทุนอยู่ที่ 117 บาท ,ขนาด 70 ตัว ราคา 130 บาท ,ขนาด 50 ตัว ราคา 160 บาท ผู้เลี้ยงอยู่ไม่ได้ ขอผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ขอให้ช่วยเหลือลดดอกเบี้ย รวมทั้งเข้ามาดูแลเรื่องลดค่าปัจจัย การผลิตให้เกษตรกรอยู่ได้
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: