X

ตรัง จัดเรียบง่ายประเพณีไหว้พระจันทร์

ตรัง จัดเรียบง่ายประเพณีไหว้พระจันทร์กลางเมืองตรัง “เจียะแต้ แลจันทร์” ครั้งที่ 3  ขณะที่ชาวไทยเชื้อสายจีนกำลังไหว้ขอพรเจ้าแม่กวนอิมและพระจันทร์  แสงจันทร์โผล่มาให้ชมเพียงไม่กี่นาที ท่ามกลางบรรยากาศมืดครึ้มฝนตั้งเค้า

เมื่อคืนวันที่ 21 กันยายน 2564 ที่อุทยานเจ้าแม่กวนอิม (เขาหนองยวน) ถ.มหาราช ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง  นายสัญญา ศรีวิเชียร นายกเทศมนตรีนครตรัง คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาลนครตรัง พร้อมด้วย คณะกรรมการทีมพัฒนาอุทยานเจ้าแม่กวนอิม(เขาหนองยวน) และ กลุ่มจิตอาสาพัฒนาอุทยานเจ้าแม่กวนอิม (เขาหนองยวน)   ร่วมกันจัดกิจกรรม “เจียะแต้ แลจันทร์” ครั้งที่ 3  เทศกาลไหว้พระจันทร์กลางเมืองตรัง “เทศกาลไหว้พระจันทร์” เป็นหนึ่งในวัฒนธรรมที่สำคัญของชาวจีน แรกเริ่มเดิมทีนั้นจัดขึ้นเพื่อเฉลิมฉลองการเก็บเกี่ยว ซึ่งคนจีนกับพระจันทร์มีความเกี่ยวพันกันอย่างแนบแน่น และได้ปฏิบัติสืบทอดกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษกว่าร้อยปี

ชาวจีนสมัยก่อนได้จัดให้มีพิธีไหว้ดวงจันทร์ ในคืนวันเพ็ญ 15 ค่ำ เดือน 8 เพื่อสักการะบูชาเจ้าแม่กวนอิม และพระจันทร์ ซึ่งส่องสว่างและกลมโตที่สุดในรอบปี และอธิษฐานให้บ้านเมืองอุดมสมบูรณ์ประชาชนอยู่เย็นเป็นสุข พร้อมทั้งขอพรให้คนในครอบครัวมีความสุข เนื่องจากเป็นโอกาสสำคัญที่ญาติพี่น้องจะได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตา และร่วมรับประทานขนมไหว้พระจันทร์ด้วยกันในคืนวันไหว้พระจันทร์ ผู้คนถือว่าดวงจันทร์ที่กลมเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของความสามัคคี ชาวจีนจะไหว้พระจันทร์ในค่ำคืนวันเพ็ญเดือน 8 ซึ่งในปีนี้ตรงกับวันที่ 21 กันยายน 2564 โดยกิจกรรม เจียะแต้ แลจันทร์” ครั้งที่ 3  ผู้เข้าร่วมจะได้ชื่นชมบรรยากาศในค่ำคืนพระจันทร์เต็มดวง ชิมขนม ไหว้พระจันทร์ และ หมี่เตียว  บนอุทยานเจ้าแม่กวนอิม (เขาหนองยวน) ซึ่งเป็นจุดชมวิว 360 องศา  ที่ถูกตกแต่งด้วยโคมไฟอย่างสวยงาม ซึ่งงานในครั้งนี้จัดอย่างเรียบง่าย และเป็นไปตามมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด19


นายจิราวัฒน์ วงศ์เจริญทิพย์ ซึ่งเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนเรียนรู้วิธีการจัดโต๊ะไหว้พระจันทร์ซึ่งเป็นชาวไทยเชื้อสายจีนมาจากบรรพบุรุษ บอกถึงหลักในการจัดโต๊ะไหว้พระจันทร์ทั่วไปนั้นจะเริ่มจัดการตั้งกระถางธูปให้อยู่แนวกลางก่อนเพื่อกำหนดให้เท่ากันทั้งซ้ายขวาแล้วเราถึงจะใช้ตำแหน่งเทียนอยู่ด้านข้างเป็นตำแหน่งของดวงตาตำแหน่งของปัญญา และใช้น้ำชา 12 แก้ว เพื่อให้พระจันทร์อวยพรทั้ง 12 นักกษัตริย์ ส่วนผลไม้จะใช้เลขคี่กับเลขคู่ แต่วิธีการใช้ถ้าเป็นเลขคี่เราจะเรียงตั้งแต่ 5 , 7 , 9 และ 11 , 12 ซึ่งผลไม้มงคลจะเน้น ส้ม ทับทิม สาลี่ และดอกไม้ให้ใช้สีเหลือง สีขาวแทนเงินกับทอง แจกันที่ใช้ก็จะมีหงส์กับมังกรรวมกัน ลักษณะของ หยินหยาง ขนมที่ไหว้ส่วนใหญ่จะเน้นใช้ของเจ แต่ในยุคหลังเริ่มมีของคาวเข้ามามากขึ้น มีไข่เค็ม มันหมู หรือไหว้อะไรก็ได้ที่เราทาน การไหว้พระจันทร์เป็นเทพสัญลักษณ์แห่งความงดงาม สงบ เย็น คนที่ไหว้จะได้ชื่นชมแสงของพระจันทร์บังเกิดความปีติยินดี บังเกิดความสงบขึ้น ช่วงที่ผ่อนคลายเหมาะเป็นช่วงที่จะขอพรเพราะเราไม่ได้ครุ่นคิดเรื่องอื่นเลย

ทั้งนี้ยังพบว่าตามบ้านเรือนของชาวไทยเชื้อสายจีนก็ได้ตั้งโต๊ะไหว้พระจันทร์ ซึ่งค่อนข้างบางตา แต่ยังคงสืบสานประเพณีและเป็นการขอพรให้แก่ครอบครัวเพื่อเป็นสิริมงคลอีกด้วย

ถูกใจข่าวนี้ไหม?

คลิกที่ดาวเพื่อโหวต

ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต:

ติดตามข่าวสารผ่าน Line 77 ข่าวเด็ด กดปุ่มเพิ่มเพื่อนเลย

เพิ่มเพื่อน