ตรัง คณะมโนราห์ในจ.ตรัง ทั้งรุ่นเก่า และทายาทสืบทอด ต่างดีใจทั่วโลกรู้จักมโนราห์ปักต์ใต้ หลังจากพยายามช่วยผลักดันมาโดยตลอด เชื่อมั่นคนรุ่นหลังจะสืบทอดไม่มีวันสูญหาย วอนภาครัฐเร่งคลายล็อคโควิดให้สามารถกลับมาทำการแสดงได้ โดยเฉพาะมโนราห์โรงครู ซึ่งใช้คนแสดงกับเจ้าภาพเพียงไม่กี่คน สมควรจะปลดล็อคให้สามารถรับงานโรงครูได้ก่อน เพราะถือเป็นงานที่ความจำเป็นที่ลูกหลานมโนราห์จะต้องทำบูชาบรรพบุรุษ
ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนแหล่งเรียนรู้มโนราห์บ้านวัดกลาง ต.นาโยงเหนือ อ.นาโยง จ.ตรัง ผู้สื่อข่าวได้พบกับนายครื้น เอียดจุ้ย หรือหัวคณะมโนราห์ครื้นน้อยดาวรุ่ง คณะมโนราห์ชื่อดังของจ.ตรัง ปัจจุบัน อายุ 81 ปี และนางมุล เอียดจุ้ย อายุ 80 ปี ภรรยา ที่ปัจจุบันวางมือจากการแสดงมโนราห์มานานแล้ว เนื่องจากอายุมาก แต่ได้ถ่ายทอดการรำมโนราห์ให้แก่ลูกสาว ลูกชาย และหลานๆ ได้รับช่วงต่อแล้วในขณะนี้ ต่างกล่าวแสดงความดีใจที่ได้เห็นข่าวว่า องค์การยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนมโนราห์เป็นมรดกโลกภูมิปัญหาทางวัฒนธรรมที่จับต้องไม่ได้ของมนุษยชาติ พร้อมขอให้ลูกหลานคนไทย และคนภาคใต้ ได้ร่วมกันสืบทอดต่อไป เพราะมโนราห์ยังมีคนที่ชื่นชอบ และเป็นมรดกของแผ่นดิน เชื่อว่ามาถึงเวลานี้เมื่อได้รับการยกย่องแบบนี้แล้วจะต้องไม่สูญหายแน่นอน
ทางด้านนายวสันต์ สืบสังข์ หรือมโนราห์เกียร์ อายุ 59 ปี ลูกชายของมโนราห์ครื้น ซึ่งเป็นทายาทรุ่นที่ 2 ของคณะมโนราห์คลื้นน้อยดาวรุ่ง และมีตำแหน่งเป็นประธานชมรมโนราห์ชาวตรัง กล่าวว่า ดีใจมากที่ได้รับการขึ้นทะเบียน เพราะที่ผ่านมาคณะมโนราห์ทุกจังหวัดพยายามทำทุกวิถีทางในการสืบค้นหาข้อมูลหลักฐาน ร่วมทำงานวิจัย และผลักดันให้ได้รับการขึ้นทะเบียน จนในวันนี้ประสบความสำเร็จ จึงเป็นความภาคภูมิใจของลูกหลานสายเลือดมโนราห์ทุกคนที่ได้สืบสานกันมาจากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคน ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยได้รับการยกย่องถึงขนาดนี้ เหมือนกับว่าเรากำลังศึกษาแล้วสุดท้ายประสบความสำเร็จได้รับปริญญาบัตร หลังจากนี้ก็จะจับมือกันในการคิดหาวิธีการที่จะสืบทอดต่อยอดต่อไป และส่วนตัวเชื่อว่ามโนราห์ไม่มีวันสูญสลาย เพราะขณะนี้โรงเรียนต่างๆก็ส่งเสริม เด็กและเยาวชนตัวเล็กๆก็ยังฝึก โดยคณะมโนราห์ในภาคใต้มีรวมกันเชื่อว่าประมาณ 200 – 300 คณะ เฉพาะใน จ.ตรังมีประมาณ 60 คณะ โดยในจังหวัดตรัง แต่ละคณะ และแต่ละกลุ่ม รวมทั้งของตนเอง ได้ร่วมกันสืบทอดและรักษาด้วยการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนแหล่งเรียนรู้มโนราห์บ้านวัดกลาง นอกจากการรับงานแสดงมโนราห์ทั่วไปแล้ว ยังรวมกลุ่มสมาชิกประมาณ 10 คน ในการประดิษฐ์เทริดมโนราห์ หน้ากากพรานบุญ และผลิตลูกปัด ร้อยลูกปัด เย็บผ้า เย็บเครื่องทรงมโนราห์ส่งจำหน่าย แต่ถึงแม้ว่าขณะนี้ ต้องหยุดการแสดงตามคำสั่งเจ้าหน้าที่เพราะสถานการณ์โควิด สมาชิกแต่ละคนก็ยังคงทำกันอยู่ เพื่อว่านำมาป้อนให้กับโควิด สมาชิกแต่ละคนก็ยังคงทำกันอยู่ เพื่อว่านำมาป้อนให้กับกลุ่ม เมื่อมีการเปิดแสดงได้ มีการสั่งซื้อเข้ามาก็จะได้ส่งขายได้ พร้อมระบุว่า จากสถานการณ์โควิด คณะมโนราห์ตกงานทั้งหมด แต่อยากวอนขอให้ทางจังหวัดตรัง พิจารณาอนุญาตให้มีการเปิดการแสดงมโนราห์โรงครูได้ เพราะมโนราห์โรงครู เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เจ้าภาพลูกหลานเชื้อสายมโนราห์จะจัดขึ้นทุกปี หรือ 2-3 ปีครั้ง เพื่อบูชาบรรพบุรุษ บูชาครูหมอ จะทำกันเพียงไม่กี่คน ระหว่างเจ้าภาพกับมโนราห์ที่รำโรงครูเท่านั้น และสามารถบังคับจำนวนคนได้ เพราะปกติในการจัดพิธีมโนราห์โรงครูนั้นก็ไม่เกิน 30 คน รวมเจ้าภาพและคนรำแล้ว ซึ่งทางจังหวัดกำหนดให้มีการรวมตัวกันไม่เกิน 50 คนอยู่แล้ว ไม่ใช่การจัดแสดงมโหรสพที่จะมีคนมากมาย เหมือนงานรื่นเริง และคนส่วนใหญ่ในจังหวัดก็ผ่านการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว จึงขอวอนให้หน่วยงานราชการเข้าใจและพิจารณาอนุญาตให้รับงานมโนราห์โรงครูได้ เพื่อต่อลมหายใจมโนราห์
ทางด้านนายนุกูล สืบสังข์ อายุ 28 ปี (หรือมโนราห์นิวเคลียร์) ลูกชายมโนราห์เกียร์ และเป็นทายาทรุ่นที่ 3 หรือหลานปู่ของมโนราห์ครื้นน้อยดาวรุ่ง กล่าวว่า จากการที่ศิลปะการแสดงมโนราห์ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกครั้งนี้ ตนเองในฐานะเป็นคนรุ่นใหม่ดีใจและตื่นเต้นอย่างมาก ที่นอกจากทำให้คนทั่วประเทศรู้จักมโนราห์แล้ว ยังทำให้มโนราห์ดังไปทั่วโลกด้วย ทำให้ภาคภูมิใจอย่างยิ่ง จึงขอเชิญชวนน้องๆเยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สนใจในศิลปะการแสดงมโนราห์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสืบทอดต่อไป และเท่าที่เห็นปัจจุบันนี้ ทั้งมโนราห์สมัยใหม่ที่มีการประยุกต์ และมโนราห์โบราณที่มีการรำแก้บน ได้รับความนิยม และความสนใจจากคนรุ่นใหม่มากพอสมควร เพราะมโนราห์ได้รับการสืบสานไปทั่วภาคใต้ จึงเชื่อว่ามโนราห์จะต้องได้รับการสืบทอดต่อไป ไม่สูญหายอย่างแน่นอน เมื่อมีการเปิดแสดงได้ มีการสั่งซื้อเข้ามาก็จะได้ส่งขายได้ พร้อมระบุว่า จากสถานการณ์โควิด คณะมโนราห์ตกงานทั้งหมด แต่อยากวอนขอให้ทางจังหวัดตรัง พิจารณาอนุญาตให้มีการเปิดการแสดงมโนราห์โรงครูได้ เพราะมโนราห์โรงครู เป็นธรรมเนียมปฏิบัติที่เจ้าภาพลูกหลานเชื้อสายมโนราห์จะจัดขึ้นทุกปี หรือ 2-3 ปีครั้ง เพื่อบูชาบรรพบุรุษ บูชาครูหมอ จะทำกันเพียงไม่กี่คน ระหว่างเจ้าภาพกับมโนราห์ที่รำโรงครูเท่านั้น และสามารถบังคับจำนวนคนได้ เพราะปกติในการจัดพิธีมโนราห์โรงครูนั้นก็ไม่เกิน 30 คน รวมเจ้าภาพและคนรำแล้ว ซึ่งทางจังหวัดกำหนดให้มีการรวมตัวกันไม่เกิน 50 คนอยู่แล้ว ไม่ใช่การจัดแสดงมโหรสพที่จะมีคนมากมาย เหมือนงานรื่นเริง และคนส่วนใหญ่ในจังหวัดก็ผ่านการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว จึงขอวอนให้หน่วยงานราชการเข้าใจและพิจารณาอนุญาตให้รับงานมโนราห์โรงครูได้ เพื่อต่อลมหายใจมโนราห์
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง เปิดความสวยงาม "เขาแบนะ-อุทยานแห่งชาติหาดเจ้าไหม" เส้นทางศึกษาธรรมชาติเลียบภูเขาชมทะเลงาม
- ตรัง จี้ซ่อมด่วนก่อนปิดท่าเรือปากเมงทรุด กระเบื้องร่วง-โป๊ะพัง-รังแตนอาละวาด หวั่นนักท่องเที่ยวอันตรายถึงชีวิต
- ผู้ว่าตรังสั่งซ่อมด่วนหลังคาท่าเรือปากเมง หวั่นอันตรายนทท. กระทบภาพลักษณ์จว. ลั่นพร้อมออกเงินส่วนตัว 2.3 หมื่นค่าวัสดุ…
ทางด้านนายนุกูล สืบสังข์ อายุ 28 ปี (หรือมโนราห์นิวเคลียร์) ลูกชายมโนราห์เกียร์ และเป็นทายาทรุ่นที่ 3 หรือหลานปู่ของมโนราห์ครื้นน้อยดาวรุ่ง กล่าวว่า จากการที่ศิลปะการแสดงมโนราห์ได้รับการยกย่องให้เป็นมรดกโลกครั้งนี้ ตนเองในฐานะเป็นคนรุ่นใหม่ดีใจและตื่นเต้นอย่างมาก ที่นอกจากทำให้คนทั่วประเทศรู้จักมโนราห์แล้ว ยังทำให้มโนราห์ดังไปทั่วโลกด้วย ทำให้ภาคภูมิใจอย่างยิ่ง จึงขอเชิญชวนน้องๆ เยาวชนคนรุ่นใหม่ที่สนใจในศิลปะการแสดงมโนราห์ ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการสืบทอดต่อไป และเท่าที่เห็นปัจจุบันนี้ ทั้งมโนราห์สมัยใหม่ที่มีการประยุกต์ และมโนราห์โบราณที่มีการรำแก้บน ได้รับความนิยม และความสนใจจากคนรุ่นใหม่มากพอสมควร เพราะมโนราห์ได้รับการสืบสานไปทั่วภาคใต้ จึงเชื่อว่ามโนราห์จะต้องได้รับการสืบทอดต่อไป ไม่สูญหายอย่างแน่นอน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: