ตรัง รองนายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ ระบุอาหารสัตว์แพง น้ำมันเชื้อเพลิงขึ้นราคา ทำราคาไข่ไก่แพงตาม ส่วนยอดขายเมืองท่องเที่ยวลดลง เนื่องจากประชาชนเที่ยวน้อยลง
นายสุทัศน์ เยี้ยนประยงค์ รองนายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่ไข่ภาคใต้ ผู้ประกอบการณ์บ.นิวสุทัศน์ฟาร์ม 289 จำกัด ม.4 ต.ควนธานี อ.กันตัง จ.ตรัง กล่าวว่า ถ้าเกิดภาวะไข่ไก่ราคาลง อาหารขึ้นสวนราคา เป็นภาวะที่ไม่สมดุล และในช่วงปัญหาสถานการณ์โควิด ราคาลดลงมาเหลือ 1 บาทกว่า มาได้ราคาช่วงหนึ่ง คนตกใจจะไม่มีไข่ไก่บริโภคและไม่ให้ออกจากบ้าน จึงซื้อไปกักตุนจึงทำให้ราคาสูงขึ้นมา แต่ก็ได้บอกชาวบ้านว่าอย่าซื้อไปกักตุนเยอะ จะทำให้สินค้าหายไปในตลาด แต่ไข่ไก่จะมีออกมาคงที่อยู่ที่ 50 ล้านฟองต่อวัน แต่การบริโภคอยู่ที่ 38-39 ล้านฟอง แต่การผลิตจริง ๆ จะอยู่ที่ประมาณ 41 ล้านฟองต่อวัน สำรองไว้ประมาณ 1 ล้านฟองต่อวัน รวมส่งออก
ซึ่งราคาอาหารสัตว์เป็นตัวกำหนดราคาไข่ไก่หน้าฟาร์ม เป็นกลไกจากก่อนหน้านี้ ราคาอาหารยังไม่ปรับขึ้น ได้คำนวณอยู่ที่ 2.85 บาทต่อฟอง แต่ ณ วันนั้นเราขายไข่ไก่อยู่ไม่เกิน 3 บาท แต่ ณ วันนี้เมื่อราคาอาหารพุ่งขึ้นไป ต้นทุนต้องขึ้นไปอยู่ที่ 3 บาทต่อฟอง แต่ราคาไขไก่วันนี้เราประกาศอยู่ที่ 3 บาท มันก็อยู่ที่ต้นทุนอีก ขายไข่ไก่ไปแล้วจะได้ปลดหนี้หรือไม่ แต่ก็ยังไม่ได้ปลดหนี้เพราะจ่ายค่าอาหารไปก่อนแล้ว เราก็ยังเป็นหนี้อยู่เหมือนเดิม ค่าบริหารจัดการ บวกกับ ค่าน้ำมันขึ้น ค่าไฟขึ้น และอีกหลายค่าที่ฟาร์มต้องจ่าย รวมไปถึงค่าแรงคนงาน จะพิจารณาช่วงปีใหม่ เพราะเรารู้ว่าทุกอย่างปรับขึ้นทั้งหมด แล้วคนที่ทำงานขั้นต่ำ 300 กว่าบาท 315 บาท 320 บาท ที่ฟาร์มจะปรับขึ้นให้ทุกปีประมาณ 10 บาท คนที่อยู่นาน ๆ ค่าแรงก็ต้องปรับขึ้นมา บวกด้วยค่าน้ำมันก็ปรับขึ้นมา ราคานี้เป็นราคาที่กำหนดหน้าฟาร์มยังไม่ได้บกค่าขนส่ง ทางฟาร์มก็ได้ช่วยในพื้นที่ว่าหากอยู่ห่างจากฟาร์มไม่เกิน 10 กิโลเมตรก็จะบริการให้
ข่าวน่าสนใจ:
ซึ่งตอนนี้ไข่ไก่ราคาหน้าฟาร์มของภาคใต้เอง ไข่ไก่เบอร์ 3 อยู่ที่ฟองละ 3.20 บาทก่อนหน้านี้อยู่ที่ 3 บาท เบอร์ 2 บวกอีก 10 สตางค์ จาก 3.20 เป็น 3.30 บาท เบอร์ 1 จาก 3.30 เป็น 3.40 บาท เบอร์ 0 จาก 3.40 เป็น 3.50 บาท ซึ่งตอนนี้ต้นทุนอาหารอยู่ที่ 3 บาทต่อกิโลกรัมแล้ว โดยต้นทุนทั้งหมดจากต้นน้ำ รวมค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าแรงงาน ค่าบริหารจัดการ ซึ่งค่าอาหารตอนนี้เพิ่มขึ้น 60 บาทต่อกระสอบ ตกกระสอบละ 470 บาท ส่วนราคาอาหารก็ยังตอบไม่ได้ว่าจะมีการปรับขึ้นไปอีกหรือไม่ แต่ที่ทราบยังมีการปรับขึ้นอีก และหากมีไก่เป็นโรคในฟาร์มต้นทุนก็สูงขึ้นไปอีก เราก็ต้องเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลา และให้ต้นทุนของเราถูกลงมา
แต่ประเด็นที่มากที่สุดก็คือ อาหาร ราคาขึ้นมากที่สุด พร้อมด้วยน้ำมัน ค่าบรรทุก จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งตามระยะทาง ต้นทุนก็สูงตามขึ้นไปด้วย ในส่วนการบริโภคยอดขายก็ลดลง แต่ต้องดูสถานการณ์ จากวันนี้เมื่อราคาไข่ไก่ขึ้นไป 20 สตางค์ดูว่าการบริโภคจะเป็นยังไง และยอดขายไข่ไก่หายไปกับนักท่องเที่ยวด้วย เพราะก่อนหน้านี้ที่มีการเปิดจังหวัดท่องเที่ยว ทั้ง จ.ภูเก็ต กระบี่ พังงา ฯลฯ ก็จะขายได้เยอะขึ้น แต่ ณ วันนี้ หลังจากปีใหม่มาแล้วท่องเที่ยวเราลดลงอีก เมื่อลดลง จากก่อนโควิด ที่ จ.ภูเก็ต เคยไป 2-3 เที่ยว ตอนนี้หายไปเลยไม่ได้เลย เพิ่งขายได้ช่วงปลายเดือนธันวาคม ได้สั่งเข้ามาครั้งละ 20,000 -30,000 ฟอง แต่หลังจากนี้ก็ได้ลงปริมาณการสั่งลงมาอีก เพราะปริมาณที่ขายใน จ.ภูเก็ตก็ลดลง เพราะการท่องเที่ยวมีปริมาณนักท่องเที่ยวลดลงเช่นกัน
ทั้งนี้ นายสุทัศน์ ยังกล่าวเสริมว่า ปัจจัยอีกอย่างที่ทำให้ราคาไข่สูงขึ้น คือ ราคาต้นทุนวัตถุดิบสำหรับทำอาหารสัตว์ ได้แก่ ข้าวโพด กากถั่วเหลือง มีราคาสูง บางส่วนต้องพึ่งพาการนำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งทั้งหมดเป็นห่วงโซ่ในระบบที่เกี่ยวพันกันทั้งสิ้น
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: