ตรัง กรรมการผู้จัดการบริษัทกำจัดขยะ ชี้แจงกับผู้สื่อข่าวผ่านโทรศัพท์บริษัทไม่เคยจ้างพนักงาน จ้างในนามส่วนตัวเท่านั้น ส่วนการลงชื่อเข้าออก เป็นการลงชื่อเข้าออก-บ้าน ป้องกันทรัพย์สินสูญหาย ด้านสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตรัง เคยไปพบนายจ้าง และแนะนำลูกจ้างทั้งหมดกว่า 10 คน นำเรื่องไปฟ้องที่ศาลแรงงานภาค 9 สงขลา เพราะลูกจ้างจะได้รับการเยียวยาเงินค่าแรงเร็วสุด
วันที่ 24 มกราคมนี้ จากกรณี ที่ตัวแทนอดีตพนักงานบริษัทกำจัดขยะและโรงงานผลิตไฟฟ้าจากขยะ จำนวน 3 คน เข้ามาร้องกับผู้สื่อข่าว เพื่อขอความเป็นธรรมกับหน่วยงานภาครัฐ กรณีที่เข้าทำงานกับบริษัทดังกล่าว อดีตพนักงานอายุงานคนละ 3-6 เดือนตกลงค่าจ้างวุฒิปริญญาตรี วันละ 300-500บาท และค่าแรงเดือนละ 45,000 ถึง 90,000.บาท แต่ไม่ได้รับเงินค่าจ้างตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ โดยได้รับเงินคนละ 5,000.บาทเท่านั้น เมื่อไม่ได้รับเงิน พนักงานต่างทยอยลาออก ไปร่วม 3 รุ่นแล้ว แต่ละรุ่นจะมีพนักงานประมาณ 30 คนรวมประมาณ 100 คน
แฟ้มภาพ
ข่าวน่าสนใจ:
ล่าสุดผู้สื่อข่าว ได้โทรศัพท์ไปยังบริษัทกำจัดขยะฯ ทราบชื่อคือ บ. เอส.อี.เอ.เพาเวอร์ จำกัด โดยนายปานชัยยศ จินดาพล กรรมการผู้จัดการ ชี้แจงสั่น ๆ ว่า “บริษัท ไม่เคยจ้างพนักงานมาทำงานแต่อย่างใด ที่ทุกคนมาทำงานนั้นตนเองจ้างทำเป็นการส่วนตัวในการประชาสัมพันธ์ ส่วนเอกสารที่พนักงานเซ็นชื่อเข้าออกที่ทำงาน ก็ไม่ใช่ลงชื่อเข้าออกเวลาทำงาน เป็นเอกสารที่ตนให้ทุกคนเข้าออกบ้านตนเขียนชื่อเพื่อทราบใครเข้าออกบ้าน เพราะหากทรัพย์สิน สูญหาย หรือเสียหายจะได้ทราบ ส่วนเงินที่โอนให้พนักงานนั้นให้เป็นการส่วนตัว”
ที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตรัง ศาลากลางจังหวัดตรัง นายสุรสิงห์ จุนณศักดิ์ศรี สวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดตรังกล่าวว่า”กรณีลูกจ้างกลุ่มนี่ได้เดินทางมาพบที่สำนักงานฯแล้วและ ทางเจ้าหน้าที่ตรวจแรงงาน ก็ได้เดินทางไปพบนายจ้างที่บริษัทนี่แล้ว มองเห็นเจตนาของนายจ้างตั้งธงไม่จ่ายค่าแรงงาน หรือ ประวิงการจ่ายแน่นอน ดังนั้นทางเจ้าหน้าที่จึงให้คำแนะนำลูกจ้างทั้งหมดกว่า 10 คน นำเรื่องไปฟ้องที่ศาลแรงงานภาค 9 สงขลา เพราะลูกจ้างจะได้รับการเยี่ยมยาเงินค่าแรงเร็วสุด อีกทั้งสำนักงานได้ประสานไปยังนิติกรของศาลแรงงานภาค 9 เพื่อช่วยในการดำเนินคดี โดยที่ลูกจ้างทั้งหมดกว่า 10คนไม่ต้องเดินทางไป แต่จะตั้งตัวแทนไปฟ้องแทน แต่ไม่ทราบว่าตัวแทนฝ่ายลูกจ้างทำไมไปถึงสงขลาแล้วไม่เข้าไปศาลแรงงานเพื่อพบนิติกรและดำเนินการฟ้องคดีกับนายจ้างรายนี้ หลังจากนั้นลูกจ้างก็มาร้องไปยังหน่วยงานต่าง ๆอีกครั้ง เรื่องนี้นายจ้างมีเจตนาไม่จ่ายค่าจ้างดังนั้นต้องฟ้องดำเนินคดีเพียงอย่างเดียว โดยหลักกฎหมายลูกจ้างต้องถอนเรื่องจากสำนักงานสวัสดิและคุ้มครองแรงงานก่อน แล้วเลือกนำเรื่องฟ้องต่อศาลแรงงานภาค 9 จะรวดเร็วและได้รับเงินเยี่ยวยาเร็วขึ้น กรณีนี่ยังไม่สอบลึกยังไม่สรุปว่าเป็นจ้างแรงงานหรือจ้างทำของ ดังนั้นให้ลูกจ้างมาสำนักงานเพื่อทำการสอบสวนให้ลึกอีกถึงสภาพการทำงาน และสภาพการจ้างของนายจ้าง เรื่องนี้ต้องไปจบที่ศาลแรงงานเพราะศาลจะเป็นผู้วินิจฉัยเอง โดยปกติศาลแรงงานมีโครงการศาลแรงงานเคลื่อนที่ อยู่แล้ว หากลูกจ้างมีภูมิลำเนาที่ไหนก็ให้ฟ้องและพิจารณษคดีที่นั้น แต่ที่ผ่านมาอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด ศาลแรงงานภาค 9 สงขลาจึงไม่สามารถเดินทางมาพิจารณาที่จังหวัดตรังได้เรื่องนี้ให้ลูกจ้างมายังสำนักงานอีกครั้งเพื่อดำเนินการฟ้องนายจ้างต่อศาลแรงงานต่อไป
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: