ตรัง ชื่นชมชาวบ้านปลูกหญ้าทะเลด้วยสองมือเพื่อฟื้นฟูธรรมชาติมาตลอดกว่า 10 ปี โดยใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ปลูกด้วยวิธี “กางมุ้ง”
นายยาเหตุ หะหวา (บังเหตุ) อายุ 65 ปี อดีตคนเคยเลี้ยงเจ้าโทน พะยูนน้อยแห่งบ้านหาดยาว พร้อมด้วยนายวิโรจน์ เบ็ญหมูด ชาวบ้านบ้านเจ้าไหม – หาดยาว ต.เกาะลิบง อ.กันตัง จ.ตรัง นำผู้สื่อข่าวดูวิธีการปลูกหญ้าทะเล ด้วยวิธี “กางมุ้ง” บริเวณทะเลหน้าหมู่บ้าน โดยเริ่มจากการออกไปเก็บลูกหญ้าทะเลมาแช่น้ำ 1 คืน เมื่อเปลือกกะเทาะออกก็นำเมล็ดที่ได้มาใส่ในตะแกรงพลาสติกที่เย็บด้วยมือติดกัน 2 อัน ทำให้มีฝาปิดมิดชิด เพาะลอยน้ำไว้ในกระชังปลา จนเวลาประมาณ 15 วัน หญ้าทะเลก็จะออกราก แตกยอดอ่อนเป็นต้นกล้า สามารถนำไปปลูกได้ โดยอุปกรณ์ที่ใช้ปลูกประกอบด้วย ไม้ยาวพร้อมธงที่หัวเสา เพื่อปักเป็นสัญลักษณ์บอกเรือที่วิ่งผ่านไปมาว่าเป็นจุดปลูกหญ้าทะเล เมื่อเห็นธงจะได้หลบ และมุ้งครอบที่ทำขึ้นเองจากภูมิปัญญา โดยใช้เหล็กดัดเป็นสี่เหลี่ยม และเป็นเสาแหลมสำหรับปักลงดิน โดยใช้มุ้งครอบรอบด้านทั้งด้านบนและด้านข้าง เว้นแต่เฉพาะด้านล่าง จากนั้นนำต้นกล้าหญ้าทะเลที่ได้ไปขุดหลุมแล้วนำไปวางไว้ในหลุมที่ไม่ลึกมาก จากนั้นนำมุ้งดังกล่าวครอบเอาไว้ เพื่อไม่ให้ถูกน้ำทะเลหรือคลื่นซัดลอยไปที่อื่น ทั้งนี้ ในการปลูกจะต้องรอตอนน้ำลงสูงสุด เพราะจะต้องขุดหลุมฝังในพื้นที่ที่ไม่มีน้ำขังเท่านั้น
โดยบังเหตุ เล่าถึงแนวคิดที่ตนเองทุ่มเทชีวิตให้กับการปลูกหญ้าทะเลหน้าหมู่บ้านว่า ตนเองปลูกหญ้าทะเลมาตั้งแต่ประมาณปี 2553 – 2554 หรือตลอดมากว่า 10 ปี สมัยนั้นเคยมีเรืออวนลาก และเรืออื่น ๆ เข้ามาทำประมงชายฝั่ง ลากเอาหญ้าทะเล และสัตว์ทะเลขนาดเล็ก กุ้ง หอย ปู ปลาติดไปด้วย เป็นการทำประมงแบบผิดกฎหมายและทำลายล้าง ทำให้หญ้าทะเลตายหมดเหลือเพียงประมาณครึ่งไร่เท่านั้น จึงมีการรณรงค์ให้ยกเลิกการทำประมงอวนรุน อวนลากตลอดแนวชายฝั่ง จากนั้นตนก็ริเริ่มปลูกหญ้าทะเล เพียงหวังว่าหากมีหญ้าทะเลขึ้น ก็จะมีสัตว์น้ำที่อุดมสมบูรณ์ตามมา จะได้ออกมาหากินไม่ต้องออกทะเลไปไกล และลูกหญ้าทะเลสมัยก่อนพวกตนเอามาต้มจิ้มกับมะพร้าวไว้กินเล่น จึงมีแนวคิดที่จะปลูกหญ้าทะเล จึงปลูกเรื่อยมา โดยการนำเมล็ดไปวางฝังไว้ทั่ว ๆ ไป ซึ่งก็รอดบ้าง ตายบ้าง ที่ขึ้นเองตามธรรมชาติก็มีด้วย จนทำให้ปริมาณหญ้าทะเลเพิ่มขึ้นนับ 10 ไร่ และก็มีนักเรียน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ มาศึกษาเรียนรู้วิธีการปลูกหญ้าทะเลกับตนจำนวนมาก จึงเป็นความภูมิใจที่ได้ปลูกหญ้าทะเลจนงดงาม เนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 10 ไร่ แต่อย่างไรก็ตาม ในการปลูกบางครั้งพอฝังลงไปแล้ว ต้นกล้าก็ถูกน้ำทะเลซัดลอยไป ตายบ้าง รอดบ้าง แต่สังเกตุเห็นบางต้นหลุดไปฝังอยู่ในรูปูที่ลึกลงไปใต้ดินแล้วรอดมาได้ จึงเกิดแนวคิดการปลูกด้วยวิธี การ“กางมุ้ง”ดังกล่าว เพื่อไม่ให้ถูกคลื่นซัดลอยไป ทำให้หญ้าทะเลโอกาสรอดมากกว่า จึงได้ทดลองปลูกแบบกางมุ้งเรื่อยมา ปรากฏว่าได้ผล ความรอดของหญ้าทะเลมีสูง
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง คู่ซี้ พระ-ฆราวาส เมาแอ๋ด่าทอชาวบ้านใกล้ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อาละวาดอ้างมีปืน ทำชาวบ้านแตกตื่น ตร.หิ้วปีกบังคับสึก กร่างไม่เลิกบอกรู้จักพระผู้ใหญ่
- ตรัง สับปะรดทอด-ข้าวเม่าทอด ดาวเด่นประจำร้านสมพร รสชาติอร่อย ราคาเป็นกันเอง
- ตรัง จัดใหญ่ 12 วัน งานฉลองรัฐธรรมนูญและงานกาชาดจ.ตรัง 4-15 ธ.ค.นี้ รีแบร์นใหม่! ย้อนยุคงานเหลิมแต่แรก แสดงบินโดรนพิธีเปิด วธ.ทุ่ม 3.4 ล้าน…
- วิกฤตพะยูนตรัง 7 วันสำรวจ พบแค่ตัวเดียว ทดลองวางแปลงอาหาร กลับถูกเมินไม่ยอมกิน
นายยาเหตุ กล่าวว่า แต่ที่ตนเสียใจขณะนี้คือ หญ้าทะเลที่ตนปลูกไว้และที่ขึ้นเองตามธรรมชาติ ที่ตนเฝ้าดูแลความเจริญเติบโตของมันมาตลอด 10 ปี ขณะนี้มาตายลงหมดเป็นบริเวณกว้างหลังมรสุมล่าสุดที่ผ่านมา ที่เหลือเพียงประมาณ 1 คืบ จนตอนนี้ก็ยังหาสาเหตุไม่ได้ว่าเกิดจากอะไร ทุกคนเคยทราบและเคยเห็นข่าวหญ้าทะเลตายเมื่อปีที่ผ่านมาที่บริเวณเกาะลิบง อันเนื่องมาจากการขุดลอกร่องน้ำ แต่ไม่คิดว่าจะมาถึงบริเวณพื้นที่นี้ จึงไม่ทราบว่าที่หญ้าทะเลเน่าตายบริเวณกว้างนี้เกิดจากอะไร อยากให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบ แต่ทั้งนี้ ไม่มีเงินทุนซื้อเหล็กมาทำมุ้ง ขณะนี้จึงมีมุ้งเดียว พอผ่านไป 1 เดือน ก็ย้ายที่ปลูกอีก แต่หากมีมุ้งหลายอันก็สามารถปลูกให้เป็นแนวได้จำนวนมากขึ้น
เช่นเดียวกับนายวิโรจน์ เบ็ญหมูด กล่าวว่า หญ้าทะเลเพิ่งจะเน่าตายลงเป็นบริเวณกว้างเมื่อประมาณ 4-5 เดือนที่ผ่านมา เนื้อที่ประมาณ 10 ไร่ ก่อนหน้านี้ไม่ได้ตาย พวกตนยังออกไปหาลูกหญ้าทะเลมาปลูกกันอยู่เลย แต่ตอนนี้หญ้าทะเลทั้งที่ปลูกไว้และขึ้นเองตามธรรมชาติมาเน่าตายเกือบทั้งหมด จึงอยากจะให้มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาตรวจสอบและร่วมกันฟื้นฟู พวกตนพยายามหาวิธีปลูกตอนนี้ ทำโดยวิธีกางมุ้ง หวังให้มันฟื้นตัวให้เร็วที่สุด เพราะโอกาสรอดสูง แต่หากหน่ายงานมาร่วมกันจะได้รู้สาเหตุและเร่งฟื้นฟูให้เร็วที่สุด
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: