ตรัง ครอบครัวชาวตรัง แห่ทำบุญรับตายายวันสารทเดือนสิบคึกคัก เดินทางไปยังวัดต่าง ๆ นำอาหารคาวหวาน ขนมเดือนสิบเชื่อที่ว่า ขนมทั้งหมดนี้จะเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของเครื่องใช้ ซึ่งผู้ล่วงลับไปแล้วสามารถนำไปใช้เป็นยานพาหนะ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ เงินทอง และของเล่นตามประเพณี เพื่อร่วมทำบุญที่ยิ่งใหญ่ประจำปีให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ เนื่องในวันสารทเดือนสิบ หรือวันรับตายาย หรือวันทำบุญเล็ก อีกส่วนหนึ่งไปตั้งบริเวณรอบนอกวัดด้วยการนำหนังสือพิมพ์ปูบนพื้นหน้าวัดแล้วว่างของเซ่นไหว้ต่าง ๆ เพื่อเป็นการตั้งเปรต หรือสัมภเวสี อย่างละเล็กอย่างละน้อย หรือตามความเชื่อที่เรียกว่า การตั้งเปรต กันอย่างเนืองแน่น หลังสถานการณโควิดคลี่คลาย แต่ยังคงมีการเว้นระยะห่างในการทำพิธีทางศาสนา
วันที่ 11 กันยายน 2565 ที่วัดกุฏยาราม ถนนเพลินพิทักษ์ ในเขตเทศบาลนครตรัง อ.เมือง จ.ตรัง รวมทั้งวัดต่าง ๆ ในจังหวัดตรัง ได้มีประชาชนชาวตรังพร้อมครอบครัว ทั้งคุณปู่ คุณย่า คุณตา คุณยาย พ่อ แม่ พี่ น้อง ต่างจูงมือกันไปร่วมทำบุญวันสารทเดือนสิบ หรือวันรับตายาย หรือวันทำบุญเล็ก อย่างคึกคัก พร้อมทั้งมีการนำอาหารคาวหวานไปร่วมทำบุญกันอย่างเนืองแน่นศาลาวัด แต่ยังคงมีการเว้นระยะห่างในการทำพิธีทางศาสนา ทางวัดจึงได้มีการกางเต้นท์บริเวณรอบศาลาวัดเพื่อรองรับพุทธศาสนิกชนที่มาร่วมทำบุญในวันนี้ โดยได้มีการนำขนมลา ขนมพอง ขนมบ้า ขนมดีซัม หรือขนมรู ขนมเทียน และขนมกง หรือขนมไข่ปลา เพราะมีความเชื่อที่ว่า ขนมทั้งหมดนี้จะเป็นสัญลักษณ์แทนสิ่งของเครื่องใช้ ซึ่งผู้ล่วงลับไปแล้วสามารถนำไปใช้เป็นยานพาหนะ เครื่องนุ่งห่ม เครื่องประดับ เงินทอง และของเล่นตามประเพณี และอาหารคาวหวาน ผลไม้ต่าง ๆ รวมถึงยารักษาโรค เพื่ออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือผู้ล่วงลับไปแล้ว ซึ่งถือเป็นการแสดงออกถึงความรัก ความสามัคคี และความกตัญญูกตเวที ตามความเชื่อที่ว่าบุคคลเหล่านั้นจะกลับมาเยี่ยมลูกหลานในช่วงวันสารทเดือนสิบของทุกปี นอกจากนั้น ยังได้มีการนำอาหารอีกส่วนหนึ่งไปตั้งบริเวณรอบนอกวัดด้วยการนำหนังสือพิมพ์ปูบนพื้นหน้าวัดแล้วว่างของเซ่นไหว้ต่าง ๆ เพื่อเป็นการตั้งเปรต หรือสัมภเวสี อย่างละเล็กอย่างละน้อย หรือตามความเชื่อที่เรียกว่า การตั้งเปรต ก่อนที่จะมีการถวายสังฆทานแก่พระสงฆ์ พร้อมกับกรวดน้ำให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับ อันถือเป็นการทำพิธีอย่างสมบูรณ์ได้ รวมทั้งยังเป็นการช่วยกันสืบทอดประเพณีที่สำคัญของชาวปักษ์ใต้
ทั้งนี้ ประเพณีวันสารทไทย หรือ วันสารทเดือนสิบ จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันบุญแรก หรือ วันรับตายาย ซึ่งปีนี้ตรงกับวันที่ 11 กันยายน 2565 และวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10 เป็นวันบุญหลัง หรือวันส่งตายาย ซึ่งตรงกับวันที่ 25 กันยายน 2565 ตามความเชื่อทางพุทธศาสนา ถือว่าพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย และญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว โดยเฉพาะผู้ที่ต้องตกนรก หรือเรียกว่าเปรตนั้น จะได้รับอนุญาตให้มาพบกับญาติของตนในเมืองมนุษย์ได้ ในวันแรม 1 ค่ำ เดือน 10 และกลับไปสู่นรกดังเดิม ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: