ตรัง “เดินหน้าต่อ” ทนายความ-ผู้เสียหายโดนลิงก์มิจฉาชีพดูดเงิน 1.4 ล.เศษ ยื่นหนังสือขอคืนเงินจาก 2 ธนาคาร ภายใน 3 วันทำการ ยันเป็นการโจรกรรมผ่านแอพพลิเคชั่น เจ้าของบัญชีไม่ได้มีส่วนถอนหรือโอนเงิน
จากกรณีที่นางนิส ไทรงาม อายุ 63 ปี ชาวอำเภอห้วยยอด จ.ตรัง พร้อมด้วย น.ส.นิดา ไทรงาม อายุ 35 ปี ซึ่งเป็นลูกสาว และนางสาวศิริวรรณ ไทรงาม อายุ 36 ปี ซึ่งเป็นลูกสะใภ้ ร้องเรียนผู้สื่อข่าวว่าถูกมิจฉาชีพโทรศัพท์เข้ามาอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรแจ้งเรื่องค้างภาษี พร้อมแชทไลน์ส่งลิ้งค์อ้างเป็นลิ้งค์เว็บกรมสรรพากรเข้ามา ให้น.ส.นิดา กดลิ้งค์เข้าไปตรวจสอบว่ามีการค้างภาษีหรือไม่ ซึ่งขณะนี้อยู่ในช่วงที่จะต้องยื่นจ่ายภาษี แต่เมื่อกดเข้าไปแล้วโทรศัพท์ค้างขึ้นหน้าจอเป็นสีฟ้า มีโลโก้กรมสรรพากร พร้อมข้อความว่า “668325 อยู่ระหว่างการทำการตรวจสอบชื่อนาม-สกุลห้ามใช้งานโทรศัพท์” และโทรศัพท์ไม่สามารถทำอะไรได้อีก จากนั้นปรากฎว่า ในเวลาและนาทีเดียวกันกับที่โทรศัพท์ค้าง ทำธุรกรรมใด ๆ ไม่ได้อีกเลย ก็ปรากฎข้อความเงินถูกโอนออกจากบัญชี ธนาคารไทยพาณิชย์ จำนวน 1,458,000 บาท และอีกแอพพลิเคชั่นธนาคารกรุงไทย จำนวน 10,000 บาท ซึ่งเงินที่โดนดูดไปนั้น ทั้ง 2 บัญชี ล้วนใช้แอพพลิเคชั่นของธนาคารผู้รับฝากเงินกับโทรศัพท์ทั้ง 2 ธนาคาร รีบประสานติดต่อเจ้าหน้าที่ธนาคาร และเข้าแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ สภ.ห้วยยอด ทราบเบื้องต้นว่าเงินถูกโอนเข้าบัญชีชื่อ น.ส.สุภาพร กุลอามาตย์ ทางธนาคารได้ทำการอายัดบัญชีแล้ว แต่สุดท้ายก็ไม่ทันการณ์ เงินถูกโอนต่อไปยังบัญชีอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว และผู้เสียหายเดินทางเข้าพบผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาห้วยยอด แต่ผู้จัดการธนาคารหลบหน้า ไม่ยอมออกมาพบหรือแสดงความรับผิดชอบ
หลังจากเหตุการณ์เกิดขึ้นผู้เสียหายได้ปรึกษาทนายความ เพื่อป้องเรียกค่าเสียหายจากธนาคารทั้ง 2 ธนาคาร โดยทนายความระบุ โดยเป็นการโจรกรรมเงินผ่านลิงก์ปลอมที่อ้างว่าเป็นของกรมสรรพากร ซึ่งหากธนาคารมีระบบรักษาความปลอดภัยที่ดีพอ ใครก็ไม่สามารถจะเจาะข้อมูลของธนาคารและดูดเงินไปได้ เงินนั้นจึงเป็นเงินของธนาคาร ไม่ใช่เงินลูกค้า เพราะลูกค้าตัวจริงไม่ได้เบิกถอนเอง โดยทางผู้เสียหายเพียงแค่ทำการกดลิงค์เพื่อตรวจสอบข้อมูลเรื่องภาษี ไม่ได้มีการทำธุรกรรมทางการเงินแต่อย่างใด จึงเรียกร้องผู้เกี่ยวข้องเร่งหาทางป้องกันการทำธุรกรรมทุกประเภทผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ เพราะตอนนี้เป็นปัจจัยหลักในการใช้ชีวิต ต้องมีระบบป้องกันปราบปรามป้องกันความเดือดร้อน
ข่าวน่าสนใจ:
- รับสมัคร นายกอบจ.-ส.อบจ.ตรัง วันแรกคึกคัก! บ้านใหญ่ตระกูลโล่ฯ-ส.ส.ตรังทุกพรรค-กองเชียร์นับพัน แห่ให้กำลังใจ “ทีมนายกบุ่นเล้ง” สู้ศึกอีกสมัย…
- คึกคัก นาย"บุ่นเล้ง" อดีตนายกอบจ.ตรัง นำทีมนายกบุ่นเล้ง สมัครครบ 30 เขต ท่ามกลางกองเชียร์คับคั่ง
- ตรัง "เมนูลูกปลาปิ้งเครื่อง" จับปลาสดๆจากแหล่งน้ำธรรมชาติ ปรุงเป็นอาหารพื้นบ้านแสนอร่อย
ล่าสุดวันนี้ (19 กันยายน 2565) เวลา 14.00 น. นายไกรสร ชูเพชร ทนายความ พร้อมด้วย ผู้เสียหาย ได้เดินทางไปยื่นหนังสือถึงผู้จัดการ ผู้จัดการธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) สาขาห้วยยอด และ ธนาคารกรุงไทย จำกัด สาขาห้วยยอดโดยเรียกร้องให้คืนเงิน 1.ขอให้ธนาคารฯดำเนินการ คืนเงินจำนวน 1,458,000 บาท และ จำนวน 10,000 บาท ให้กับ เจ้าของบัญชีภายใน 3 วันทำการ 2. ขอให้ธนาคารส่งข้อมูลการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เสียหาย ว่ามีผู้ใดเป็นผู้เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล ตามที่ผู้เสียหายได้แจ้งไว้ต่อธนาคาร โดยเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2560 จนถึงวันที่ 13 กันยายน 2565 ซึ่งให้ส่งภายใน 3 วันทำการ
นายไกรสร ชูเพชร ทนายความ บอกว่า การเดินทางมายื่นหนังสือต่อธนาคารทั้ง 2 ธนาคาร เพื่อแจ้งให้ทราบว่าตัวผู้เสียหายไม่ได้ใช้แอพพลิเคชั่นโอนเงินออกจากบัญชีธนาคารด้วยตัวเอง จึงจำเป็นต้องมีหนังสือเพื่อขอให้ทางธนาคารคืนเงิน และขอให้ธนาคารส่งรายงานการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เสียหาย ตั้งแต่วันที่ 1-13 กันยายน 65 ว่าก่อนเกิดเหตุมีใครเป็นผู้เข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้เสียหายซึ่งได้ให้ข้อมูลไว้กับธนาคาร ซึ่งผจก.ธนาคารทั้ง 2 ธนาคาร ได้รับปากว่าจะส่งให้กับผู้บริหารระดับสูงได้รับทราบ และเร่งดำเนินการให้เร็วที่สุด หลังจากนี้ทีมทนายความจะช่วยกันดูเรื่องข้อกฎหมาย ว่าจะดำเนินการฟ้องร้อง เรียกร้อง เอาเงินคืนจากบุคคลใด และจะดำเนินการทางคดีต่อไป ส่วนกระบวนการของตำรวจนั้น เมื่อวันอาทิตย์ 18 ก.ย. ที่ผ่านมา ตนพร้อมผู้เสียหายไปให้ปากคำต่อพนักงานสอบสวน สภ.ห้วยยอด ในฐานะพยานไว้แล้ว ในส่วนผู้จัดการธนาคารทั้ง 2 ธนาคาร ให้ความร่วมมือกับผู้เสียหายเป็นอย่างดี เพราะตระหนักว่าในปัจจุบันแอพพลิเคชั่น และโซเซียลมีเดีย เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตไปแล้ว
อย่างไรก็ตามขณะที่ผู้สื่อข่าวเข้าไปพร้อมผู้เสียหาย และ ทนายความ เพื่อบันทึกภาพรายงานข่าว ที่ธนาคารกรุงไทย สาขาห้วยยอด ได้มีพนักงานคนหนึ่งสั่งห้ามผู้สื่อข่าวทำการบันทึกภาพ โดยอ้างกฎหมาย PDPA ( พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ) แต่ในขณะที่ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาห้วยยอด ให้ความร่วมมือและให้บันทึกภาพบรรยากาศเข้าพูดคุยและยื่นหนังสือเป็นอย่างดี
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: