ตรัง สุดน่ารัก ช้างแสนรู้ พังมีทรัพย์โชว์อุ้มคนให้อาหาร กลุ่มคนเลี้ยงช้าง จ.ตรัง ดีใจ ปศุสัตว์ปันอาหารช้างฝ่าวิกฤติโควิด 19 มอบหญ้าแห้ง จำนวน 1,526 ฟ่อน ให้แก่ช้างทั้งหมด จำนวน 109 เชือก เชือกละ 14 ฟ่อน โดยช้าง 1 เชือก จะต้องกินอาหารอย่างน้อยวันละประมาณ500 กิโลกรัม จากพบปัญหาไม่มีรายได้ค่าใช้จ่ายสูงกระทบหนักในช่วงโควิด 19 ขณะที่เจ้าของช้าง ต้องกลับบ้านเกิดมาเปิดปางช้าง เป็นแหล่งท่องเที่ยวชมช้างแห่งแรกใน จ.ตรัง เพื่อหวังหารายได้ในการซื้ออาหารเลี้ยงช้างแทน
ที่บ้านช้างนำทรัพย์ ตั้งอยู่ที่ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ตรังสำนักงานพัฒนาอาหารสัตว์ ร่วมกับกองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ กรมปศุสัตว์ ปศุสัตว์อำเภอเมืองตรัง ร่วมจัดโครงการปันอาหารช้างฝ่าวิกฤติโควิด 19 โดยมีนายสุชาติ บัวเกิด ประธานชมรมกลุ่มคนเลี้ยงช้าง จ.ตรัง เป็นตัวแทนรับมอบอาหารสำหรับช้าง เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับสมาชิกกลุ่มคนเลี้ยงช้างที่ประสบปัญหาขาดแคลนทุนทรัพย์ในการจัดซื้ออาหาร เนื่องจากสถานการณ์โควิด 19 ที่ไม่มีนักท่องเที่ยวมาใช้บริการในการนำเที่ยว ซึ่งเป็นช้างที่ให้บริการนักท่องเที่ยวที่ จังหวัดภูเก็ต จังหวัดกระบี่ และเกาะลันตา เบื้องต้นมอบหญ้าแห้ง จำนวน 1,526 ฟ่อน ให้แก่ช้างทั้งหมด จำนวน 109 เชือก เชือกละ 14 ฟ่อน โดยช้าง 1 เชือก จะต้องกินอาหารอย่างน้อยวันละประมาณ 500 กิโลกรัม ตามน้ำหนักตัว พร้อมด้วยหญ้าสด ต้นพันธุ์พืชอาหารสัตว์ เมล็ดพันธุ์ถั่ว ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณภาพดี และสนับสนุนเวชภัณฑ์และยาสำหรับช้าง
ต่อมาผู้มาร่วมงานได้ร่วมป้อนอาหารให้แก่ช้าง และหนึ่งในนั้นคือ พังมีทรัพย์ ช้างแสนรู้ อายุ 14 ปี ได้ส่งเสียงร้องคล้ายคำพูดว่า ขอบคุณครับ พร้อมโชว์อุ้ม นางจรุณี ดำช่วย ผอ.วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ตรัง เพื่อเป็นการขอบคุณ และอุ้มยังนายสุชาติ บัวเกิด ประธานชมรมกลุ่มคนเลี้ยงช้าง จ.ตรัง ที่เป็นตัวแทนรับมอบอาหารสำหรับช้างอีกด้วย
สำหรับบ้านช้างนำทรัพย์ ตั้งอยู่ในพื้นที่ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง ถือได้ว่าเป็นจุดแรกของจังหวัดตรังที่เปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวให้นักท่องเที่ยวเข้ามาเยี่ยมชมและให้อาหารช้างได้ ซึ่งทุกวันนี้เมื่อสถานการณ์โควิด 19 คลี่คลายลง ทำให้มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาเยี่ยมชมช้างที่นี่กันอย่างคึกคัก โดยจะมีช้างพังมีทรัพย์ และ พังนำโชค ซึ่งเป็นช้างแสนรู้เมื่อได้รับอาหารจะส่งเสียงร้องคล้ายคำพูดว่า “ขอบคุณครับ” แทนคำขอบคุณที่นักท่องเที่ยวมาอุดหนุนซื้ออาหารป้อนให้ทุกครั้ง สร้างความประทับใจให้แก่นักท่องเที่ยวที่มาเยี่ยมชมอย่างไม่ขาดสาย
ข่าวน่าสนใจ:
- ตรัง ราคายางดิ่งกว่า 20 บาทต่อกิโลกรัม กยท.หนุนสถาบันทำโครงการชะลอยางสู้นายทุน
- ตรัง อึ้ง!! เด็ก-เยาวชนหลุดออกนอกระบบการศึกษากว่า 6 พันคน ศึกษาธิการตรังสั่งรวบรวม-วิเคราะห์ข้อมูล รับนโยบาย Thailand zero dropout
- ตรัง จากสวนปาล์มตรังสู่ศูนย์การเรียนรู้เกษตรผสมผสานต้นแบบ ขุดสระน้ำเป็นรูปเลข 9 อารบิก สอดคล้องกับแนวคิดของในหลวงรัชกาลที่ 9
- ตรัง ทดลองล้อมคอกหญ้าทะเล เร่งหาทางออกฟื้นฟูหญ้าทะเล ภาระกิจด่วนทำแข่งกับเวลาที่เหลืออยู่กับความอยู่รอดของพะยูน
ด้านนายสุชาติ บัวเกิด ประธานชมรมกลุ่มคนเลี้ยงช้าง จ.ตรัง บอกว่า รู้สึกขอบคุณหน่วยงานที่เข้ามามอบอาหารให้ในวันนี้ ซึ่งต้องยอมรับว่าทุกวันนี้เดือดร้อนเรื่องอาหารช้าง ต้องซื้อทุกวันเลยต่อวันละพันกว่าบาท ตั้งแต่เจอสถานการณ์โควิด 19 เมื่อไม่มีการท่องเที่ยวทำให้กลุ่มคนเลี้ยงช้างเดือดร้อนทุกคนเลย ทุกจังหวัดเลย และตอนนี้เมื่อสถานการณ์เริ่มคลี่คลายก็เริ่มทำการท่องเที่ยวได้ตามปกติ แต่ต้องเดินทางไปที่จ.กระบี่เพราะเริ่มมีชาวต่างชาติเข้ามา แล้วตอนนี้หากใครสนใจที่จะเข้ามาช่วยเหลือช้างก็สามารถเข้ามาช่วยเหลือได้เช่นกัน
ด้านนางจรุณี ดำช่วย ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ตรัง บอกว่า สำหรับในกิจกรรมวันนี้ ปานาอาหารช้างฝ่าวิกฤต โควิด 19 เนื่องจากว่า สถานการณ์โควิดที่มีปัญหายืดเยื้อมาเป็นระยะเวลา 2 ปี นอกจากประชาชนจะประสบปัญหาในเรื่องของการขาดแคลนรายได้แล้วนั้น ในส่วนของเกษตรกรผู้เลี้ยงช้างก็ประสบปัญหาเช่นกัน เนื่องจากไม่มีนักท่องเที่ยวเข้ามา ก็ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงช้างและปางช้างขาดรายได้ ซึ่งทางกรมปศุสัตว์โดยสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ และกองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการได้จัดทำโครงการนี้ซึ่งในจังหวัดตรังมีช้างที่ขึ้นทะเบียนกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั้งหมด จำนวน 109 เชือกซึ่งทางสำนักพัฒนาอาหารสัตว์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์ตรัง ได้ดำเนินการสนับสนุนหญ้าแห้งจำนวน 1,526 ฟ่อน ให้แก่เกษตรกร 41 ราย และนอกจากนี้แล้วยังมีสนับสนุนหญ้าสด ต้นพันธุ์พืชอาหารสัตว์ เมล็ดพันธุ์ถั่ว ซึ่งเป็นพืชที่มีคุณภาพดี และสนับสนุนเวชภัณฑ์และยาสำหรับช้างด้วย ในส่วนของมาตรการลดต้นทุน ปัญหาค่าอาหารสัตว์ราคาแพง เราจะมีพื้นที่ในเรื่องของการผลิตเสบียงแห้ง ที่ไว้สำหรับช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยธรรมชาติและส่วนหนึ่งเราก็จะทำหญ้าแห้ง หญ้าสดและผลิตหญ้าหมัก สำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสัตว์เคี้ยวเอื้อง ในเรื่องของหญ้าสดก็สามารถไปขอใช้ บริการหญ้าสดในศูนย์ฯได้ นอกจากที่เราบริการหญ้าสดแล้ว พวกต้นพันธุ์เราก็มีให้บริการไปขอมาปลูกสร้างแปลงพืชของตัวเอง และยังมีในส่วนของนักวิชาการที่ให้คำแนะนำในเรื่องของการลดต้นทุนค่าอาหารสัตว์ โดย เน้นวัตถุดิบที่มีในพื้นที่ ซึ่งทางจังหวัดตรังของเราก็มีพื้นที่ที่ปลูกปาล์มน้ำมันเป็นจำนวนมาก ซึ่งกากปาล์มก็เป็นผลพลอยได้ จากโรงงานปาล์มก็วัตถุดิบที่มีคุณค่าทางอาหารที่สามารถหาได้ง่าย และเกษตรกรจังหวัดตรังก็มีการปลูกหญ้าวอยข้อ เพื่อการจำหน่ายสำหรับวัวชน ที่เป็นหญ้าพื้นเมืองที่มีความนิยมสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคชน และยังมีในเรื่องของโรงงานที่ผลิตปลาป่น เพราะฉะนั้นวัตถุดิบหลายๆตัว ที่ทางเกษตรกรจะสามารถหาได้ นักวิชาการของเราก็มีความพร้อมที่จะประกอบศูนย์อาหารให้
ส่วนทางด้าน นางศิริลักษณ์ คงหนู ปศุสัตว์อำเภอเมืองตรัง บอกว่า ในส่วนของสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดตรัง จะมีเจ้าหน้าที่มาดูแลสุขภาพสัตว์ นำเวชภัณฑ์เพื่อมามอบให้ตัวแทน เพื่อนำไปใช้ในเวลาที่ช้างมีอาการเจ็บป่วย และมีการตรวจไมโครชิพของช้างแต่ละตัวเพื่อตรงกับทะเบียนของช้าง ในส่วนของเรื่องสุขภาพของช้างนั้น มีหน่วยเฉพาะกิจที่ดูแลเรื่องสุขภาพของช้างโดยเฉพาะ จะออกดูแลเป็นระยะ ๆ ทุกครั้ง
ขณะที่ นางโสรยา นะวะกะ อายุ 31 ปี เจ้าของบ้านช้างนำทรัพย์ ม.5 ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง บอกว่า ที่นี่เลี้ยงช้างทั้งหมด 13 เชือก ก่อนหน้านี้ช้างจะอยู่ที่จังหวัดภูเก็ต จังหวัดพังงาและจังหวัดกระบี่ และได้ย้ายกลับมาอยู่บ้านเกิดหมดเลยเป็นระยะเวลา 3 ปีแล้ว ก็เลยตัดสินใจมาเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยวเยี่ยมชมช้างที่จังหวัดตรังที่บ้านเกิดตนเองเลย ใช้ชื่อว่า “บ้านช้าง นำทรัพย์” ที่เราเลี้ยงเป็นช้างแสนรู้มีชื่อว่า พังมีทรัพย์ อายุ 14 ปี พังนำโชค อายุ 11 ปี ซึ่งเป็นช้างประจำอยู่ที่นี่บางครั้งก็ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนกับช้างเชือกอื่นด้วย เราจะมีกิจกรรมให้อาหารสัตว์ 1 ตะกร้า เช่น อ้อย กล้วย ตะกร้าละราคา 40 บาท ตั้งแต่เปิดให้มาเยี่ยมชมช้างมีลูกค้าทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติเข้ามาเที่ยวชมเรื่อย ๆ พิกัดบ้านช้างนำทรัพย์ ตั้งอยู่ที่ต.นาหมื่นศรี อ.นาโยง จ.ตรัง หากสนใจสามารถมาเยี่ยมชมช้างหรือให้อาหารช้างกันได้ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 07.00 -19.30 น.
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: