ตรัง ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย นำ “ไต่เปียร์ หรือเค่ว” ว่ายน้ำข้ามแม่น้ำตรังไปประกอบพิธีศาลเจ้าเก่าแก่”หงส์ซานซี่” ต้นกำเนิดกินเจตรัง
วันที่ 1 ตุลาคม 2565 ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย จัดขบวนออกโปรดสาธุในเขตเทศบาลนครตรัง โดยขณะนี้ขบวนพระได้ออกจากศาลเจ้า มายังถนนท่ากลาง ถนนกันตัง พระราม 6 ถนนวิเศษกุล ถนนพัทลุง ถนนรัษฎา ถนนห้วยยอด และราชดำเนิน ระหว่างเส้นทางสองข้างถนน มีประชาชนตั้งโต๊ะไหว้พระกิวอ่องไต่เต่ เครื่องไหว้จะประกอบไปด้วย อาหารเจ ผลไม้ น้ำชา ธูป เทียน กระดาษเงินกระดาษทอง เทียบเชิญ และที่สำคัญที่สุดคือ ประทัด
ศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ยจัดขบวน ให้ “ไต่เปียร์ หรือเค่ว” ซึ่งเป็นที่นั่งของแม่ทัพ นายทหารระดับสูง ออกนำขบวนนำหน้าจำนวน 35 ตัว ผู้ที่หามกว่า 350 คน “ ตั่วเหลียน ”หรือเกี้ยวที่ประทับของฮ่องเต้ 1 ตัว (ในที่นี่คือพระกิวอ่องไต่เต่) และตามมาด้วย “ตั่วเหลียน ”ที่ประทับเจ้าแม่กวนอิม” 1 ตัว และตามมาด้วยบรรดาม้าทรงจำนวนมาก ส่วนผู้ที่เข้าร่วมขบวนประมาณหมื่นกว่าคนเพราะวันนี้เป็นวันหยุดเรียนจึงมี นักเรียน นิสิต นักศึกษามาร่วมขบวนกินเจกันเป็นจำนวนมาก ม้าทรงกว่า 600 คน
เมื่อขบวนพระกิวอ่องกลับศาลเจ้าในช่วงบ่ายวันนี้ ก็จะมีการประกอบพิธีกรรมนำ”ไต่เปียร์หรือเค่ว”ไปยังฝั่งแม่น้ำตรังที่ต.ทับเที่ยง อ.เมือง แล้วนำ”ไต่เปียร์หรือเค่ว” โดยผู้ที่กินเจว่ายน้ำแข็งแรงเป็นผู้ว่ายน้ำพา ”ไต่เปียร์หรือเค่ว” จำนวน 2 ตัว ข้ามแม่น้ำตรังระยะทางประมาณ 100-110 เมตรไปขึ้นฝั่งศาลเจ้า “หงส์ซานซี่” หรือโรงพระ”โข้ยเซ่งอ๋อง” ต.บางรัก อ.เมือง จ.ตรัง เพื่อประกอบพิธีนำพระมายังศาลเจ้าเก่าแก่ที่เป็นต้นกำเนิดประเพณีถือศีลกินเจหรือกินผัก บ้านท่าจีน ต.บางรัก จังหวัดตรังแห่ง โดยมีประชาชนผู้ถือศีลกินเจรออยู่ที่ฝั่งศาลเจ้ากันเป็นจำนวนมาก เพื่อดูพิธีกรรมนำ”ไต่เปียร์หรือเค่ว” ว่ายข้ามแม่น้ำตรัง ซึ่งถือเป็นการปฏิบัติในทุก ๆ ปี เมื่อ ไต่เปียร์ไปถึง ก็มีการปรบมือกันอย่างกึกก้อง ปีนี่มีการนำ”ตั๋วเหรียญหรือที่ประทับของกิวอ่องไต่เต่ มายังศาลเจ้าหงส์ซานซี่
เมื่อไต่เปียร์ข้ามแม่น้ำถึงศาลเจ้าก็มีการประกอบพิธีตามที่ได้ทำสืบทอดกันมากจนถึงปัจจุบัน เมื่อเสร็จพิธีก็เดินทางกลับ
ผู้ที่ว่ายน้ำพา”ไต่เปียร์”บอกว่าปีนี่ น้ำใหญ่ ขึ้นสูง เชี่ยว เย็น หากว่ายช้าไปจะทำให้เกิดตะคิวได้ ดังนั้นจึงวางแผนที่จะนำ ไต่เปียร์ไปลงใต้ตอหม้อสะพาน ไม่เช่นนั้นกระแสน้ำจะพัดพาไปไกล ไม่ได้ขึ้นที่ด้านท่าศาลเจ้าแน่นอน พวกตนเป็นมีความชำนาญเพราะว่ายน้ำที่นี่ตั้งแต่เด็ก ๆ
ความเป็นมาศาลเจ้า”หงส์ซ่านซี่” สร้างพร้อม ๆ กับศาลเจ้า”กิวอ่องเอี่ย” ซึ่งตั้งที่ถนนท่ากลาง ต.ทับเที่ยง อ.เมืองตรังในปัจจุบัน ผู้สร้างคือ “ซินแซตงเอ๊ก”สร้างศาลเจ้ากิวอ่องเอี่ย ไปพร้อม ๆ กับศาลเจ้า”หงส์ซานซี่” อายุกว่า 70ปี ส่วนศาลเจ้าเก่าแก่ที่สุดของจ.ตรัง จะเป็นศาลเจ้าที่อยู่บ้านใต้ ต.บางรัก ริมแม่น้ำตรังเช่นกัน สร้างเป็นไม้ทั้งหลัง ปัจจุบันนี้ ผุพังไปหมดแล้วเหลือแต่ซาก
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: