ตรัง น้ำทะลักเข้าบ้านเรือนประชาชนริมแม่น้ำตรัง พื้นที่ ม.5 ต.ควนปริง และ ม.4 ต.บางรัก อ.เมืองตรัง ชาวบ้านอพยพขึ้นอยู่ในเต็นท์ชั่วคราวบนถนน ที่ผ่านมาพื้นที่ดังกล่าวน้ำท่วมขังนานแรมเดือน
เมื่อช่วงเย็น ของวันที่ 19 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา ชาวบ้านพื้นที่ หมู่ที่ 5 ต.ควนปริง อ.เมือง จ.ตรัง กว่า 17 ครัวเรือน ต่างอพยพขนสิ่งของมีค่าเช่นรถจักรยานยนต์ รถยนต์ เสื้อผ้า เครื่องครัว ตู้เย็น โทรทัศน์ มากางเต็นอาศัยนอนพักริมถนนทางหลวงแผ่นดินสาย 403 ช่วง สี่แยกอตก.ถึง สี่แยกควนปริง ซึ่งชาวบ้านต่างหาแผ่นไม้พาเลทจากร้านก่อสร้างและโรงงานที่ชำรุดมาวางบนพื้นถนน เพราะหากฝนตกลงมาไม่มีไม้รองให้สูงน้ำฝนจะไหลเข้ามาไม่สามารถนอนได้ ซึ่งคืนนี้เป็นคืนแรกที่จะนอนในเต็นท์ริมถนนทางหลวงเพื่อหนีน้ำท่วม ชาวบ้านบอกว่าที่ผ่านมจะต้องอพยพมานอนริมถนนประมาณ 10 กว่าวัน บางปีอาจนานถึง 1 เดือน เพราะพื้นที่บริเวณนี่อยู่ติดแม่น้ำตรังและคลองควนปริง มีปริมาณน้ำมาก โดยพื้นที่หมู่ที่ 5 ต.ควนปริง จะเป็นพื้นที่รับน้ำจาก อ.นาโยง เขาพับผ้าหรือเขาบรรทัด และรับน้ำจาก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ก่อนที่นำจะไหลออกสู่ทะเลที่อ.กันตังต่อไป
ส่วนที่บ้านคลองช้าง หมู่ที่ 4 ต.บางรัก อ.เมือง จ.ตรัง ชาวบ้านกว่า 20 ครัวเรือนอพยพขนสิ่งของมีค่าและสิ่งของจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิต มานอนพักอาศัยในเต็นที่ทางหน่วยงานภาครัฐมาติดตั้งเพื่อให้ชาวบ้านคลองช้างได้มาพักอาศัย ขณะนี้พบว่าชาวบ้านประมาณ 10 ครัวเรือนกำลังทยอยขนสิ่งของมาไว้ในเต็นท์และคืนนี้เป็นคืนแรกที่จะนอนพักในเต็น พบว่ามีการหุงข้าวและทำกับข้าวเพื่อรับประทานอาหารเย็นแล้ว โดยบ้านคอลงช้างอยู่ติดกับคลองผันแม่น้ำตรัง กรมชลประทาน ในปีนี่น้ำท่วมไม่หนักเพราะคลองผันน้ำแม่น้ำตรัง สามารถรองรับน้ำไม่ทำให้เกิดน้ำท่วมใหญ่หรือท่วมซ้ำซาก ในพื้นที่ ต.นาท่ามใต้ ต.หนองตรุด ต.นาโต๊ะหมิง ต.นาตาล่วง ต.บางรัก อ.เมืองตรัง เหมือนทุก ๆ ปีที่ผ่านมา โครงการผันแม่น้ำตรัง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ครั้งรัฐบาลคสช.ได้ให้งบมาทำการขุดคลองสายนี้โดยงบประมาณ 1,500.ล้าน บาทจนสามารถป้องกันน้ำท่วมตัว ต.นาท่ามเหนือ ต.หนองตรุด ต.นาโต๊ะหมิง ต.นาตาล่วงและต.บางรักและตัวเมืองตรังไว้ได้
โครงการขุดคลองผันน้ำ ความยาวคลอง 7.55 กิโลเมตร ความกว้างท้องคลอง 102.00 เมตร ความลึกคลอง 4.50 เมตร สามารถระบายน้ำได้ 750.00 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ถนนบนคันคลองกว้าง 9.00 เมตร อาคารประกอบ ประตูระบายน้ำ 2 แห่ง คือ ประตูระบายน้ำหนองตรุด ขนาด 8.00×6.50 เมตร 10 ช่อง และประตูระบายน้ำคลองช้าง ขนาด 8.00×7.00 เมตร 10 ช่อง ก่อสร้าง/ปรับปรุงสะพานคอนกรีตเสริมเหล็ก ข้ามคลองผันน้ำ จำนวน 6 แห่ง แผนงานโครงการ จำนวน 4 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2559 – 2562) วงเงินลงทุนโครงการทั้งสิ้น 1,482.50 ล้านบาท (ไม่รวมค่าที่ดิน) เพื่อบรรเทาอุทกภัยในพื้นที่ของ ตำบลหนองตรุด,ตำบลนาโต๊ะหมิงและตำบลบางรักในเขตอำเภอเมือง จังหวัดตรัง คิดเป็นพื้นที่ 10,525 ไร่ เก็บกักน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรและการอุปโภค-บริโภค ในฤดูแล้งได้ประมาณ 3.2 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่รับประโยชน์จากโครงการฤดูฝนประมาณ 10,000 ไร่ และฤดูแล้งประมาณ 3,000 ไร่ ในช่วงฤดูแล้งเป็นแหล่งน้ำต้นทุนในการผลักดันการรุกตัวของน้ำเค็ม เพื่อรักษาระบบนิเวศน์ ช่วยผลิตน้ำประปาปีละ 1.74 ล้านลูกบาศก์เมตร
ข่าวน่าสนใจ:
- หลวงพี่ขับเก๋งชนราวสะพาน เผยเดินทางดูแลโยมแม่ ชาวบ้านวอนหยุดดราม่า-ตรวจสอบความจริง
- จัดกิจกรรมวิ่งการกุศล UNITHAI-CUEL Run for Charity 2025 ครั้งที่ 3 วิ่งด้วยใจ ในสวนสวย ช่วยผู้ป่วยมะเร็ง
- ขาดสภาพคล่องขั้นรุนแรง! อธิบดีกรมท่าฯ ร่อนนส.ด่วน! แจ้งบอกเลิกสัญญาทิ้งงานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารสนามบินตรัง 1.2 พันล.แล้ว…
- จังหวัดสกลนคร พัฒนาศักยภาพบุคลากร ภาคีเครือข่าย เฝ้าระวัง ดูแลรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ป่วยยาเสพติด
นายประมวล เพชรติ้น ชาวบ้านหมู่ที่ 5 ต.ควนปริง กล่าวว่า น้ำเริ่มท่วมตั้งแต่เมื่อวานนี้ (18/10/65) และวันนี้ได้อพยพออกมาจากบ้านพัก มีชาวบ้านอยู่ริมแม่น้ำตรัง ทำการประมง หาปลา กุ้ง และเกษตรรวม 17 ครัวเรือน กว่า 47 คน บริเวณนี้จะเป็นพื้นที่รับน้ำจาก อ.นาโยง เขาพับผ้าหรือเขาบรรทัด และรับน้ำจาก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช ก่อนที่นำจะไหลออกสู่ทะเลที่อ.กันตังต่อไป หากน้ำท่วมทุกปีก็จะนอนริมถนนจนกว่าน้ำลดกินเวลา 10กว่าวันบางปี 1 เดือน
นายรัตน์ สุขกล่ำ ชาวบ้านหมู่ที่ 4 ต.บางรัก กล่าวว่า วันนี้(19/10/65)น้ำเริ่มท่วมจึงต้องมาอาศัยนอนในเต็น วันนี้เอารถยนต์ขนของออกมา 4-5เที่ยว น้ำท่วมแต่ละครั้งประมาณ 10กว่าวัน วันนี้หยาวยงานราชการยังไม่มาสำรวจ ต้องช่วยเหลือตัวเองกันไปก่อน อาชีพของตนรับจ้างตัดปาลม์ ช่วงฝนตกน้ำท่วมก็ไม่ได้ทำงาน ครอบครัวตนเองมาอยู่กัน 4 คน
ถูกใจข่าวนี้ไหม?
คลิกที่ดาวเพื่อโหวต
ความนิยมข่าวนี้ / 5. จำนวนโหวต: